SOAR ในธุรกิจแฟรนไชส์

SOAR Analysis เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้ทดแทน SWOT Analysis ด้วยการวิเคราะห์จาก Strength (จุดแข็ง) Opportunity (โอกาส) Aspiration (เป้าหมาย) และ Result (ผลลัพธ์) ซึ่งมีความแตกต่างจาก SWOT Analysis ที่เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์เบื้องต้นขององค์กรจากปัจจัยภายในและภายนอก

แต่ไม่อาจระบุเป้าหมายหรือแนวทางในการดำเนินงานได้ ในขณะที่ SOAR Analysis ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างให้ผู้วิเคราะห์ หรือนักกลยุทธ์มองเห็นถึงภาพสุดท้าย หรือผลลัพธ์ของการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ SOAR ในธุรกิจ แฟรนไชส์ เพื่อเป็นการให้ความรู้และเป็นแนวทางให้ผู้สนใจอยากขายแฟรนไชส์ และผู้สนใจอยากลงทุนแฟรนไชส์ครับ

Strength (จุดแข็ง)

SOAR ในธุรกิจ

การวิเคราะห์หาจุดเด่นที่ทำได้ดีหรือปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างและสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบองค์กร สินค้าและบริการ หรือการทำงานของทีมงาน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงกว่าคู่แข่ง เงินทุนจำนวนมากสำหรับการลงทุนและขยายกิจการ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน และย่านผู้คนผ่านจำนวนมาก เป็นต้น

#จุดแข็งของธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น ขยายสาขาได้รวดเร็ว ทางลัดในการดำเนินธุรกิจ ความเสี่ยงต่ำ มีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน แบรนด์มีชื่อเสียง สินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของตลาด ขอสินเชื่อจากธนาคารได้ง่าย ฯลฯ

Opportunity (โอกาส)

34

โอกาสทางธุรกิจคือสิ่งที่ส่งผลดีต่อการดำเนินงาน การสร้างรายได้และการทำกำไรเพิ่มขึ้น หรือประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น โดยเป็นปัจจัยจากภายนอกที่เกิดขึ้นเอง และมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งโดยส่วนมากไม่ได้เกิดขึ้นตลอดไป แต่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น เทรนด์ของผู้บริโภค นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เป็นต้น

#โอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์มีการเติบโตต่อเนื่อง สร้างมูลค่าทางการตลาด 3 แสนล้านบาทต่อปี โดย รัฐบาลและภาคเอกชนให้การสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยขยายตลาดไปต่างประเทศ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมสร้างอาชีพด้วยธุรกิจแฟรนไชส์ให้คนตกงาน คนว่างงาน และคนอยากมีรายได้เพิ่ม

Aspiration (เป้าหมาย)

31

เปรียบเสมือนการวางเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าสุดท้ายแล้วอะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการ หรือเป็นสิ่งที่องค์กรนั้นจำเป็นต้องให้สำเร็จ สำหรับเตรียมพร้อมวางแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปอยู่เสมอ เช่น วางเป้าหมายขยายสาขาเพิ่ม 100 สาขา จากปัจจุบัน 80 สาขา ในปี 2564

#เป้าหมายของธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น การขยายแฟรนไชส์ออกไปต่างประเทศ การเพิ่มจำนวนสาขาแฟรนไชส์ในแต่ละปี การสร้างรายได้และยอดขายเพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างมาตรฐานคุณภาพในระบบแฟรนไชส์ เป็นต้น

Result (ผลลัพธ์)

32

เป็นสิ่งที่ต่อยอดมาจากเป้าหมายขององค์กร เพื่อใช้ในการวัดผลการดำเนินงาน ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่วัดเป็นตัวเลขหรือจับต้องได้ เช่น ระยะเวลาของการดำเนินงาน จำนวน Project หรือ Initiatives ที่ต้องทำให้สำเร็จต่อปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลัก เป็นต้น ซึ่งบางครั้งก็เป็นเหมือนกับการตรวจสอบอีกครั้งว่า เป้าหมายองค์กรที่ตั้งไว้ สามารถวัดผลได้จริงหรือไม่

#ผลลัพธ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น การตั้งเป้ายอดขาย100 ล้านบาทต่อปี จากเดิมที่ปีละ 80 ล้านบาท หรือ การขยายสาขาให้ได้ 50 สาขาต่อปี โดยวางเป้าหมายทำเลที่ตั้งนอกห้างสรรพสินค้า และปั้มน้ำมัน

ทั้งหมดเป็น SOAR ในธุรกิจ แฟรนไชส์ โดยธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่จะเปิดโอกาสในการสร้างอาชีพให้คนตกงานคนว่างงาน และคนอยากมีรายได้เพิ่ม ที่สำคัญยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการสร้างงานและผลักดันแฟรนไชส์ขยายตลาดไปต่างประเทศ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3eWtJ9E

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช