Step by step เปิดร้านขายเกี๊ยวทอด ต้องทำอย่างไร
บางคนมีทุนน้อย อยากเปิดร้านขายอะไรก็ได้แบบง่ายๆ แต่ขายดี ขอแนะนำว่าให้เปิดร้านพวกอาหารทานเล่นที่ใช้เงินลงทุนไม่สูง และถ้าจะให้เจาะจงว่าอะไรดี
www.ThaiSMEsCenter.com ขอแนะนำให้เริ่มจากการเปิดร้านขายเกี๊ยวทอด เพราะเชื่อเหลือเกินว่าเมนูนี้ใครๆ ก็รู้จัก ทำก็ง่าย ขายก็ดี สำคัญคือเรื่องของทำเล โดยทั่วไปเกี๊ยวทอดที่เราเห็นในตลาดจะขาย 7 ชิ้น 20 บาท
เสน่ห์ของเกี๊ยวทอดคือมีการใส่ไส้ให้น่าสนใจทั้งหมูสับ , ไส้กรอก , ปูอัด เป็นต้น สำหรับใครที่กำลังมองหาโอกาสและช่องทางในการสร้างอาชีพลองมาดูขั้นตอนของการเปิดร้านขายเกี๊ยวทอดว่ามีอะไรบ้าง
เงินทุนเริ่มต้นสำหรับเปิดร้านประมาณ 2,000 บาท
ภาพจาก bit.ly/3mQhFfr
การเปิดร้านขายเกี๊ยวทอด สิ่งแรกที่เราต้องมีคือความตั้งใจที่จะทำจริงๆ ถ้ามั่นใจว่าอยากทำแน่ๆ ก็ให้เลือกทำเลการขายที่ดี หากไม่อยากเสียค่าเช่าที่ และมีบ้านอยู่ในย่านชุมชนก็ถือว่าได้เปรียบ หรือบางคนอาจไปตั้งโต๊ะขายตามตลาดนัด หน้าโรงเรียน โรงงานต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเปิดร้านก็ไม่ยุ่งยากเบื้องต้นได้แก่
- หม้อหรือกระทะสำหรับทอด ราคาประมาณ 100-200 บาท ขึ้นอยู่กับวัสดุและขนาด
- แก๊ส+เตา ราคาของใหม่ประมาณ 1,800 – 2,000 บาท แต่อาจนำของที่มีอยู่แล้วมาใช้ได้เพื่อลดต้นทุน
- ที่ตักสำหรับพักของทอด ราคาประมาณ 70 บาท ขึ้นอยู่กับวัสดุและขนาด
- ไม้เสียบลูกชิ้น ราคาประมาณ 15-20 บาท (แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่)
- ถุงร้อน ราคาประมาณ 35-40 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ
- ถุงพลาสติก ราคาประมาณ 8-10 บาท ขึ้นอยู่กับความหนา ขนาด และยี่ห้อ
รวมเงินทุนเบื้องต้นประมาณ 1,000 – 2,000 บาท (ยังไม่รวมรถเข็น) ก็สามารถเปิดร้านได้เลยทันที
ข้อดีของ “เกี๊ยวทอด” ที่เหมาะสำหรับสร้างอาชีพ
- เป็นอาชีพที่ลงทุนไม่มาก วัตถุดิบหาง่าย สามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วมาใช้ได้
- เป็นสินค้าขายง่าย ขายดี ราคาไม่แพง เป็นเมนูทานเล่นที่ขายตอนไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งทำเลดียิ่งขายดี
- กำไรจากการลงทุนค่อนข้างดีหากไม่มีปัจจัยเรื่องค่าเช่าพื้นที่แพงเกินไปจะยิ่งได้กำไรมากขึ้น
- เป็นสินค้าที่สามารถขายร่วมกับสินค้าอื่นๆ เพิ่มรายได้ให้กับผู้ลงทุนได้อย่างดี
- ไม่ต้องมีประสบการณ์ ขอแค่ขยันและตั้งใจอยากทำจริงก็สามารถเริ่มธุรกิจได้เลย
- ถ้ารู้จักพลิกแพลงต่อยอดนำไอเดียใหม่ๆ มาใช้กับการขาย อาจกลายเป็นธุรกิจที่ขยายตัวได้มากขึ้น
- วัตถุดิบที่ใช้ในการขายสามารถหาซื้อได้ทั่วไป
ต้นทุน-กำไร จากการเปิดร้านขายเกี๊ยวทอด
ต้นทุนอย่างแรกคือวัตถุดิบที่จำเป็นต้องมี เช่น แผ่นเกี๊ยว , ไส้สำหรับห่อ เช่น หมูสับ , ไส้กรอก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าแก๊ส , ค่าน้ำมันสำหรับทอด , ค่าอุปกรณ์จิปาถะ เบ็ดเสร็จต้นทุนต่อ 1 ชุด ประมาณ 11 บาท ส่วนใหญ่การตั้งราคาขายเริ่มที่ 7 ชิ้น 20 บาท กำไรต่อชุดประมาณ 9 บาท นั่นหมายความว่ากำไรจะมากจะน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละวันเราสามารถขายสินค้าได้มากแค่ไหน ถ้าคิดที่วันละ 50 ชุด เรามีกำไรประมาณ 442 บาท แต่ถ้าขายได้ 100 ชุดกำไรก็จะเพิ่มเป็น 884 บาท เป็นต้น
ซึ่งแม่ค้าส่วนใหญ่ก็มีวิธีเพิ่มยอดขายด้วยการขายเกี๊ยวทอดคู่กับสินค้าอื่นๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า เช่นลูกชิ้นทอด ไส้กรอกทอด ไก่ทอด หมูทอด เป็นต้น แน่นอนว่าการเพิ่มสินค้ามากขึ้นก็ต้องเพิ่มต้นทุนมากขึ้นเช่นกัน แต่ก็แลกกับยอดขายที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้มีกำไรได้มากขึ้นด้วย
เคล็ดลับในการทอดเกี๊ยวให้เหลืองกรอบ ไม่อมน้ำมัน สมัยนี้คนส่วนใหญ่หันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น ข้อเสียของเกี๊ยวทอดหลายคนมองว่าอมน้ำมัน บางคนใช้ไฟแรงเกินไปเกี๊ยวแทนที่จะเหลืองกรอบก็ไหม้ดำ ดูไม่น่ากิน จึงเป็นหน้าที่ของพ่อค้าแม้ค้าที่ต้องหาเคล็ดลับในการทอดเพื่อให้เกี๊ยวเหลืองกรอบ ไม่อมน้ำมัน เพื่อให้ดูน่ากินและจะได้ขายง่ายมากขึ้น
ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าทอดเกี๊ยวไม่อร่อยเพราะยี่ห้อเกี๊ยวที่ซื้อมาไม่ดีแต่ที่จริง เราอาจลืมขั้นตอนสำคัญเพราะก่อนจะทอดเราต้องเคาะเอาแป้งที่เคลือบอยู่บนตัวเกี๊ยวออกให้ได้มากที่สุด เพราะถ้าติดลงไปทอดในปริมาณที่มากจะทำให้เกี๊ยวของเรามีรสชาติขม
ส่วนวิธีทอดให้เหลืองกรอบนะนำให้ใช้น้ำมันปาล์ม ตั้งน้ำมันให้เดือดก่อน แล้วลดไฟให้ร้อนแค่ปานกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกี๊ยวไหม้ จากนั้นใส่เกี๊ยวลงไปทอด ใช้ตะเกียบพลิกเกี๊ยวไปมา เมื่อเกี๊ยวเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มให้รีบตักขึ้น เกี๊ยวที่ตักขึ้นมาสีจะเข้มกว่าตอนที่อยู่ในน้ำมัน ต้องสังเกตดีๆ หากเข้มมากตอนอยู่ในกระทะ ตักมาอาจจะไหม้เกรียมได้
แต่ใครคิดจะเปิดร้านขายเกี๊ยวทอดให้เตรียมใจไว้ก่อนเลยว่าเราจะเจอคู่แข่งจำนวนมาก และสินค้าที่ดูง่ายๆ นี้ลูกค้าส่วนใหญ่ก็คิดว่าซื้อจากร้านไหนรสชาติก็ไม่ต่างกัน ดังนั้นโจทย์ของพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องทำคือพยายามสื่อสารให้ลูกค้ารู้ว่า เกี๊ยวทอดของร้านเราดีกว่าคนอื่นอย่างไร และทำไมลูกค้าควรซื้อเกี๊ยวทอดจากร้านของเรา
และที่สำคัญคือควรเพิ่มเสน่ห์ให้กับร้านค้ามีการจัดร้านที่ดี มีบริการที่ดี มีสินค้าที่สะอาดและหลากหลาย หรือหากใส่ไอเดียในการทำธุรกิจ รู้จักใช้กลยุทธ์การตลาดเข้าร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มกำไรจากการเปิดร้านได้มากขึ้น
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3GP2VW5
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)