Teriyaki Madness แฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นในอเมริกา ที่โตเร็วไม่แพ้ Panda Express

ถ้าพูดถึงร้านอาหารเอเชียในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่แพ้ร้านอาหารจีน Panda Express เชื่อว่าหลายน่าจะรู้จัก นั่นคือ Teriyaki Madness แฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นในอเมริกา ถือเป็นร้านอาหารเอเชียที่ได้รับความนิยมและเติบโตอย่างรวดเร็วในอเมริกา ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 160 สาขา ถือเป็นร้านอาหารเอเชียที่มีคนต่อคิวมากที่สุด

จุดเริ่มต้น Teriyaki Madness

Teriyaki Madness แฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นในอเมริกา
ภาพจาก https://www.facebook.com/tmad214

ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 โดย โดย Rod Arreola, Alan Arreola และ Eric Garma สองพี่น้อง และลูกพี่ลูกน้องที่เติบโตมาในเมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน โดยทั้ง 3 เปิดร้านอาหารญี่ปุ่นเพื่อสุขภาพสาขาแรกที่ลาสเวกัส หลังจากลากออกจากการทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ถือเป็นร้านคล้ายกับร้านโปรดของพวกเขาในซีแอตเทิล

Teriyaki Madness เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวอเมริกาอย่างรวดเร็วตั้งแต่เปิดร้านวันแรก มีการบอกปากต่อปาก จนมีลูกค้าหลั่งไหลกันมาต่อคิวยาวเหยียด

เมื่อธุรกิจได้รับความนิยมและเติบโต พวกเขาทั้งสามจึงตัดสินใจขยายกืจการในรูปแบบแฟรนไชส์ในปี 2005 เพื่อกระจายอาหารเอเชียที่มีความอร่อย ดีต่อสุขภาพไปให้คนอเมริกาได้ลิ้มลองรสชาติทั่วประเทศ

ปัจจุบัน Teriyaki Madness มีจำนวนสาขาทั้งหมด 160 สาขา ครบคลุม 40 รัฐในสหรัฐอเมริกา และยังไม่หยุดที่จะเติบโตอยู่เพียงแค่นี้

Teriyaki Madness แฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นในอเมริกา
ภาพจาก https://www.facebook.com/tmad214

เมนูอาหารในร้าน

  • เทอริยากิ (ไก่, เนื้อ, เต้าหู้),
  • ไก่รสเผ็ด
  • ไก่ส้ม
  • ไก่คัตสึ
  • บะหมี่ยากิโซบะ
  • ผัดผัก
  • สลัด
  • ถั่วแระญี่ปุ่น
  • ไข่ม้วน
  • เกี๊ยวซ่า
  • ปูรางกูน

รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ Teriyaki Madness

  • รูปแบบ 350,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รูปแบบ 976,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • Royalty Fee 6%
  • Marketing Fee 3%

เมื่อเทียบกับการลงทุนแฟรนไชส์ Panda Express จะพบว่า Teriyaki Madness ใช้เงินลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ต่ำกว่า Panda Express ที่ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 370,000 – 1,550,200 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ทั้ง 2 แบรนด์มีโมเดลร้านเป็นแบบภัตตาคาร และมีบริการเดลิเวอรี่เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่าง ก็คือ Teriyaki Madness ทำอาหารแบบสดๆ ตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง ส่วนทาง Panda Express ทำอาหารไว้รอให้ลูกค้าเลือก ทำให้อาหารไม่สดใหม่ พูดง่ายๆ ก็คือ อาหารไม่ร้อน

ภาพจาก https://www.facebook.com/tmad214

ทำไม Teriyaki Madness ได้รับความนิยมในอเมริกา

ผู้บริโภคชาวอเมริกาส่วนใหญ่หันมารับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ที่สำคัญผู้บริโภคชาวอเมริกาไม่มีเวลาในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ และไม่รู้วิธีการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ เรียกได้ว่า ทำอาหารเพื่อสุขภาพไม่เป็น จึงทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกาหันมาซื้ออาหารเพื่อสุขภาพจากร้าน Teriyaki Madness อีกทั้งทางร้านมีบริการเดลิเวอรี่ ทำให้ Teriyaki Madness เติบโตเร็ว

อ้างอิงข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช