Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์

ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป็นแนวคิดที่ช่วยในการทำความเข้าใจถึงบทบาทของแต่ละหน่วยงานปฏิบัติการ ว่าจะมีส่วนช่วยเหลือให้องค์กรธุรกิจก่อกำเนิดคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างไรบ้าง โดยคุณค่าที่บริษัทสร้างขึ้นสามารถวัดได้จากการพิจารณาว่าผู้บริโภคยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทมากน้อยแค่ไหน

แนวคิดนี้แบ่งกิจกรรมภายในองค์กรเป็น 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) โดย 5 กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ถือเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือสร้างสรรค์สินค้าและบริการ การตลาด และการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย

Value Chain Analysis

  1. Inbound Logistics กิจกรรมด้านการขนส่ง การจัดเก็บ การแจกจ่ายวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงเหลือ
  2. Operations กิจกรรมด้านการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต การบรรจุ
  3. Outbound Logistics กิจกรรมด้านการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า
  4. Marketing and Sales กิจกรรมด้านการดึงดูดชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้า เช่น การโฆษณา ช่องทางการจัดจำหน่าย
  5. Services กิจกรรมการให้บริการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขาย การแนะนำการใช้

ส่วนกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลัก ให้สามารถดำเนินไปได้ ประกอบด้วย

  1. Procurement กิจกรรมการจัดซื้อ จัดหา เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมหลัก
  2. Technology Development กิจกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ช่วยเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ หรือกระบวนการผลิต
  3. Human Resource Management กิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก ประเมินผล พัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม ระบบเงินเดือน ค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์
  4. Firm Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชีระบบการเงิน การบริหารจัดการขององค์กร

Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์

สำหรับ “คุณค่า” ในธุรกิจแฟรนไชส์อาจมีมุมมองต่างกัน ในมุมมองผู้ซื้อแฟรนไชส์คุณค่าอาจหมายถึง ธุรกิจแฟรนไชส์ราคาถูกแต่สินค้าและบริการตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค สินค้าและบริการมีคุณภาพมาตรฐานตอบโจทย์ลูกค้าในวงกว้าง การให้บริการที่ดีกว่าเดิม

หรือความเป็นเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียวของสินค้า เป็นต้น โดยคุณค่าได้มาจากความรู้ ประสบการณ์ของเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ธุรกิจดำเนินธุรกิจมายาวนาน การฝึกอบรม ตลอดจนการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี และการพัฒนาสินค้าและบริการออกมาใหม่ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการให้กับธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ

การวิเคราะห์เครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value Chain Analysis) แบ่งแยกโครงสร้างของกิจกรรมออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities) ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้

กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities) ในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก เป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับลักษณะทางกายภาพของรูปแบบการให้บริการของร้านค้าปลีก ตั้งแต่การจัดหาสินค้า การคัดเลือกพนักงาน และการนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่ายในร้านค้าปลีก

โดยเจ้าของร้านแฟรนไชส์หรือผู้จัดการร้านจะเป็นผู้คัดเลือก และตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้าเข้าร้าน โดยใช้ประสบการณ์และคำแนะนำจากเจ้าของแฟรนไชส์ ส่วนกระบวนการในการขายสินค้า อาทิ การเติมเต็มสินค้าในชั้นวาง การกำหนดราคาขาย การจัดเก็บสินค้าคงคลัง ฯลฯ ส่วนช่วงเวลาทำการขายอาจเปิดบริการ 24 ชั่วโมง

กิจกรรมสนับสนุนแฟรนไชส์ (Supporting Activities) เป็นกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมหลักให้เกิดมูลค่ากับแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก โดยเจ้าของแฟรนไชส์เป็นผู้ถ่ายทอดและฝึกอบรมให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้บริหารงานในร้าน รวมถึงคัดเลือกพนักงานและฝึกอบรมพนักงานภายในร้าน

โดยกิจกรรมสนับสนับสนุน โดยส่วนใหญ่แฟรนไชส์ซีจะได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การแนะนำเทคนิคการบริหารธุรกิจ การจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ การติดตั้งระบบการขายและเทคโนโลยีต่างๆ ภายในร้าน เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับร้านแฟรนไชส์ค้าปลีกนั่นเอง

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3QKa0wg

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3QSYjDC


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช