Taco Bell ร้านฮอทดอกและเบอร์เกอร์ข้างทาง สู่แฟรนไชส์อาหารอันดับ 1 อเมริกา

เวลาที่เราไปถามคนส่วนใหญ่ว่า ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดจากสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย มีแบรนด์ไหนบ้าง? เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงแต่แบรนด์ใหญ่อย่าง KFC, McDonald’s, Burger King, Pizza Hut

แต่รู้หรือไม่ว่าในไทยยังมีร้านฟาสต์ฟู้ดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา และติดอันดับ 1 ธุรกิจแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมจาก 500 อันดับของ Entrepreneur ถึง 3 ปีติดต่อกัน (2023 – 2025) แซงแฟรนไชส์ที่คนรู้จักทั่วโลกอย่าง KFC, McDonald´s, 7-Eleven ที่ติดอันดับ 21, 22 และ 27 ตามลำดับ

แบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่จะพูดถึง ก็คือ Taco Bell ร้านอาหารสไตล์เม็กซิกันจากอเมริกา ปัจจุบันมี 8,565 แห่งใน 30 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

Taco Bell มีกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจอย่างไร ทำไมถึงก้าวขึ้นสู่แฟรนไชส์อาหารอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา ส่วนในไทย Taco Bell เจอกับความท้าทายอะไรบ้าง ท่ามกลางแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดรายล้อม ทั้งแบรนด์ไทย แบรนด์นอก

จุดเริ่มต้น Taco Bell

Taco Bell ร้านฮอทดอกและเบอร์เกอร์ข้างทาง
ภาพจาก https://tacobell.co.th

Taco Bell ก่อตั้งขึ้นในปี 1962 ในเมืองดาวนีย์ แคลิฟอร์เนีย โดย “คุณเกลนเบลล์” (Glen Bell) ย้อนกลับไปหลังจากที่เขาเรียนจบโรงเรียนมัธยมซานเบอร์นาดิโน ได้ไปเป็นทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ เป็นพ่อครัวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังสงครามสงบลง Glen Bell ได้เปิดร้านฮอทดอก ‘Bell’s Drive-In’ (เบลล์ไดรฟ์อิน) ในซานเบอร์นาดิโน แคลิฟอร์เนียปี 1948 ต่อมาได้เพิ่มเมนูแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้ร้านของเขาเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้น

ต่อมา Glen Bell สังเกตเห็นร้านอาหารเม็กซิกันในแคลิฟอร์เนียมีคนใช้บริการจำนวนมาก เขาจึงคิดจะเปิดร้านอาหารสไตล์เม็กซิกันที่คนนิยมในขณะนั้น จึงได้ไปเรียนการทำ Taco จากร้าน Mitla Café (มิตลาคาเฟ่) ในเมืองซานเบอร์นาดิโน

หลังเรียนจบ Glen Bell เริ่มขายทาโก้ใช้ชื่อว่า Taco-Tia (ทาโก้ เทีย) ราคา 19 เซ็นต์ (หรือประมาณ 0.19 ดอลลาร์) ปรากฏว่า Taco ของเขาได้เสียงตอบรับดีมาก สามารถเปิดร้านได้ถึง 3 สาขาภายใน 3 ปีเท่านั้น

ต่อมาเขาขายกิจการร้านอาหารเหล่านั้นไป และร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดร้าน El Tacos (เอล ทาโก้) จำนวน 4 สาขา เปิดกิจการได้ไม่นาน Glen Bell ก็แยกตัวมาเปิดร้าน Taco คนเดียวอีกครั้งในปี 1962 หลังจากนั้นเขาได้ขายหุ้นในร้าน El Tacos ทั้งหมดให้หุ้นส่วนของเขา และมาเปิดร้าน Taco Bel แห่งแรกในเมืองดาวนีย์ แคลิฟอร์เนีย

หลังเปิดร้าน Taco Bell แห่งแรก Glen Bell ได้คิดค้นเมนู Crunchy Taco (ครั้นชี่ ทาโก้) เพื่อเป็นเมนูทางเลือกให้คนในพื้นที่แคลิฟอร์เนียได้ทาน ต่อจากนั้นเมนู Crunchy Taco กลายเป็นเมนูซิกเนเจอร์ประจำร้านและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

เติบโตเร็วด้วยแฟรนไชส์

Taco Bell ร้านฮอทดอกและเบอร์เกอร์ข้างทาง
ภาพจาก https://tacobell.co.th

สองปีถัดมา ธุรกิจ Taco Bell ขยายกิจการและเติบโตอย่างรวดเร็ว Glen Bell ตัดสินใจขายแฟรนไชส์สาขาแรกให้กับ Kermit Becky (เคอร์มิท เบคกี้) ตำรวจเกษียณอายุใน LA ปี 1964 และเปิดร้านแฟรนไส์สาขาแรกในเมืองทอร์แรนซ์ แคลิฟอร์เนีย

ปี 1966 Taco Bell ขยายสาขาได้มากกว่า 300 แห่ง และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา จากนั้นปี 1978 Glen Bell ได้ขายกิจการร้านอาหาร Taco Bell จำนวน 868 สาขาให้กับกลุ่มบริษัท PepsiCo Inc. ในราคา 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเขายังเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของ PepsiCo อีกด้วย

ต่อมา PepsiCo ได้ขยับขยายกิจการธุรกิจฟาสต์ฟู้ดมาอยู่ภายใต้บริษัท Yum! Brands ซึ่งมีแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดดังในเครือมากมาย เช่น KFC, Pizza Hut และ Habit Burger & Grill

เชื่อหรือไม่ว่า นับจากนั้นมา Taco Bell เติบโตอย่างรวดเร็ว มีชื่อเสียงโด่งดัง ขยายกิจการไปในระดับนานาชาติช่วงปี 1980-1990 และได้เปิดตัวเมนู ครั้นช์แรป ซูพรีม (Crunchwrap Supreme) กลายเป็นเมนูที่ขายดีที่สุดของ Taco Bell

ต่อมาได้สร้างแบรนด์และทำตลาดผ่านสายตาคนทั่วโลก มีการโฆษณาผ่านภาพยนตร์ Batman และในปี 1989 เปิดตัว Taco Bell Express บริการลูกค้าทั้งนั่งในร้านและซื้อกลับบ้าน

– ปี 1995 Taco Bell ทำการตลาดร่วมกับ KFC ต่อมาเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ในเครือเดียวกัน คือ Yum! Brands Inc. และทำการตลาดต่อเนื่องร่วมเป็นพันธมิตรกับอีกหลายราย อาทิ NBA, Lay’s

– ปี 2014 Taco Bell เปิดบริการเมนูอาหารเช้าทั่วประเทศ เช่น ทาโก้วาฟเฟิล เบอร์ริโต ขนมอบดั้งเดิม มีแอปพลิเคชันสั่งซื้อและชำระเงินผ่านมือถือ ถือเป็นแอปพลิเคชันแรกในตลาดฟาสต์ฟู้ดสหรัฐอเมริกา

รู้หรือไม่ว่า Taco Bell ในอเมริกาเคยมีลูกค้าใช้บริการมากกว่า 40 ล้านคนต่อสัปดาห์ จากจำนวนสาขากว่า 8,565 แห่ง ใน 30 ประเทศ กลายเป็นแบรนด์ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ

ปัจจุบัน Taco Bell เป็นแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดในเครือของ Yum! Brands, Inc. ซึ่งยังเป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงอื่นๆ อีกหลายแบรนด์ เช่น KFC, Pizza Hut มีกิจการร้านอาหารรวมกันกว่า 43,000 แห่งใน 135 ประเทศทั่วโลก

ติดอันดับ 1 แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมอเมริกา (2023-2025)

Taco Bell ร้านฮอทดอกและเบอร์เกอร์ข้างทาง
ภาพจาก https://tacobell.co.th

Taco Bell ได้รับการจัดอันดับ 1 ธุรกิจแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมจาก 500 อันดับของ Entrepreneur มาตั้งแต่ปี 2023 – 2025 การจัดอันดับได้พิจารณาข้อมูลมากกว่า 150 จุด ทั้งด้านต้นทุนและค่าธรรมเนียม ขนาดและการเติบโต ระบบการสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ ความแข็งแกร่งของแบรนด์ ความแข็งแกร่งและความมั่นคงทางการเงิน

Taco Bell ในสหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ 1 สาขา

  • ค่าแฟรนไชส์ 2.5 – 4.5 หมื่นดอลลาร์
  • งบลงทุน 6.1 แสน – 3.9 ล้านดอลลาร์

กลยุทธ์ Taco Bell ในสหรัฐอเมริกา

  • สร้างแบรนด์และทำการตลาดสม่ำเสมอ
  • ลองทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ เช่น พัฒนาเมนูใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูง
  • เปลี่ยนกลุ่มลูกค้าจากครอบครัวและเด็ก เป็นมิลเลนเนียล (Millennials) หรือ Gen Y ผู้ที่เกิดช่วงปี 1984 – 1996 เพราะคนกลุ่มนี้มีความภักดีต่อแบรนด์ เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
  • ใช้เทคโนโลยีการสั่งซื้อและให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้า

จุดเริ่มต้น Taco Bell ในไทย

ภาพจาก https://bit.ly/40AYeK0

Taco Bell เข้ามาขยายกิจการในไทยวันที่ 24 ม.ค. 2019 เปิดให้บริการสาขาแรกที่ชั้น 1 ศูนย์การค้า เดอะ เมอร์คิวรี่ วิลล์ แอท ชิดลม ภายใต้บริษัท สยาม ทาโก้ จำกัด ในเครือบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เจ้าของแฟรนไชส์พิซซ่า ฮัทในไทย เป็นธุรกิจของตระกูลมหากิจศิริ ที่มีประสบการณ์บริหารธุรกิจร้านอาหารมายาวนานในไทย

การขยายกิจการ Taco Bell ในช่วงแรกๆ ไม่ค่อยเร่งสปีตมากนัก เปิดสาขาปีละ 3-4 สาขา, สาขา 2 เปิดเดือน เม.ย. 2019 ที่สยามพารากอน, สาขา 3 เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, สาขา 4 สามย่านมิตรทาวน์ จนถึงปัจจุบันมี 32 สาขาทั่วประเทศในระยะเวลา 6 ปี

ปี 2023 ถือเป็นปีที่ Taco Bell ขยายกิจการมากที่สุด เปิดสาขารวดเดียวถึง 16 สาขา ทำรายได้ในปีนั้น 321 ล้านบาท มีกำไร 12 ล้านบาท สาเหตุที่ต้องเร่งเปิดสาขาให้ได้มากๆ อาจเป็นเพราะ Taco Bell ต้องการสร้างแบรนด์ให้คนเห็นเยอะๆ เพื่อสร้าง Brand Awareness ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มลูกค้าชาวไทย เมื่อพูดถึงอาหารเม็กซิกันต้องนึกถึง Taco Bell อันดับแรก

ตั้งแต่ปี 2024 Taco Bell หันมาโฟกัสในเรื่องการตลาดมากขึ้น เน้นสร้างการรับรู้และเปิดสาขาให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวตามหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภูมิภาค

ความท้าทาย Taco Bell ในไทย

ภาพจาก www.facebook.com/tacobellth

ความท้าทายของ Taco Bell ตั้งแต่เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2019 เป็นระยะเวลา 6 ปี ต้องเจอกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด QSR มีคู่แข่งรอบด้าน โดยเฉพาะแบรนด์จากอเมริกาด้วยกันเอง ทำให้ต้องปรับตัว สร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทย

ความท้าทายแรก Taco Bell คือ ลูกค้าคนไทยยังไม่คุ้นเคยกับอาหารสไตล์อเมริกันมากนัก จึงทำการตลาดได้ยาก แต่โอกาสของ Taco Bell ยังมีตรงที่อยู่ในตลาดที่ไม่มีคู่แข่ง หรือ Blue Ocean ถ้าทำธุรกิจให้เติบโตได้ก็จะไม่มีคู่แข่งมาแชร์ส่วนแบ่ง

ความท้าทายถัดมา เป็นเรื่องต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งในธุรกิจอาหารประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า วัตถุดิบหลายอย่างนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้องบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพที่สุด

ขยายสาขาผ่าน 3 โมเดล

ภาพจาก www.facebook.com/tacobellth

โมเดลร้าน Taco Bell มี 3 รูปแบบ คือ

  1. Inline โมเดลที่สร้างในตัวอาคาร ศูนย์การค้า ขนาดพื้นที่ 100 ตร.ม. ขึ้นไป
  2. Delco เน้นเดลิเวอรี่เป็นส่วนใหญ่ ขนาดพื้นที่ 60-70 ตร.ม. ทำเลในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า
  3. Stand Alone และ คอนเทนเนอร์ ขนาดพื้นที่ 100 ตร.ม. ขึ้นไป ทำเลปั๊มน้ำมัน ย่านชุมชน และอื่นๆ

เป้าหมาย Taco Bell

ภาพจาก www.facebook.com/tacobellth

เป้าหมาย Taco Bell ปี 2025-2026 คือ เปิดสาขาให้ครบ 50 สาขาจากปัจจุบัน 32 สาขา ทำรายได้ 1,000 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2023 รายได้ 321 ล้านบาท กลยุทธ์ Taco Bell เน้นโฟกัสสร้างการรับรู้ให้ลูกค้าชาวไทยเข้าถึงอาหารเม็กซิกันมากขึ้น

เหมือนอาหารอเมริกัน อย่างไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า เน้นสื่อสารช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์ หน้าร้านมีพนักงานให้ความรู้เรื่องอาหารเม็กซิกันแก่ลูกค้า เพราะลูกค้าชาวไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่า Taco Bell ขายอะไร

ปัจจุบัน Taco Bell มีกลุ่มลูกค้าทั้งไทยและต่างชาติ เป็นกลุ่มพนักงานออฟฟิศ อายุ 25-40 ปี และที่ผ่านมาพบว่า Taco Bell ขายดีช่วงกลางคืนผ่านทางเดลิเวอรี่ จากพฤติกรรมลูกค้าชาวไทยชอบสังสรรค์ เพราะเมนู Taco Bell ทานกับเครื่องดื่มต่างๆ ได้

รายได้บริษัท สยามทาโก้ จำกัด

ภาพจาก www.facebook.com/tacobellth
  • ปี 2019 รายได้ 89 ล้านบาท ขาดทุน 15.8 ล้านบาท
  • ปี 2020 รายได้ 99 ล้านบาท ขาดทุน 29 ล้านบาท
  • ปี 2021 รายได้ 122 ล้านบาท ขาดทุน 34.8 ล้านบาท
  • ปี 2022 รายได้ 209 ล้านบาท ขาดทุน 14 ล้านบาท
  • ปี 2023 รายได้ 321 ล้านบาท กำไร 12 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่า Taco Bell ในไทย มีรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีนับตั้งแต่เปิดกิจสาขาแรกในไทย ปี 2019 รายได้ 89 ล้านบาท, ปี 2020 รายได้ 99 ล้านบาท, ปี 2021 รายได้ 122 ล้านบาท, ปี 2022 รายได้ 209 ล้านบาท และปี 2023 รายได้ 321 ล้านบาท

ภาพจาก www.facebook.com/tacobellth

แต่ผลประกอบการขาดทุนทุกปีเช่นกัน อาจเป็นเพราะใช้เงินไปลงทุนขยายกิจการเพิ่มขึ้น แต่ Taco Bell กลับมามีผลกำไร 12 ล้านบาทในปี 2023 แสดงให้เห็นว่าสินค้าของ Taco Bell ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น จากช่วงแรกๆ คนไทยไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าร้าน Taco Bell ขายอะไร สินค้าคนไทยไม่คุ้นเคย ทำให้แบรนด์ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

ถ้าเปรียบ Taco Bell ก็เหมือน Pizza Hut ที่อยู่ภายใต้การบริหารของตระกูลมหากิจศิริ แม้จะอยู่ท่ามกลางแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดรายล้อมมากมาย แต่น่าจะอยู่รอดและสร้างความโดดเด่นในตลาดได้ เพราะอย่าลืมว่า Taco Bell ไม่มีคู่แข่งในตลาดเหมือน Pizza Hut

Taco Bell เป็นเบอร์ 1 ในตลาด ถ้าสร้างธุรกิจให้ครองใจคนไทย ก็ไม่มีใครแย่งส่วนแบ่งตลาดไป เมื่อถึงตอนนั้นถ้าพูดถึงอาหารฟาสต์ฟู้ดเม็กซิกัน หรือเมนูทาโก้ คนก็คงจะนึกถึง Taco Bell เป็นอันดับแรก เหมือนไก่ทอดต้อง KFC

ภาพจาก www.facebook.com/tacobellth

แหล่งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต