Sub-Area License สุดยอดโมเดลขยายแฟรนไชส์ ที่แบรนด์ใหญ่ไม่เคยบอก!

การขยายสาขาของแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ในเมืองไทย โดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ ทุนหนาๆ ไม่ได้แค่ต้องการปักหมุดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ยังต้องการขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างหวัดทั่วประเทศอีกด้วย

แต่การขยายสาขาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในต่างจังหวัด ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีความเชี่ยวชาญในเขตเมืองกรุง จะรุกขยายพื้นที่ไปได้ เพราะไม่เข้าใจตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องยาก

อยากรู้หรือไม่ว่า แบรนด์แฟรนไชส์ที่มีสาขาทั่วประเทศ เขาทำอย่างไรถึงขยายสาขาในต่างจังหวัดได้เร็วเหมือนติดจรวด และธุรกิจแฟรนไขส์ยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในท้องถิ่นอีกต่างหาก

ยกตัวอย่าง…7-Eleven

Sub-Area License

ภาพจาก https://bit.ly/49R1Yd8

แบรนด์แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ 7-Eleven ภายใต้การบริหารของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ ใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อช่วงปี 2532 ในช่วงเวลานั้นร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยยังเป็นสิ่งใหม่ คนไทยยังไม่คุ้นเคยมากนัก จะคุ้นเคยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าซีพีออลล์ต้องการให้สาขาแห่งนี้สร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคคนไทย ก่อนจะขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ทำเลขยายสาขาของ 7-Eleven ไม่ได้อยู่แค่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซีพีออลล์ในตอนนั้นต้องการขายสาขาไปในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยใช้โมเดล แบบพัฒนาพื้นที่ (Sup-Area License or Deverlopment Franchise)

เป็นการให้สิทธิ์แฟรนไชส์แก่นักลงทุนหรือผู้ประกอบการท้องถิ่นรายเดียว ทำตลาดและขยายร้าน 7-Eleven ได้ในพื้นที่อาณาเขตจังหวัด และสามารถขายสิทธิ์ให้กับบุคคลอื่นได้ด้วย

หลักการของโมเดล Sub-Area License คือ ซีพีออลล์ให้สิทธิ์แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นเจ้าใดเจ้าหนึ่งแล้ว จะไม่มีใครได้สิทธิ์เข้าไปเปิด 7-Eleven ในพื้นที่หรือจังหวัดเดียวกันได้ อีกทั้งผู้ประกอบการท้องถิ่นที่ได้รับสิทธิ์ Sub-Area License ยังสามารถขายแฟรนไชส์ให้ผู้สนใจเปิดร้าน 7-Eleven ได้ด้วย เพื่อเป็นไปตามข้อตกลงของซีพีออลล์

กลุ่มทุนท้องถิ่นที่ได้รับสิทธิ์ Sub-Area License ของ 7-Eleven มีอยู่ 4 กลุ่มทุน

Sub-Area License

  1. กลุ่มตันตราภัณฑ์ (บริษัท ชอยสฺ มินิ สโตร์ จำกัด) ผู้ประกอบการค้าปลีกริมปิง ซุปเปอร์มาร์เก็ต บริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน
  2. กลุ่มงานทวี (บริษัท งานหนึ่ง จำกัด) ผู้ประกอบการโรงแรมรอยัลภูเก็ตซี้ตี้ ป้มน้ำมัน สวนยางพารา เหมืองแร่ ค้าส่ง บริหารพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง พังงา กีะบี่ ตรัง
  3. กลุ่มยิ่งยง (บริษัท ยิ่งยง มินิมาร์ท จำกัด) ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ายิ่งยงอุบลฯ บริหารพื้นที่ 4 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ อุบลฯ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ
  4. กลุ่มศรีสมัย (บริษัท ยะลาเซเว่น จำกัด) ผู้ประกอบการร้านศรีสมัยค้าส่ง บริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส แต่ละกลุ่มทุนท้องถิ่น 4 กลุ่ม บริหารร้าน 7-Eleven ในอาณาเขตของตัวเองมากกว่า 100 สาขา โดยเฉพาะกลุ่มยิ่งยงมีมากกว่า 203 สาขา และมีแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ ในปี 2566 มีจำนวน 14,545 สาขา แบ่งเป็น

Sub-Area License

  • ร้านของ CPALL จำนวน 7,336 สาขา (คิดเป็น 50%) เพิ่มขึ้น 497 สาขา
  • ร้าน Store Business Partner (SBP) จำนวน 6,335 สาขา (คิดเป็น 44%) เพิ่มขึ้น 191 สาขา
  • ร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 874 สาขา (คิดเป็น 6%) เพิ่มขึ้น 19 สาขา
  • โดยปี 2566 เปิดสาขาใหม่ 707 สาขา เป็นไปตามเป้าหมายขยายปีละ 700 สาขา

กาแฟพันธุ์ไทย เปิดโมเดล Sup-Area License

Sub-Area License

นอกจากนี้ในปี 2566 แฟรนไชส์กาแฟพันธุ์ไทย ยังทำโมเดล Sup-Area License เพื่อเปิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ท้องถิ่น สามารถเปิดได้หลายสาขาในจังหวัดเดียวกัน เลือกทำเลที่ต้องการเองได้ และ ได้ส่วนลดค่าสิทธิ์ตามจำนวนสาขาที่เปิด โดยเงื่อนไขจำนวนการเปิดเป็นไปตามที่ทางบริษัทฯ ประเมินศักยภาพแต่ละพื้นที่ และเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมี “เอเอ็ม/พีเอ็ม” มีห้างแฟรี่แลนด์ เป็น Sup-Area License ขยายกิจการได้มากกว่า 10 สาขา ในนครสวรรค์

Sub-Area License

สรุปก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยากขยายตลาดในพื้นที่ที่ตัวเองไม้รู้จัก สามารถใช้โมเดล Sub-Area License ให้สิทธิ์นักลงทุนหรือผู้ประกอบการในพื้นที่บริหารจัดการและขยายธุรกิจแทนได้ เพราะเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในพื้นที่ได้ดี ส่วนแฟรนไชส์ที่จะขยายตลาดในต่างประเทศ อาจจะใช้โมเดล Master Franchise ให้สิทธิ์นักลงทุนในประเทศนั้นเป็นตัวแทนในการบริหารและขยายกิจการแฟรนไชส์แทนเรา จะสามารถขยายกิจการได้เร็วขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช