Step by Step เปิดร้านบุฟเฟ่ต์ นาทีนี้ใช่เลย!
Step by Step เปิดร้านบุฟเฟ่ต์ นาทีนี้ใช่เลย! ทำไมหลายคนชอบร้านอาหารสไตล์บุฟเฟ่ต์ นั้นเป็นเพราะทุกคนรู้สึกว่า คุ้มค่า กับราคาแบบเหมารายหัวที่คิดมากน้อยแตกต่างกันไปตั้งแต่ 299 399 ตามแต่รูปแบบของร้านบุฟเฟ่ต์อีกทั้งร้านบุฟเฟ่ต์ยังสามารถนั่งทานได้นานจึงกลายเป็นจุดนัดพบ จุดสังสรรค์ของเพื่อนที่ทำงาน ของคนในครอบครัว รวมถึงอาหารร้านบุฟเฟ่ต์มีให้เลือกหลากหลายรับประทานได้แบบไม่มีเบื่อ
อย่างไรก็ตามร้านอาหารสไตล์บุฟเฟ่ต์ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินทุนที่มากพอสมควร หลายคนบอกว่าเราสามารถเลือกเปิดร้านขนาดเล็กได้ แต่ในมุมมองของลูกค้าร้านที่ใหญ่ ของกินที่เยอะ บรรยากาศที่ดี ย่อมได้เปรียบกว่า ซึ่งแน่นอนว่า Foodcost ก็ต้องมากขึ้นด้วยเช่นกัน
www.ThaiSMEsCenter.com มีแนวทางในการเริ่มต้นสำหรับคนสนใจอยากเปิดร้านอาหารสไตล์บุฟเฟ่ต์มาฝากพร้อมเทคนิคการทำร้านให้มีกำไรได้มากขึ้น ใครที่สนใจสามารถใช้เป็นแนวทางในการเริ่มต้นทำธุรกิจได้
6 สิ่งที่ควรรู้และควรมีก่อนเปิดร้านบุฟเฟ่ต์
ภาพจาก https://goo.gl/xwKd7s
1.โฟกัสหารูปแบบของร้าน
ภาพจาก https://goo.gl/npQ8n1
เราต้องรู้ตัวเองก่อนว่าร้านบุฟเฟ่ต์ของเราจะขายสินค้าแบบไหน ที่เช่นส่วนใหญ่คือร้านปิ้งย่าง หมูกระทะ ซึ่งก็ต้องแยกอีกว่าจะเป็นแบบมีอาหารทะเลร่วมด้วยหรือไม่ อีกทั้งรูปแบบร้านจะมีขนาดแค่ไหน จะมีเครื่องดื่มอะไรบ้างภายในร้าน
โดยเราอาจจะหาข้อมูลจากร้านบุฟเฟ่ต์ที่เปิดดำเนินการแล้วด้วยการเข้าไปเป็นลูกค้าดูวิธีบริหารจัดการ ดูบรรยากาศร้าน ดูคุณภาพวัตถุดิบ เพื่อนำมาใช้กับรูปแบบร้านของเราเอง
2.เตรียมเงินทุนในการเปิดร้าน
ภาพจาก https://goo.gl/d5oxpn
เป็นเรื่องที่สำคัญมากเงินทุนเบื้องต้นในการเปิดร้านบุฟเฟ่ต์ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน วัตถุดิบภายในร้าน อย่างไรก็ตามมีรายจ่ายหลายส่วนที่ต้องคำนึงถึงทั้งค่าอุปกรณ์ภายในร้าน ค่าจ้างพนักงาน ค่าจดทะเบียนเปิดร้านในเชิงพาณิชย์ ค่าเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ภาษีป้ายและโรงเรือน เบ็ดเสร็จควรมีเงินหมุนเวียนสำหรับการเริ่มต้นน่าจะไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
3.หาทำเลและสถานที่
ภาพจาก https://goo.gl/vdcqh2
ทำเลเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายของธุรกิจแนวนี้ หากคิดเปิดร้านบุฟเฟ่ต์ต้องเลือกในแหล่งที่เป็นชุมชน ใกล้โรงเรียน โรงงาน สถานศึกษา หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งอาจต้องแลกกับค่าเช่าพื้นที่ในราคาสูงแต่ก็ดีกว่าการเลือกพื้นที่ซึ่งห่างไกลจากผู้คนไม่มีแหล่งชุมชนที่ได้ราคาค่าเช่าถูกลงแต่คงไม่มีใครดั้นด้นมาทานบุฟเฟ่ต์ในร้านที่ไม่ใช่ทางผ่านและไม่สะดวกสบายในการเดินทางเป็นแน่
4.ศึกษาวิธีทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพจาก https://goo.gl/Hq1hLH
ปัจจุบันผู้ที่ลงทุนเปิดร้านบุฟเฟ่ต์ประเภทต่างๆ ทั้งรายเล็ก รายใหญ่มีจำนวนมาก ไม่รวมกับแบรนด์เก่าที่อยู่มานานและเป็นผู้นำในวงการ ดังนั้นการแข่งขันในธุรกิจนี้เรื่องการตลาดจึงสำคัญมาก
เราต้องรู้จักประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์มาช่วยทำการตลาดที่นอกจากประหยัดต้นทุนและยังได้ผลดีกว่าการโฆษณารูปแบบอื่น อย่างไรก็ตาม การจะเลือกว่าใช้วิธีไหนหรือโฆษณาอย่างไรก็ต้องศึกษาวิธีการให้ดีรวมถึงเรื่องโปรโมชั่นที่น่าสนใจต่างๆด้วย
5.ต้องบริหารจัดการร้านให้เป็นมืออาชีพ
ภาพจาก https://goo.gl/PFrvAJ
การเปิดร้านบุฟเฟ่ต์มีหลายอย่างที่นักลงทุนต้องจัดการเนื่องด้วยการเป็นร้านที่มีวัตถุดิบหลากหลาย ต้องมีพนักงานเสิร์ฟ พนักงานล้างจาน ทำความสะอาด พนักงานคิดเงิน คนคอยโบกรถ รวมถึงการมีลูกค้ามากหน้าหลายตาและมีความต้องการที่หลากหลาย การจะเริ่มต้นทำธุรกิจนี้ได้เราจำเป็นต้องมีความเป็นมืออาชีพในการจัดการอย่างมาก
6.รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี
ร้านแบบบุฟเฟ่ต์มักมีปัญหามากมายโดยเฉพาะจากลูกค้าที่หลายคนก็หลายความคิด ปัญหาที่พบเจอส่วนใหญ่คือตักเยอะ ทานไม่หมด ลูกค้าเรื่องมากหาว่าวัตถุดิบไม่ดี ไม่พอ บริการไม่ดี หรือบางทีหากเราขายดีก็อาจมีการกลั่นแกล้งจากคู่แข่ง ซึ่งจะยิ่งทำให้เราปวดหัวกับปัญหามากขึ้นได้อีก ดังนั้นคิดจะทำร้านบุฟเฟ่ต์ก็ต้องเตรียมใจรับมือกับปัญหาเหล่านี้และวางแผนในการแก้ไขในเบื้องต้นไว้ด้วย
3วิธีทำกำไรให้ร้านบุฟเฟ่ต์
ภาพจาก https://goo.gl/tdFW6g
- ยิ่งขายมากต้นทุนยิ่งลดลง หากเราสั่งของมากขึ้นเราก็จะได้ส่วนลดมากขึ้น ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายของเราลดลง
- ของที่มีราคาแพงให้วางตำแหน่งที่ลึกที่สุด เพราะกว่าคนจะเดินไปถึงก็จะตักอย่างอื่นไปก่อนจนเกือบเต็มจาน จึงทำให้ตักของที่มีราคาแพงได้น้อย
- ทำกำไรจากเครื่องดื่ม เครื่องดื่มในร้านบุฟเฟต์จะตั้งราคาที่สูงกว่าปกติ เพราะเมื่อคนรับประทานอาหารร้อนๆ หรือรสชาติเผ็ดๆ ก็จะสั่งเครื่องดื่มมากขึ้น นั่นจึงทำให้ร้านแบบบุฟเฟต์สามารถทำกำไรได้จากเครื่องดื่มได้
3 ข้อควรระวังสำหรับการเปิดร้านบุฟเฟต์
ภาพจาก https://goo.gl/QHT1ST
1.ต้นทุนวัตถุดิบสูง
ภาพจาก https://goo.gl/XkebWd
ร้านบุฟเฟต์ส่วนใหญ่ มักจะมีต้นทุนวัตถุดิบที่มากกว่าร้านอาหารทั่วไปประมาณ 5-10% เนื่องจากเราจำกัดหรือควบคุมการกินของลูกค้าไม่ได้ ยิ่งลูกค้าจ่ายราคาแพงเท่าไร ก็ยิ่งต้องกินให้เยอะเพื่อจะได้รู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป นอกจากนี้ต้นทุนวัตถุดิบยังขึ้นราคาทุกปี ตรงข้ามกับราคาขายที่นานๆ ทีถึงจะปรับขึ้นได้ หากไม่มีการวางแผนจัดการที่ดีแล้ว อาจส่งผลให้ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุนก็เป็นได้
2.ไม่เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก
ภาพจาก https://goo.gl/vPrZie
การที่ร้านมีขนาดเล็ก จะทำให้รองรับลูกค้าได้น้อย ส่งผลให้กำไรน้อยตอนสิ้นเดือนซึ่งอาจไม่คุ้มกับรายจ่าย ดังนั้นธุรกิจนี้พื้นที่ขนาดใหญ่จึงจำเป็นมาก
3.ควบคุมวัตถุดิบลำบาก
ภาพจาก https://goo.gl/8Pk9WR
ส่วนใหญ่ลูกค้ามักจะมาที่ร้านด้วยความหิวและจะตักเฉพาะสิ่งที่ตัวเองชอบ หากไม่มีการวางแผนให้ดีวัตถุดิบอาจไม่เพียงพอหรือบางทีอาจเหลือมากเกินไป รวมถึงการที่ลูกค้าตักวัตถุดิบมามากเกินไปกลายเป็นของเหลือที่เอาไปใช้ต่อไม่ได้ก็กลายมาเป็นต้นทุนของร้านที่เสียไปได้เช่นกัน
ร้านอาหารสไตล์บุฟเฟ่ต์แม้จะเป็นที่นิยมแต่ก็ใช่ว่าจะเลือกลงทุนได้ง่ายๆ คนที่ต้องการทำธุรกิจแนวนี้ต้องมีความพร้อมและมีประสบการณ์ในการทำร้านที่ดี แนะนำว่าควรมีหุ้นส่วนที่มีประสบการณ์ในการทำร้านร่วมด้วยจะช่วยได้มาก อีกทั้งการแข่งขันที่สูงเรื่องการตลาดก็สำคัญและต้องใส่ใจพอๆกับการบริการที่ต้องดีและสร้างความประทับใจให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง
สำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนในธุรกิจอาหาร มีแฟรนไชส์น่าสนใจให้เลือกลงทุนมากมาย ดูรายละเอียดที่ goo.gl/r52ugW
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hVxUly
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)