SOP คัมภีร์มาตรฐานร้าน ทำเหอะ ถ้าอยากโต!

เจ้าของร้านอาหารหลายๆ คนน่าจะรู้จัก SOP (Standard Operating Procedure) กันเป็นอย่างดี ถือเป็นคัมภีร์หรือคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานในร้าน รวมถึงผู้จัดการร้าน ที่ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จทั่วโลกให้ความสำคัญ ทุกคนในร้านสามารถทำแทนกันได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพ่อครัวคนเดียวก็ขายได้ เจ้าของร้านมีอิสระไม่ต้องเฝ้าอยู่กับร้านทั้งวัน มาดูกันว่า SOP คัมภีร์มาตรฐานร้าน ที่ร้านอาหารจำเป็นต้องมี ต้องมีในส่วนไหนบ้าง

SOP คัมภีร์มาตรฐานร้าน

1.คู่มือพนักงาน

  • กฎระเบียบต่างๆ ในการเป็นพนักงาน หรือลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมจากเจ้าของร้าน
  • กฎระเบียบการทำงาน และเข้า-ออกงาน
  • ข้อควรรู้และวิธีการทำงานในร้าน เช่น การจัดเก็บวัตถุดิบ ความปลอดภัย สุขอนามัยในร้าน จัดเก็บโต๊ะเก้าอี้ เช็ดโต๊ะ เก็บจาน

SOP คัมภีร์มาตรฐานร้าน

2.คู่มือการบริการ

  • การต้อนรับทักทายลูกค้า เช่น สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ ทานกี่ที่ มากี่คน
  • การรับออเดอร์ นำเมนูไปให้ลูกค้าต้องทำอย่างไรบ้าง
  • วิธีการเสิร์ฟ การเก็บจาน และการบริการระหว่างลูกค้าทานอาหาร
  • การเช็คบิลและการส่งลูกค้ากลับ

SOP คัมภีร์มาตรฐานร้าน

3.การทำอาหารและเครื่องดื่ม

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารแต่ละเมนู การเตรียมอุปกรณ์
  • วัตถุดิบ เครื่องปรุง อัตราส่วนผสมเท่าไหร่ในแต่ละเมนู
  • ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ ปริมาณแค่ไหน เครื่องปรุงอะไรบ้าง
  • ขั้นตอนและวิธีการการทำเมนูอาหารและปรุงรสชาติแต่ละเมนู
  • วิธีการตกแต่งอาหาร การตักใส่ถ้วย ใส่จาน เมนูไหนใส่ภาชนะอันไหน

4.เครื่องมือและอุปกรณ์

  • วิธีการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในร้าน และครัว
  • วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์
  • วิธีการจัดเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือ
  • วิธีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือ

5.หน้าที่ของแต่ละคน แต่ละแผนก

  • การเปิด-ปิดร้าน เป็นหน้าที่ของใคร แผนกไหน
  • การทำความสะอาดร้านช่วงเปิดร้าน เช็ดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ
  • การจัดเตรียมสินค้า หรือวัตถุดิบในวันถัดไป
  • การเช็คสต็อกวัตถุดิบ สั่งซื้อสินค้า
  • การบริหารจัดการเงิน รับชำระในร้าน
  • การบริหารร้าน ดูแลพนักงาน

ข้อดีของการมี SOP

SOP คัมภีร์มาตรฐานร้าน

  1. งานในร้านไม่สะดุด แม้พ่อครัวจะลา ไม่มาทำงาน ลูกน้องในครัวก็สามารถทำแทนได้ เพราะมีสูตรและขั้นตอนการทำอาหารบอกไว้อยู่แล้ว ทำให้รสชาติเหมือนเดิม ให้บริการลูกค้าต่อไปได้ ไม่ต้องปิดร้าน
  2. ลดเวลาการอบรมพนักงาน พนักงานเข้ามาใหม่สามารถอ่านทำความเข้าใจหน้าที่ของตัวเองในคู่มือ SOP ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกอบรม หรือให้คนมาสอนงาน
  3. ควบคุมต้นทุนได้ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบ เพราะใน SOP มีสูตรและขั้นตอนการทำอาหารที่เป็นมาตรฐาน บอกส่วนผสม อัตราส่วนการปรุงต่างๆ ปริมาณการใส่วัตถุดิบไว้อย่างละเอียด ลดการสูญเสียวัตถุดิบเหลือทิ้ง
  4. เป็นมาตรฐานเดียวกัน ร้านอาหารที่มีหลายสาขา ถ้ามี SOP จะช่วยให้มีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร การบริการลูกค้า ไม่ว่าจะไปสาขาไหนก็จะได้รับบริการแบบเดียวกัน สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า

สรุปก็คือ SOP ช่วยให้ร้านอาหารมีมาตรฐานเดียวกันทุกวัน ทุกสาขา พ่อครัวใหญ่ไม่มา งานในครัวก็ไม่สะดุด มีลูกทีมในครัวทำอาหารแทน รสชาติไม่ผิดเพี้ยน เพราะมีสูตรส่วนผสมบอกไว้ชัดเจน เจ้าของร้านมีอิสระไม่ต้องนั่งเฝ้าร้านทั้งวัน

อ้างอิงข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช