Sticky Prices ราคาหนืด แต่สร้างกำไรมหาศาล

ปัญหาของแพง ค่าแรงถูก ยังอยู่คู่สังคมไทยทุกยุคสมัย ยิ่งต้นปี 2567 ที่ผ่านมาสินค้าหลายอย่างจำเป็นต้องปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เช่น ยาคูลท์ที่ปรับราคาขึ้น 1 บาท (ในรอบ 11ปี) หรือ น้ำมันพืชปาล์มยี่ห้อดังจากขวดละ 60 บาท ขยับเป็น 75 บาท เป็นต้น

และอย่าคิดจะแก้ปัญหาของแพงด้วยการขึ้นค่าแรง ซึ่งบางทีสมการนี้ไม่สอดคล้องเพราะกลายเป็นยิ่งขึ้นค่าแรงของก็จะยิ่งแพงมากขึ้น อย่างเช่นในตอนนี้ที่ภาครัฐเตรียมกำหนดขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2567 ก็คาดว่าภาคเอกชนเองก็เตรียมปรับขึ้นราคาสินค้า 10-15% เช่นกัน

แต่บางทีปัญหาก็ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นเนื่องจากการขยับ “ขึ้นราคา” ก็ส่งผลต่อ “ยอดขาย” อันเนื่องจากรายได้ของคนส่วนใหญ่ไม่สอดคล้อง จึงเป็นที่มาบีบบังคับให้ผู้ประกอบการบางราย รู้ทั้งรู้ว่าต้นทุนมาแพง แต่ตัวเองก็ขายแพงไม่ได้ ในเชิงเศรษฐศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Sticky Prices”

Sticky Prices

Sticky Prices แปลตรงตัวก็คือ ราคาหนืด คือการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับเพิ่มหรือลดราคาสินค้าและบริการ ให้เป็นไปตามราคาวัตถุดิบ หรือปริมาณความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะสั้นได้ แต่ในวิกฤติก็ย่อมมีโอกาสในขณะที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนเพิ่ม เสี่ยงต่อการขาดทุน หรือได้กำไรน้อยลง แต่สิ่งที่จะได้กลับมาคือ “ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ”

ยกตัวอย่างถ้าสินค้ายังคงราคาเดิมในขณะที่คู่แข่งพาเหรดกันขึ้นราคาหมด ลูกค้าต้องเลือกซื้อสินค้าของเราเนื่องจากราคาถูกสุด ในมุมลูกค้าอาจได้ประโยชน์แต่แน่นอนว่าผลกระทบจะตกอยู่ที่ผู้ประกอบการ หรือบางทีการ “ขึ้นราคา ก่อน-หลัง” ก็เป็นอีกกลยุทธ์การตลาดที่ธุรกิจนำมาใช้

Sticky Prices

ยกตัวอย่างถ้าเราปรับราคาขึ้นทันที แล้วร้านคู่แข่งยังไม่ได้ขึ้นราคา เราจะเสียเปรียบในเรื่องราคาเปรียบเทียบทันทีซึ่งบางครั้งการอั้นไม่ขึ้นราคาในทันทีก็เพื่อให้ร้านค้าของตัวเองยังไม่เสียเปรียบในเรื่องราคาขาย ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค กลายเป็นว่า ใครขึ้นราคาก่อน จะเสียเปรียบคู่แข่งทันที

อย่างไรก็ดีถ้าต้นทุนยังแพงต่อเนื่อง การไม่ขึ้นสินค้าอาจกลายเป็นหายนะของธุรกิจได้ในอนาคต วิธีการแก้ปัญหา Sticky Prices โดยที่ไม่ทำให้ลูกค้าหนีหายมีอยู่หลายแนวทาง ซึ่งต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนเราแพง แล้วค่อยไปแก้ปัญหาที่จุดนั้น เช่น

Sticky Prices

1.สาเหตุต้นทุนสูง มาจากซัพพลายเออร์

การเปลี่ยนซัพพลายเออร์หรือมองหาแหล่งค้าส่งวัตถุดิบจากผู้ผลิตต้นทางและไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางก็อาจทำให้ต้นทุนของวัตถุดิบต่ำลงได้

2.สาเหตุต้นทุนสูงมาจากการจัดการวัตถุดิบ

แก้ไขระบบจัดการวัตถุดิบภายในธุรกิจให้ดีขึ้น ซึ่ง Menu Costs ที่หมายถึงต้นทุนโดยรวมของแต่ละธุรกิจ จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของกระบวนการผลิต ถ้าหากไปบริหารจัดการส่วนนี้ให้ดีๆ อาจทำให้ต้นทุนลดลงได้

3.เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้ามากขึ้น

การเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า จะลดความรู้สึกไม่พอใจของลูกค้าลงได้ ยิ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้านี้ต่อให้ขึ้นราคาก็ยังจำเป็นต้องใช้ หรือเป็นสินค้าที่เหมาะสมกับราคา ซึ่งกลยุทธ์นี้มีหลายอย่างที่นำมาผนวกใช้ได้เช่นกิจกรรมการตลาด การจัดโปรโมชัน เป็นต้น

Sticky Prices

ปัญหาของแพงแต่รายได้ไม่พอใช้จ่าย ตอนนี้กลายเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจต้องตระหนัก ถ้าดูจากข้อมูลพบว่าการแก้ปัญหารายได้ไม่พอจ่าย จะเลือกกู้ยืมเงินในระบบ 30.9% หาอาชีพเสริม 17% ขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง 16.6% กู้ยืมเงินนอกระบบ 15.7% นั่นก็ยิ่งตอกย้ำภาพรวมของภาระ “หนี้” ที่มากขึ้น

ตรงนี้มีผลโดยตรงต่อปริมาณการจับจ่าย ดังนั้นธุรกิจไม่ว่าจะร้านค้า ร้านอาหาร ต้องคำนวณต้นทุนและบริหารจัดการร้านให้มีประสิทธิภาพ เพราะถ้าขายแพงไปคนก็ไม่มีกำลังซื้อ แต่ถ้าขายถูกไปผู้ประกอบการก็ทุนหายกำไรหดเช่นกัน 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consul

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด