Triple-Code วิธีตั้งราคาทำให้ขายดีเพิ่มถึง 30%

การทำธุรกิจใดๆ ก็ตามย่อมคาดหวังเรื่อง “ยอดขาย” ในปัจจุบันที่ค่าครองชีพแพงทุกอย่าง สวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือน้อยลง การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการก็ย่อมจะยากมากขึ้นด้วย

เราเห็นพ่อค้าแม่ค้าบ่นกันทุกที่ว่าตอนนี้ขายของได้น้อยลง คนไม่ค่อยจับจ่าย คนที่ลงทุนเป็นร้านขนาดใหญ่ก็บอกว่าลูกค้าน้อยลง แนะนำกันไปถึงขนาดว่าใครที่จะเริ่มสร้างธุรกิจตอนนี้ต้องคิดให้ดี เนื่องจากกำลังซื้อที่หายไปเยอะมาก หากจะทำธุรกิจจริงๆต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและควรเป็นเงินทุนของตัวเอง เผื่อไม่เป็นไปตามเป้าจะได้ไม่ต้องเป็นหนี้ใคร

แต่เมื่อเจอปัญหาแบบนี้ก็ต้องหาวิธีแก้ไขหนักให้เป็นเบา กลยุทธ์การตลาดหลายด้านถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นยอดขาย ไม่ว่าจะโปรโมชันหรือการตลาดออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

ทีนี้ลองไปดูอีกหนึ่งทฤษฏีที่น่าสนใจเขาเรียกว่า Triple-Code Model เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่บอกว่า มนุษย์เรามีวิธีการรับรู้และประมวลผลตัวเลข อธิบายง่ายๆ คือหลักการนี้เขานำมาใช้ในการ “ตั้งราคา” ที่ทำให้คนซื้อรู้สึกว่า คุ้มค่า ราคาไม่แพง และอยากจ่ายเงินซื้อ

Triple-Code

หลักการเบื้องต้นของ Triple-Code Model มีอยู่ 3 รูปแบบคือ

  • Arabic Code การรับรู้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ เช่น 1, 2, 3, 4 ,5 ….
  • Verbal Code การรับรู้ตัวเลขเป็นคำพูดเช่น หนึ่ง, สอง, สาม, สี่ , ห้า …..
  • Analog Magnitude Code การรับรู้ตัวเลขเป็นปริมาณ เช่น “2 มากกว่า 1” หรือ “1 น้อยกว่า 2”

ความน่าสนใจของหลักการนี้คือโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้มากถึง 30% เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเป็นหลักการที่นำไปใช้ในการตั้งราคาที่เป็นเหมือนการ “หลอกสมอง” ทำให้คนซื้อพึงพอใจและรู้สึกว่าสินค้าคุ้มค่า ราคาไม่แพง ซึ่งมีการนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายวิธีเช่น

Brand Key

  • การจัดโปรโมชัน 1 แถม 1 (ใช้หลักการของ Analog Magnitude Code) ใช้ประโยชน์จากสมองที่รับรู้ตัวเลขเป็นปริมาณ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าดีลนี้คุ้มค่า
  • การตั้งราคาให้อ่านและคิดตามได้ง่าย (ใช้หลักการของ Verbal Code) เช่น ร้านทุกอย่าง 20 ที่คนอ่านจะเข้าใจและคิดตามได้ทันทีว่าถ้าซื้อ 2 ชิ้นก็ ราคา 40 บาท ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ ดีกว่าการตั้งราคาที่ทำให้คนอ่านคิดตามยาก การตัดสินใจก็จะยากตามไปด้วย
  • การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9 (ใช้หลักการของ Arabic Code) เพราะคนเราจะประมวลผลตัวเลขจาก ซ้าย-ไป-ขวา การกำหนดราคาให้ลงท้ายด้วยเลข 9 ก็เพื่อดึงตัวเลขหน่วยข้างหน้าให้ต่ำลง เช่น กระเพราจานละ 49 บาท , ชานมไข่มุกแก้วละ 19 บาท แม้เป็นตัวเลขแค่หน่วยเดียวแต่มีผลต่อความรู้สึกของลูกค้ามาก

Triple-Code

อย่างไรก็ดีกลยุทธ์ในการตั้งราคานั้นมีหลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจเป็นผู้กำหนดก็ต้องดูปัจจัยแวดล้อมหลายด้านมาประกอบกันเช่น

  • Customer Value–Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘มุมมองของลูกค้า’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก การรับรู้ถึงคุณค่าในสินค้าหรือบริการของลูกค้าเป็นกุญแจสำคัญในการตั้งราคา
  • Cost-Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘ต้นทุน’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการขาย นำมาบวกเพิ่มกับอัตราผลตอบแทนหรือกำไรที่ต้องการในจำนวนที่สามารถครอบคลุมการทำงานและความเสี่ยงต่างๆ ของบริษัทได้
  • Competition-Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘การแข่งขัน’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก กลยุทธ์ ต้นทุน ราคา และข้อเสนอของคู่แข่ง

ในโลกของธุรกิจการแข่งขันมีสูง และมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่หากธุรกิจไม่คิดให้รอบคอบไม่วางแผนในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะถูกแชร์ส่วนแบ่งการตลาดก็เป็นไปได้มาก ยิ่งถูกแชร์มาก รายได้ก็ยิ่งน้อย เมื่อรายได้น้อยก็ไปสัมพันธ์กับต้นทุนที่จะแบกรับไม่ไหว ดังจะเห็นได้จากการปิดตัวของหลายธุรกิจในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนภาพของโลกธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างชัดเจนที่สุด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


 

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด