Social Media Marketing for Franchise Business
ในยุคนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า “Social Media Marketing” มีผลต่อการทำธุรกิจอย่างมาก ถ้าใครยังจมปลักอยู่กับอดีตเมื่อสัก 20-30 ปีก่อน ที่อยู่ในยุค Analog ซึ่งไม่มีความซับซ้อนการติดต่อสื่อสารหลักคือการพบหน้า และโทรศัพท์มือถือเป็นแบบสัญญาณวิทยุส่งคลื่นเสียง สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น
หากผู้บริโภคต้องการข้อมูลหรือจะซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ต้องติดต่อสอบถามและพูดคุยกับพนักงานเรื่องสินค้าและบริการโดยตรง ณ ร้านค้า หรือสถานที่ให้บริการนั้นๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งพนักงานถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือในการให้ข้อมูลที่สุด
ภาพรวมการใช้งาน “Social Media” ในปัจจุบัน?
ทุกวันนี้ Social Media คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนมากที่สุด จะเห็นว่าตื่นเช้ามาสิ่งแรกที่หยิบจับคือ “โทรศัพท์” ที่สามารถเป็นได้ทุกอย่างในเครื่องเดียว ซึ่งตัวเลขที่น่าสนใจระบุชัดว่า
- คนไทยกว่า 71.75 ล้านคน มีผู้เข้าถึง Internet มากถึง 61.21 ล้านคน หรือมากถึง 85.3% ของประชากร
- คนไทยใช้อินเตอร์เนตต่อวันเฉลี่ยมากถึง 8 ชั่วโมง 6 นาที ซึ่งนิยมใช้งานผ่านมือถือโดยเฉลี่ยการใช้งานที่ 5 ชั่วโมง
- คนไทยใช้ Social Media มากถึง 52.25 ล้าน ซึ่งมีสัดส่วน 72.8% และสำหรับกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ในสัดส่วนการใช้งานสูงถึง 84.8%
TOP 5 กิจกรรมยอดฮิตบนโลกออนไลน์ของคนไทยมีอะไรบ้าง?
- ค้นหาข้อมูล 64.69%
- ติดตามข่าวสาร 58.1%
- ดูหนัง รายการ วิดีโอ 54.8%
- ค้นหาไอเดียใหม่ๆ 54.4%
- ค้นหา How To 50.6%
ถ้าแยกย่อยลงไปอีกจะพบว่าสื่อ Social Media ที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุด คือ Facebook 91% ตามมาด้วย LINE 90.7% , TikTok 78.2% , Instagram 66.4% และ Twitter (เปลี่ยนชื่อเป็น X) 51.2%
หัวใจหลักของ Social Media คือ “ข้อความที่ใช่ ไปหาคนที่ใช่”
Social Media ถ้าทำอย่างถูกต้องจะสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจมาก ดังจะเห็นว่าสินค้าหลายแบรนด์ที่เปิดตัวใหม่ ไม่มีเงินทุนด้านการตลาดก็อาศัย Social Media ในการนำเสนอซึ่งมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับไอเดียยิ่งถ้าสร้างกระแสให้คนพูดถึงได้มาก แบรนด์จะยิ่งเป็นที่รู้จักได้เร็วมากขึ้น ซึ่งข้อดีของการทำ Social Media Marketing ได้แก่
1. เป็นช่องทางให้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มไหนบน Social Media ก็สามารถใช้ช่องทางพวกนี้ในการศึกษา ทำความเข้าใจ และเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า ด้วยการสังเกตพฤติกรรมจากการกระทำ เช่น การไลค์ การแชร์ และการแสดงความคิดเห็น และในแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีฟีเจอร์ที่คอยช่วยเหลือในการวิเคราะห์ข้อมูล และนอกจากนี้ยังมีรูปแบบข้อมูลเชิงลึกด้วย
2.ช่วยให้วิเคราะห์คู่แข่งผ่าน Social Media Marketing ได้
เพราะธุรกิจยุคนี้ต่างต้องทำ Social Media Marketing เหมือนกัน ซึ่งแน่นอนว่าการได้รู้ ได้เห็น ได้ติดตามการเคลื่อนไหวของแบรนด์คู่แข่ง ทำให้รู้ว่าตอนนี้เขาคิดอะไร ทำอะไร เพื่ออะไร ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เรานำข้อมูลมาวิเคราะห์และสร้างความแตกต่างให้แบรนด์เราดูน่าสนใจได้มากขึ้น ดังนั้นการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ด้าน Social Media Marketing จึงสูงมากในยุคนี้
3.สามารถสร้าง Brand Awareness ได้
วิธีการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ (Brand Awareness) ยุคนี้สำคัญมากและไม่มีช่องทางไหนจะสื่อสารได้รวดเร็วเข้าถึงกลุ่มลูกค้าดีกว่า Social Media ซึ่งมีตัวอย่างหลายแบรนด์ที่ใช้ Social Media ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างกระแส ถึงขนาดที่คนฮิตและพูดถึง แต่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือคุณภาพสินค้าและบริการที่ต้องดีพอให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการซ้ำในอนาคตด้วย
4.ช่วยสร้าง Engagement ระหว่างแบรนด์และลูกค้า
ในยุคที่การแข่งขันดุเดือด ลูกค้ามีสิทธิ์จะเลือกสินค้าและบริการจากที่ไหนก็ได้ คำถามคือเราควรทำอย่างไรให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกใช้สินค้าหรือบริการของเรา คำตอบก็คือการสร้าง Engagement ระหว่างแบรนด์และลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ไลค์ คอมเมนต์ แชร์ โพสต์ต่างๆล้วนแต่เป็นเรื่องดีในการสร้งความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า สามารถรับรู้ได้ว่าลูกค้าชอบอะไรไม่ชอบอะไร เพื่อให้เราสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากขึ้น
5.เพิ่ม Leads และ Conversion
การทำ Social Media Marketing จะสามารถช่วยให้กลุ่มเป้าหมายกลายมาเป็นลูกค้าได้ สามารถดึงดูดผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมโซเชียลมีเดียของเรา และแบรนด์สามารถดึงดูดคนเหล่านี้ได้ด้วยคอนเทนต์ทั่วๆไป หรือคอนเทนต์โฆษณาก็ได้เช่นกัน ยิ่งมีคนรู้จักมีคนเข้าดู ก็หมายถึงแบรนด์ของเราเป็นที่พบเห็นมากขึ้น โอกาสในการขายก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ทำ Social Media Marketing อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทั่วไปหรือการทำธุรกิจแบบแฟรนไชส์ก็ล้วนต้องพึ่ง Social Media Marketing เป็นหลัก ถึงขนาดที่ว่าคือตัวชี้วัดความสำเร็จได้เลยทีเดียว แต่คำถามคือทุกวันนี้มีรูปแบบในการทำตลาด Social Media มากมาย ต้องเริ่มต้นแบบไหนหรือทำอย่างไรธุรกิจจึงจะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
1.ตั้งเป้าหมายในการทำการตลาดบนโซเชี่ยลมีเดีย
มีการวิจัยที่พบว่า 30% ของธุรกิจที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จคือการมีเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่แรกและต้องวัดผลได้ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของการตั้งเป้าหมายคือต้องเฉพาะเจาะจง ทำได้ในความเป็นจริงและสามารถตรวจสอบได้ว่าเป้าหมายที่ตั้งขึ้นนี้สามารถวัดผลได้ในทุกขั้นตอน ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจทำตลาด Social Media ใดๆ ต้องรู้ตัวเองก่อนว่าต้องการผลแบบใดในระยะเวลาแค่ไหน อาจตั้งเป้าแบบขั้นบันไดไว้ก็ได้
2.ศึกษากลุ่มเป้าหมายเชิงลึก
ถ้าจะทำการตลาดให้สำเร็จสิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือการศึกษากลุ่มเป้าหมายของตัวเองเชิงลึกในด้านต่าง ๆ ต้องเข้าใจพวกต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคิดแบบไหน ชอบอะไรหรือต้องการอะไร เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ต่อว่าแบรนด์จะทำการตลาดแบบไหนเพื่อให้รู้ว่าแบรนด์สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นของกลุ่มเป้าหมายได้ ก็มีหลายวิธีที่ทำได้เช่น การติดตามโซเชี่ยลที่กลุ่มเป้าหมายอยู่ หรือการเข้าไปดูความคิดเห็นหรือรีวิวทั้ังหมดบนโซเชี่ยลมีเดีย เป็นต้น
3.กำหนดทิศทางของ Content แต่ละช่องทาง
โซเชี่ยลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มมีผู้บริโภคที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการกำหนดทิศทางของคอนเทนต์ที่จะทำคือสิ่งที่ถูกต้อง อย่าคิดว่าโพสต์เนื้อหาแบบเดียวกันทุกช่องทางขอแค่ให้มีการ Active ก็พอ เป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ เช่น
- Facebook ผู้บริโภคที่ใช้งานมีหลากหลายอาชีพและวัย คอนนเทนต์ที่เหมาะอาจเป็นไลฟ์สไตล์ ข่าว หรือสร้าง Group ไว้เชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมาย
- Instagram แพลตฟอร์มรูปภาพ คอนเทนต์ในช่องทางนี้อาจจะเน้นไปที่โปรโมตสินค้าเป็นหลัก รูปภาพต้องสวยงามเพื่อดึงดูดผู้บริโภค
หรือที่มาแรงที่สุดตอนนี้อย่าง TikTok ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการโพสต์คลิปสั้นๆ ที่เนื้อหาดึงดูดน่าสนใจ ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างไอเดียในการนำเสนอ หรือการสร้างแคมเปญที่ช่วยกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายได้มาก ยกตัวอย่าง
Pepsi กับแคมเปญ#ThatsWhatILike ที่เชิญทุกคนร่วมสนุกไปกับการเปิดกระป๋อง Pepsi พร้อมแดนซ์ไปกับเพลงสุดมันส์ในแบบฉบับของตัวเอง จนสร้างยอดวิวได้มากถึง 13.4 พันล้าน หรือ #LetsFaceIt สอนวิธีการแต่งหน้าให้สวยแม้ในวันที่ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย เพื่อบอกว่าความงามของทุกคนไม่ได้ถูกบดบังไปแม้ต้องสวมหน้ากากอนามัย จนสร้างยอดวิวได้มากถึง 16.8 พันล้าน เป็นต้น
4.เปิดทางด้วย Activity สร้างการมีส่วนร่วมที่ทรงพลัง
การ Activity สนุก ๆ บนโซเชี่ยลมีเดีย เช่น ลุ้นรับของรางวัลพิเศษของแบรนด์ กระตุ้นให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ สร้างการรับรู้ เพิ่มการมองเห็นหรือเพิ่มจำนวนผู้ติดตามเพจของแบรนด์ โดยตั้งกฎกติกา วิธีการเข้าร่วมกิจกรรมให้เข้าใจชัดเจนด้วย เริ่มตอนไหน-จบตรงไหน จะได้ไม่ต้องมีปัญหาตามมาทีหลัง
5.กำหนดคอนเซปต์ภาพให้ไปในทิศทางเดียวกัน
ภาพถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำการตลาดบนสื่อโซเชี่ยลมีเดียเลยก็ว่าได้ แต่ทั้งนี้เราจำเป็นจะต้องศึกษาความสนใจการออกแบบดีไซน์ภาพที่ถูกใจผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ใช้ภาพที่สามารถดึงดูดใจได้ และอย่าลืมกำหนดคอนเซปต์ภาพของแบรนด์ให้ไปในทิศทางเดียว เพื่อตอกย้ำเป็นภาพจำให้ผู้บริโภคว่านี่คือแบรนด์อะไร ซึ่งประเภทของรูปภาพอาจจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่โซเชี่ยลมีเดียละแพลตฟอร์ม อีกปัจจัยสำคัญคือหมั่นอัปเดตไซซ์รูปภาพของทุกแพลตฟอร์มอยู่เสมอ
6.ตั้งเวลาการโพสต์คอนเทนต์แต่ละประเภท
การเผยแพร่คอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ตรงกับความสนใจของผู้คนในช่วงเวลานั้น เพื่อช่วยให้การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคกับ
แบรนด์มากและดีขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพในการเผยแพร่คอนเทนต์ในช่วงนั้นด้วย เช่น ช่วงเวลาเช้าที่คนกำลังเดินทางไปทำงาน แบรนด์อาจจะเผยแพร่คอนเทนต์ที่เนื้อหาไม่หนักจนเกินไปอย่างเช่น การอัพเดทข่าวสาร โปรโมชัน เป็นต้น
7.คอนเทนต์ที่สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์
ในการทำการตลาดบนสื่อโซเชี่ยล สิ่งที่ควรมีคือการเผยแพร่คอนเทนต์ที่ช่วยสร้างแบรนด์ให้ดูมีคุณค่าหรือเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ มีการแสดงจุดยืนที่ดีไปยังสายตาของผู้บริโภค หรือคอนเทนต์ที่โชว์ให้เห็นระบบการทำงาน ถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงด้านดี เพิ่มความเชื่อมั่นและน่าเชื่อถือในตัวแบรนด์ได้
ตัวอย่างของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจาก Social Media Marketing
มีหลายแบรนด์ในยุคนี้ที่ใช้ Social Media Marketing แล้วได้ผลมาก บางแบรนด์อาจมีชื่อเสียงมาแล้วแต่ก็ยังเป็นที่สนใจหรือบางแบรนด์เปิดตัวใหม่ก็อาศัย Social Media Marketing ในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
1.สุกี้จินดา – สุกี้จินดา ที่สามารถปั้นธุรกิจ 13 สาขา ภายใน 3 ปี ใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงประสบการณ์ ลูกค้าแห่รีวิวในโซเซียลมีเดีย สามารถขยายธุรกิจได้ถึง 13 สาขา เป็นเจ้าของธุรกิจเอง 4 สาขา อีก 9 สาขาเป็นรูปแบบแฟรนไชส์
2.ตู้เต่าบิน – ที่มีจำตู้มากกว่า 800 ตู้ทั่วประเทศ และตั้งเป้าจะขยายถึง 20,000 ตู้ ภายใน 3 ปี เหตุผลที่โตเร็วแบบก้าวกระโดดเพราะ Social Media Marketing ไม่ว่าจะเป็นเพจรีวิวอาหารใน Facebook และ Instagram, ช่อง YouTube ที่ทำคอนเทนต์รีวิวเต่าบินและแฮชแทก #ตู้เต่าบิน ใน Twitter ที่ถูกพูดถึงกันเป็นอย่างมาก จึงได้ประโยชน์จาก eWOM (Electronic Word-of-mouth) หรือการบอกต่อ/รีวิว ผ่านทางโซเชียลมีเดีย จนเกิดเป็นกระแสออกไปตามหาตู้เต่าบิน
อย่างไรก็ดีการทำ Social Media Marketing ไม่ได้มีเทคนิคตายตัว สิ่งสำคัญคือแบรนด์ต้องปรับตัวตามกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเข้าถึงลูกค้าใน Social Media Marketing นั้นมีหลายวิธี สำหรับคนที่ไม่ถนัดจะทำการตลาดเองยุคนี้ยังสามารถจ้างบริษัทที่มีประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือในเรื่องเหล่านี้ได้ด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)