Shinkanzen Sushi จากซูชินักศึกษา สู่ธุรกิจอาหารพันล้าน
ถ้าพูดถึงร้านอาหารญี่ปุ่นสัญชาติไทย โดยเฉพาะร้านซูชิในห้างสรรพสินค้า ราคาสบายกระเป๋า เชื่อว่าแฟนซูชิน่าจะนึกถึง Shinkanzen Sushi เป็นแบรนด์แรกๆ ปัจจุบันมี 56 สาขา มีเป้าหมายขยายครอบคลุมทุกจังหวัด ถือเป็นเชนร้านอาหารที่บริษัทเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ ซีอาร์จี (CRG) กระโดดร่วมลงทุนในสัดส่วน 51%
Shinkanzen Sushi มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างไร ทำไมอยู่รอดและเติบโตมีรายได้พันล้านบาท ท่ามกลางร้านอาหารญี่ปุ่นมากมายในประเทศไทย มาดูกัน
จุดเริ่มต้น Shinkanzen Sushi
Shinkanzen Sushi (ชินคันเซ็น ซูชิ) มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2558 จากเด็กนักศึกษา 2 คน คือ คุณศุภณัฐ สัจจะรัตนกุล กับ คุณชนวีร์ หอมเตย ตอนนั้นยังเรียนปี 2 คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้เห็นเพื่อนๆ คนอื่นๆ ทำธุรกิจหลากหลายในช่วงนั้น ทั้งออนไลน์ ร้านอาหาร ต่อมาทั้ง 2 ได้ปรึกษากันอยากทำธุรกิจร้านอาหาร เพราะชอบกินอาหารญี่ปุ่นพวกซูชิ ในหัวทั้ง 2 ถ้าขายซูชิราถูกต้องใช้วัตถุดิบดี
หลังจากนั้นทั้ง 2 ใช้เงินคนละ 1,000 บาท ไปสมัครคอร์สเรียนทำซูชิ ตั้งแต่แล่ปลา ปั้นข้าว ซูซิโรล พอเรียนจบหุ้นกันคนละ 100,000 บาท ทำซูชิขายตามตลาดนัดแถวมหาวิทยาลัย ราคา 10 บาท
ปรากฏว่าช่วง 3-4 เดือน ได้การตอบรับดี พอทำไปได้ 1 ปี ทั้ง 2 เริ่มขยายสาขาแถวๆ มหาวิทยาลัย จับกลุ่มเป้าหมายนักศึกษา เริ่มจาก ม.กรุงเทพ ม.เกษตรศาสตร์ อันดับแรก ทั้งเรียนไปด้วย ขายซูชิไปด้วย
ทำไปได้ 2 ปี ทั้ง 2 เรียนจบพอดี แต่อยากทำธุรกิจขายซูชิต่อ แต่ไม่มองทำเลมหาวิทยาลัยแล้ว เพราะช่วงปิดเทอมอาจขายไม่ดี จึงมองไปที่ศูนย์การค้าที่มีคนเดินพลุกพล่าน ไม่มีวันหยุด
ร้านแรกที่เปิดอยู่ใน “ยูเนี่ยนมอลล์” ได้การตอบรับาลูกค้าดีมาก ทำให้ทั้ง 2 มองทำเลในห้างเป็นกลยุทธ์ขยายสาขาของ Shinkanzen Sushi จากนั้นได้ขยายสาขาในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ปัจจุบันมีสาขาถึง 56 สาขา
แตกแบรนด์ กระจายความเสี่ยง
มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของ Shinkanzen Sushi คือการที่บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เข้ามาลงทุนในบริษัท เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป จำกัด โดย CRG ถือหุ้น 51% เพื่อขยายสาขาและแตกแบรนด์ร้านอาหารในเครือเพิ่ม
- ปี 2566 เปิดตัวร้านอาหารปิ้งย่าง “นักล่าหมูกระทะ” ทำเลห้างสรรพสินค้า ติดแอร์ ปัจจุบันมี 12 สาขา
- ปี 2567 เปิดตัว NAMA Japanese and Seafood Buffet’ ร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นพรีเมียม ราคาสูงกว่าในร้าน Shinkanzen Sushi ปัจจุบันมี 1 สาขา ที่ชั้น 24 โรงแรมเซ็นทาราฯ
- ปลายปี 2567 เปิดตัว Katsu Midori Thailand ร้านซูชิสายพานที่บริษัทนำลิขสิทธิ์มาจากญี่ปุ่น เปิดให้บริการที่แรกที่เซ็นทรัลเวิลด์ มีคอนเซ็ปต์คล้ายกับ Shinkanzen Sushiใช้วัตถุดิบดี ราคาคุ้มค่า
สาเหตุที่ Shinkanzen Sushi ต้องแตกแบรนด์ใหม่ในเครือ เพราะต้องการกระจายความเสี่ยง เชนร้านอาหารต้องมีหลายแบรนด์ หลายประเภทอาหาร จะสามารถจับกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย แต่ถ้ามีร้านเดียวอาจจะไปต่อไม่ได้ เพราะต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งค่าเช่า พนักงานที่เพิ่มทุกปี
ไทม์ไลน์ Shinkanzen Sushi
- ปี 2558 เปิดสาขาแรกสมัยเป็นนักศึกษาปี 3 เงินลงทุน 200,000 บาท
- ปี 2560 ขยายสาขาสู่ห้างสรรพสินค้า
- ปี 2562 ขยายโมเดล Shinkanzen Omakase สู่ร้านพรีเมี่ยม
- ปี 2565 เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ ซีอาร์จี (CRG) ร่วมลงทุนสัดส่วน 51%
- ปี 2566 เปิดตัวร้านอาหารปิ้งย่าง “นักล่าหมูกระทะ” ทำเลห้างสรรพสินค้า
- ปี 2567 เปิดตัว NAMA Japanese and Seafood Buffet’ ร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นพรีเมียม และ Katsu Midori Thailand ร้านซูชิสายพานที่บริษัทนำลิขสิทธิ์มาจากญี่ปุ่น
แผนธุรกิจ 2568
ปี 2568 บริษัท เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป วางแผนเปิดตัวร้านอิซากายะช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ โซน Outdoor ของร้าน NAMA Japanese and Seafood Buffet
ขยายร้าน Shinkansen Sushi อีก 5 สาขา เน้นทำเลต่างจังหวัดมากขึ้น หลังได้การตอบรับดี ส่วนร้านนักล่าหมูกระทะ เปิดอีก 9 สาขา เน้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่ Katsu Midori ขยาย 1-2 สาขา
รายได้ บริษัท เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป จำกัด
- ปี 2565 รายได้ 797 ล้านบาท กำไร 63.6 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 1,414 ล้านบาท กำไร 116 ล้านบาท
กลยุทธ์ Shinkanzen Sushi
- ใช้วัตถุดิบคุณภาพดี ขายราคาคุ้มค่า
- ซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง (Economy of Scale) ทำให้ขายราคาไม่สูงมาก
- ทำเลเปิดร้านมักจะเลือกเปิดในห้างสรรพสินค้าหรือพื้นที่ที่มีคนเดินเยอะ เพื่อเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากและเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นและคนทำงานที่ต้องการมาทานอาหารอย่างรวดเร็วและสะดวก
- ทำระบบครัวกลาง เพื่อควบคุมมาตรฐาน มี QC ตรวจสอบวัตถุดิบต่างๆ ก่อนเข้ามาขายที่ร้าน
- มีทีมออดิตคอยตรวจสอบมาตรฐานของหน้าร้านทุกเดือน ทั้งเรื่องบริการ ครัว ความสะอาดของร้าน
- รู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จับกลุ่มนักศึกษา คนมีรายได้ปานกลาง คนมีรายได้สูง กลุ่มครอบครัว ทำให้มีลูกค้าครอบคลุม
- บริหาร Cash Flow หรือกระแสเงินสดที่มีประสิทธิภาพ ช่วงโควิดทำให้ไม่มีการเลย์ออฟพนักงาน
- แตกแบรนด์ เพื่อกระจายความเสี่ยง สร้างการเติบโตมั่นคง
นั่นคือ เรื่องราวของ Shinkanzen Sushi จากซูชิขายตามตลาดคำละ 10 บาท สู่ซูชิขายตามห้างสรรพสินค้าขายคำละ 11 บาทรายได้ทะลุพันล้านบาท ถือเป็นกรณีศึกษาให้กับคนที่อยากทำธุรกิจร้านอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เป็น ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา และบริหารกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ
แหล่งข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)