Step by Step ข้อควรรู้ก่อนทำ ธุรกิจหอพัก หรืออพาร์ทเมนท์ให้เช่า
เรื่องของที่อยู่อาศัยยังเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆในชีวิตของคนเรา ยิ่งในรูปแบบสังคมคนเมืองด้วยแล้วบางทีเรื่องของ Step by Step ข้อควรรู้ก่อนทำ ธุรกิจหอพัก อพาร์ทเมนท์น่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายได้เป็นอันดับแรก
เมื่อความต้องการส่วนนี้มีสูงมาก ธุรกิจนี้จึงโตวันโตคืน และน่าจะเป็นธุรกิจที่มองดูแล้วมีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ที่ทำเล การบริหารจัดการ ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี นี่คือธุรกิจที่เติบโตสดใสแม้ภาวะเศรษฐกิจทั่วไปจะไม่ค่อยดีนักก็ตาม
www.ThaiSMEsCenter.com ก็มองเห็นความสำคัญของการทำธุรกิจนี้และคิดว่าคนที่ต้องการอยากรู้ลำดับขั้นของการเริ่มต้นธุรกิจนี้ว่าหากคิดจะทำจริงจังจะต้องเริ่มต้นกันอย่างไร แน่นอนว่าความพร้อมเรื่องเงินคือสิ่งสำคัญแต่รายละเอียดที่นอกเหนือจากนั้นก็จำเป็นโดยเฉพาะกลยุทธ์ต่างๆ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจกันอย่างถ่องแท้เลยทีเดียว
ต้องเข้าใจความหมายของอพาร์ทเมนท์กับหอพักกันก่อน
อพาร์ทเมนท์คืออาคารที่พักอาศัยที่ผู้อยู่อาศัยต้องเช่าพักเอาเองเท่านั้น โดยกรรมสิทธิ์ทั้งผืนดินและทั้งอาคารนั้นเป็นของเจ้าของคนเดียวและต้องจดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล อพาร์ทเมนท์จะมีหลายเกรดให้เลือกส่วนมากค่าเช่าจะแพงกว่าหอพักพอสมควร
หอพักนั้น มีลักษณะคล้ายอพาร์ทเมนท์มาก แต่ก็มีข้อที่แตกต่างคือส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะของการให้นักศึกษาเข้าอยู่ตามกฏหมายจะเรียกว่าหอพักได้ต้องมีนักศึกษาอยู่อาศัยตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หอพักไม่จำเป็นต้องเป็นตึกเท่านั้น อาจจะเป็นห้องแถวธรรมดาทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่งบก่อสร้างและความกว้างของที่ดินเป็นหลัก
สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ก่อนเปิดธุรกิจอพาร์ทเมนท์
1.ต้องดูว่าพื้นที่จะก่อสร้างอยู่ในย่านใด การก่อสร้างก็ต้องสามารถกำหนดกลุ่มลูกค้าได้ว่าจะเน้นที่กลุ่มไหนเป็นหลัก เพื่อให้กำหนดต้นทุนในการก่อสร้างหรือการออกแบบภายในให้เหมาะสม เพื่อจะได้กำหนดราคาการเช่าที่ทำให้กลุ่มลูกค้าหันมาสนใจ
2.มองดูคู่แข่งในย่านนั้นๆเพื่อหาจุดแตกต่างในการก่อสร้างให้โดดเด่นกว่า การรู้ข้อมูลของเจ้าของธุรกิจรายอื่นๆที่เปิดมาก่อนทำให้ผู้ลงทุนสามารถเอาสิ่งที่ยังขาดมาเพิ่มเติมหรือทำสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิมก็ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดเบื้องต้นที่สำคัญมาก
3.ต้องเรียนรู้เรื่องกฏหมายที่สำคัญและจำเป็นเพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมาภายหลังซึ่งมีหลายอย่างที่มาเกี่ยวข้องเช่น
- พรบ.ผังเมือง ต้องดูว่าพื้นที่เรานั้นอยู่ในโซนสีอะไรสามารถก่อสร้างได้หรือไม่
- พรบ.ควบคุมอาคาร เกี่ยวกับการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบที่ทางกฎหมายกำหนด
- พรบ.สิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นอพาร์ทเมนท์ที่มีขนาดมากกว่า 80 ห้อง ต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนเปิดใช้อาคารด้วย
4.วางแผนการเสียภาษีรายปีให้ดีโดยในแต่ละปีอพาร์ทเมนท์ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาทั้งแบบสิ้นปีและกลางปี ภาษีโรงเรือน (อัตรา 12.5%) ภาษีป้าย ทั้งนี้ผู้ลงทุนอาจจะขอความรู้จากผู้มีประสบการณ์ว่าภาษีแต่ละอย่างนั้นจะมีวิธีบริหารจัดการอย่างไรได้บ้างเพื่อให้ไม่ต้องแบกภาระตรงนี้มากและให้เป็นไปตามกฏหมายอย่างถูกต้องด้วย
ต้นทุนสำหรับการก่อสร้าง
เงินทุนสำหรับการก่อสร้างนั้นมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงสร้างและการออกแบบซึ่งเงินทุนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เงินทุนส่วนตัว และเงินทุนจากสถาบันการเงิน
เนื่องจากผู้ลงทุนไม่สามารถใช้เงินจากแหล่งสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียวได้เพราะการปล่อยเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 80 % เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีทุนสำรองเพื่อให้การก่อสร้างเดินหน้าต่อเนื่องเพราะยิ่งก่อสร้างล่าช้าก็เท่ากับว่ารายได้ที่จะตามมานั้นล่าช้าไปด้วย
และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการบริหารก็จะมีค่าใช้จ่ายอีกหลายรายการเช่นค่าพนักงาน ค่าทำบัญชี ค่าการประชาสัมพันธ์ ค่าใช้จ่ายส่วนกลางพวกค่าน้ำค่าไฟค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
รายรับและระยะเวลาคืนทุน
จากที่ทีมงานเราลองสอบถามผู้ประกอบการรายหนึ่งให้ข้อมูลตัวเลขว่ามีการลงทุนก่อสร้างไปกว่า 24 ล้านบาท เป็นการซื้อที่ดินใหม่ 7.3 ล้านบาท และเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอีกกว่า 15.71 ล้านบาท ที่เหลือก็เป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ ที่ตามมา ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จได้ห้องพักจำนวน 48 ห้อง คิดอัตราเฉลี่ยค่าห้องประมาณ 4,500 บาท/เดือน
มีคนเข้าพักแล้วประมาณ 90 % ทำให้มีรายได้ต่อปีจากค่าเช่าประมาณ 2.33 ล้านบาท และมีรายได้อื่นๆอีกเช่นค่าตู้น้ำหยอดเหรียญ ค่าบริการซักผ้า ฯลฯ รายได้พิเศษนี้อีกประมาณ 1 ล้านบาท/ปี เมื่อหักรายจ่ายที่เป็นส่วนกลางออกแล้วยังคงเหลือรายรับสุทธิอีกประมาณ 2.10 ล้านบาท/ปี
นั้นหมายความว่าต้นทุน 24 ล้านบาทจะสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีเป็นอย่างน้อย แต่ก็มีข้อดีว่านี่คือธุรกิจสำหรับครอบครัวที่สิ่งปลูกสร้างยังประเมินราคาเป็นตัวเงินได้และยิ่งอยู่นานก็จะมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดอีกด้วย
ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจหอพักหรืออพาร์ทเมนท์ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จด้วยดีคือต้องสร้างความพึงพอใจให้กับผู้มาใช้บริการได้อย่างสูงสุด ไม่นับรวมเรื่องทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นโจทย์แรกๆที่ต้องคิดถึงแต่เมื่อเปิดกิจการแล้วควรทำให้ผู้เช่ารู้สึกถึงความปลอดภัยเช่นการใช้ Key card ในการเข้าออก
นอกจากนี้ความสะอาด ความเป็นส่วนตัว การบริการที่รวดเร็วทันใจเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือการทำนุบำรุงให้ส่วนกลางมีความทันสมัย สะอาด สีสันตัวตึกไม่จืดจาง ก็ยิ่งเป็นการดึงดูดใจให้คนเช่าอยากอยู่ต่อ และคนที่มองหาห้องเช่ารายใหม่อยากเดินเข้ามาหาหอพักหรือ อพาร์ทเมนท์ของเรามากยิ่งขึ้น
ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะหรือมีความพร้อมมากพอที่จะทำธุรกิจหอพักหรืออพาร์เมนท์ให้เช่าได้หรือไม่มาลองหาคำตอบกับแบบทดสอบความพร้อมธุรกิจหอพักหรืออพาร์ทเมนท์เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนลงมือทำกันต่อไป แบบทดสอบความพร้อม ธุรกิจหอพักให้เช่า
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/354ts19
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)