ตะลึง! TEMU แพลตฟอร์มเดียว เปลี่ยนโลกทั้งใบ

ธุรกิจจากจีนตอนนี้ไหลมาเทมาสู่เมืองไทยกันเยอะมาก! ไม่ว่าจะอาหาร เครื่องดื่ม ที่เปิดตัวกันไปก่อนหน้า ล่าสุดวงการ e-Commerce ในเมืองไทยต้องสั่นสะเทือนเมื่อ “TEMU” ได้เข้ามาทำตลาดในไทยแบบเงียบ ๆ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2024 ที่ผ่านมา

ต่อคำถามที่ว่าก็แค่แพลตฟอร์มสินค้าออนไลน์ ทำไมต้องกลัวกันขนาดนั้น?

TEMU แพลตฟอร์มเดียว

ภาพจาก www.facebook.com/TemuThailand

อันที่จริงจะบอกว่ากลัวมันก็เกินไปเรียกว่าเป็นความกังวลซะมากกว่า เพราะถ้าย้อนไปดูประวัติการทำธุรกิจของ TEMU ต้องบอกว่าไม่เบาทีเดียว ด้วยสโลแกน “Shop Like a Billionaire” ชูโมเดลที่ให้โรงงาน และผู้ผลิตในจีนวางจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มโดยตรง

และใช้วิธี “Group Buying” หรือให้ผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าชิ้นนั้น ๆ กันเป็นกลุ่มไปยังผู้ผลิตโดยตรง ทำให้สามารถขายสินค้าในราคาที่ถูกมาก ๆ เหมือนซื้อราคาส่ง ตัดราคาคู่แข่งแบบเด็ดขาด ซึ่งเป็นโมเดลเดียวกับที่ Pinduoduo บริษัทแม่ใช้ทำตลาดจนประสบความสำเร็จในจีน

นอกเหนือจากส่วนลดแล้ว TEMU ยังเหนือชั้นยิ่งกว่าเมื่ออัดโปรโมชันส่งฟรีทุกออเดอร์ โดยส่งสินค้าจะถูกส่งตรงจากโรงงานที่จีนภายใน 4 – 9 วัน แถมยังมีนโยบายคืนสินค้าในทุก ๆ ออเดอร์ฟรีภายใน 90 วัน หรือจะสามารถเลือกรับเป็นการคืนเงินส่วนหนึ่ง โดยไม่ต้องส่งสินค้ากลับคืนก็ได้

TEMU แพลตฟอร์มเดียว

ภาพจาก www.temu.com/th

เมื่อเทียบสัดส่วนรายได้ในตลาดสหรัฐฯ พบว่า Temu มีรายได้ที่ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามหลังกลุ่มผู้นำได้แก่

  • Amazon รายได้ 7 แสนล้านดอลลาร์
  • Walmart eCom รายได้ 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์
  • Shein รายได้ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์

ซึ่ง Temu เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากโฆษณาในงาน Super Bowl 58 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2024 โดย Temu จ่ายเงินค่าโฆษณาไปกว่า 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลายเป็นแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดในปี 2023

ความกังวลใจที่แท้จริงของแพลตฟอร์ม e-Commerce คือการเติบโตที่รวดเร็วซึ่งคาดการณ์ว่าจะนำมาซึ่งการแชร์ส่วนแบ่งการตลาดอย่างชัดเจน ตอกย้ำด้วยข้อมูลเมื่อปี 2023 ที่ Temu เริ่มบุกตลาดสหรัฐฯ ก็สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในกลุ่ม Discount Store ไปได้ถึง 17%

ปัจจุบัน Temu เปิดให้ใช้งานไปแล้วใน 18 ประเทศทั่วโลก อย่างเช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่สุดของ Temu มีสัดส่วนอยู่ที่ 42.1% ตามมาด้วยตลาดในยุโรป และตลาดอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทยในตอนนี้ด้วย

และจะเรียกว่า Temu เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยได้อย่างถูกจังหวะเวลาก็ได้ เพราะตอนนี้คนไทยกำลังซื้อหดหาย สิ่งที่ต้องการคือของถูก ราคาไม่แพง และนั่นคือจุดแข็งของ Temu อย่างชัดเจน ถ้าดูการแข่งขันตอนนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2566 มีมูลค่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์ อัตราการเติบโตปีต่อปีสูงถึง 34.1% โดยมี Shopee ครองส่วนแบ่งการตลาด 49% ตามมาด้วย Lazada 30% และ TikTok Shop 21%

TEMU แพลตฟอร์มเดียว

ภาพจาก www.temu.com/th

นั่นหมายความว่าทั้ง 3 แบรนด์ที่เป็นผู้นำจำเป็นต้องเร่งรักษาฐานลูกค้าตัวเองกันอย่างเต็มที่ ในขณะที่ Temu มาพร้อมจุดเด่นทั้งเรื่องของถูก ส่งฟรี มีโปรแรง ชนิดที่เรียกว่าหากสู้กันที่ราคาอย่างเดียว โอกาสที่ผู้เล่นรายอื่นจะโดนแย่งส่วนแบ่งการตลาดก็สูงมาก ถึงขนาดที่มีคนพูดว่า “ฉีกกฎเดิมๆ เรื่องสมการต้นทุนกำไรที่เคยรู้จักไปให้หมด เพราะ Temu แพลตฟอร์มเดียว มันทำให้สั่นสะเทือนได้ทั้งวงการ”

แต่ใช่ว่าการมาของ Temu จะไม่มีข้อดีเอาซะเลย ในวิกฤติก็ย่อมมีโอกาสเพราะ SMEs ก็สามารถใช้ Temu เป็นช่องทางในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่ Temu มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว หรือการใช้ Temu ในการหาแหล่งวัตถุดิบและสินค้าจากผู้ผลิตในต่างประเทศ ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ รวมถึง TEMU ช่วยให้เห็นว่า สินค้าอะไรขายดีบ้าง เราจะได้ไม่เสียเวลาทำอย่างอื่นแล้วหันมาโฟกัสกับสิ่งที่ขายดีจริงๆ เท่านั้น

ภาพจาก www.temu.com/th

อีกจุดหนึ่งที่คู่แข่งหลายแบรนด์จะงัดมาสู้กับ Temu คือ “คุณภาพสินค้า” ในขณะที่ Temu สามารถเลือกซื้อสินค้าในเกือบทุกหมวดหมู่ตามที่ใจอยาก ตั้งแต่สินค้าแฟชั่นไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ต้องเข้าใจว่าสินค้าที่ขายบน Temu เน้นการผลิตในปริมาณมาก ราคาจึงถูกแต่ก็มีข้อเสียในเรื่องคุณภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ทางธุรกิจ

อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ก็คงต้องมาดูกันยาวๆ ว่าแท้ที่จริง Temu เองจะเอาจริงเอาจังแค่ไหนกับตลาดอีคอมเมิร์ชในเมืองไทย และในอนาคตอาจไม่ใช่แค่ Temu ที่เข้ามาอาจมีมากกว่านี้และวิกฤตินี้ก็อาจยังแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consul

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด