Shinkanzen Sushi จากซูชินักศึกษา สู่ธุรกิจอาหารพันล้าน

ถ้าพูดถึงร้านอาหารญี่ปุ่นสัญชาติไทย โดยเฉพาะร้านซูชิในห้างสรรพสินค้า ราคาสบายกระเป๋า เชื่อว่าแฟนซูชิน่าจะนึกถึง Shinkanzen Sushi เป็นแบรนด์แรกๆ ปัจจุบันมี 56 สาขา มีเป้าหมายขยายครอบคลุมทุกจังหวัด ถือเป็นเชนร้านอาหารที่บริษัทเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ ซีอาร์จี (CRG) กระโดดร่วมลงทุนในสัดส่วน 51%

Shinkanzen Sushi มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างไร ทำไมอยู่รอดและเติบโตมีรายได้พันล้านบาท ท่ามกลางร้านอาหารญี่ปุ่นมากมายในประเทศไทย มาดูกัน

จุดเริ่มต้น Shinkanzen Sushi

ภาพจาก www.facebook.com/shinkanzensushi

Shinkanzen Sushi (ชินคันเซ็น ซูชิ) มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2558 จากเด็กนักศึกษา 2 คน คือ คุณศุภณัฐ สัจจะรัตนกุล กับ คุณชนวีร์ หอมเตย ตอนนั้นยังเรียนปี 2 คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้เห็นเพื่อนๆ คนอื่นๆ ทำธุรกิจหลากหลายในช่วงนั้น ทั้งออนไลน์ ร้านอาหาร ต่อมาทั้ง 2 ได้ปรึกษากันอยากทำธุรกิจร้านอาหาร เพราะชอบกินอาหารญี่ปุ่นพวกซูชิ ในหัวทั้ง 2 ถ้าขายซูชิราถูกต้องใช้วัตถุดิบดี

หลังจากนั้นทั้ง 2 ใช้เงินคนละ 1,000 บาท ไปสมัครคอร์สเรียนทำซูชิ ตั้งแต่แล่ปลา ปั้นข้าว ซูซิโรล พอเรียนจบหุ้นกันคนละ 100,000 บาท ทำซูชิขายตามตลาดนัดแถวมหาวิทยาลัย ราคา 10 บาท

ปรากฏว่าช่วง 3-4 เดือน ได้การตอบรับดี พอทำไปได้ 1 ปี ทั้ง 2 เริ่มขยายสาขาแถวๆ มหาวิทยาลัย จับกลุ่มเป้าหมายนักศึกษา เริ่มจาก ม.กรุงเทพ ม.เกษตรศาสตร์ อันดับแรก ทั้งเรียนไปด้วย ขายซูชิไปด้วย

ภาพจาก www.facebook.com/shinkanzensushi

ทำไปได้ 2 ปี ทั้ง 2 เรียนจบพอดี แต่อยากทำธุรกิจขายซูชิต่อ แต่ไม่มองทำเลมหาวิทยาลัยแล้ว เพราะช่วงปิดเทอมอาจขายไม่ดี จึงมองไปที่ศูนย์การค้าที่มีคนเดินพลุกพล่าน ไม่มีวันหยุด

ร้านแรกที่เปิดอยู่ใน “ยูเนี่ยนมอลล์” ได้การตอบรับาลูกค้าดีมาก ทำให้ทั้ง 2 มองทำเลในห้างเป็นกลยุทธ์ขยายสาขาของ Shinkanzen Sushi จากนั้นได้ขยายสาขาในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ปัจจุบันมีสาขาถึง 56 สาขา

แตกแบรนด์ กระจายความเสี่ยง

ภาพจาก www.facebook.com/shinkanzensushi

มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของ Shinkanzen Sushi คือการที่บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เข้ามาลงทุนในบริษัท เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป จำกัด โดย CRG ถือหุ้น 51% เพื่อขยายสาขาและแตกแบรนด์ร้านอาหารในเครือเพิ่ม

  • ปี 2566 เปิดตัวร้านอาหารปิ้งย่าง “นักล่าหมูกระทะ” ทำเลห้างสรรพสินค้า ติดแอร์ ปัจจุบันมี 12 สาขา
  • ปี 2567 เปิดตัว NAMA Japanese and Seafood Buffet’ ร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นพรีเมียม ราคาสูงกว่าในร้าน Shinkanzen Sushi ปัจจุบันมี 1 สาขา ที่ชั้น 24 โรงแรมเซ็นทาราฯ
  • ปลายปี 2567 เปิดตัว Katsu Midori Thailand ร้านซูชิสายพานที่บริษัทนำลิขสิทธิ์มาจากญี่ปุ่น เปิดให้บริการที่แรกที่เซ็นทรัลเวิลด์ มีคอนเซ็ปต์คล้ายกับ Shinkanzen Sushiใช้วัตถุดิบดี ราคาคุ้มค่า

สาเหตุที่ Shinkanzen Sushi ต้องแตกแบรนด์ใหม่ในเครือ เพราะต้องการกระจายความเสี่ยง เชนร้านอาหารต้องมีหลายแบรนด์ หลายประเภทอาหาร จะสามารถจับกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย แต่ถ้ามีร้านเดียวอาจจะไปต่อไม่ได้ เพราะต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งค่าเช่า พนักงานที่เพิ่มทุกปี

ภาพจาก www.facebook.com/shinkanzensushi

ไทม์ไลน์ Shinkanzen Sushi

  • ปี 2558 เปิดสาขาแรกสมัยเป็นนักศึกษาปี 3 เงินลงทุน 200,000 บาท
  • ปี 2560 ขยายสาขาสู่ห้างสรรพสินค้า
  • ปี 2562 ขยายโมเดล Shinkanzen Omakase สู่ร้านพรีเมี่ยม
  • ปี 2565 เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ ซีอาร์จี (CRG) ร่วมลงทุนสัดส่วน 51%
  • ปี 2566 เปิดตัวร้านอาหารปิ้งย่าง “นักล่าหมูกระทะ” ทำเลห้างสรรพสินค้า
  • ปี 2567 เปิดตัว NAMA Japanese and Seafood Buffet’ ร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นพรีเมียม และ Katsu Midori Thailand ร้านซูชิสายพานที่บริษัทนำลิขสิทธิ์มาจากญี่ปุ่น

แผนธุรกิจ 2568

ภาพจาก www.facebook.com/shinkanzensushi

ปี 2568 บริษัท เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป วางแผนเปิดตัวร้านอิซากายะช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ โซน Outdoor ของร้าน NAMA Japanese and Seafood Buffet

ขยายร้าน Shinkansen Sushi อีก 5 สาขา เน้นทำเลต่างจังหวัดมากขึ้น หลังได้การตอบรับดี ส่วนร้านนักล่าหมูกระทะ เปิดอีก 9 สาขา เน้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่ Katsu Midori ขยาย 1-2 สาขา

รายได้ บริษัท เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป จำกัด

  • ปี 2565 รายได้ 797 ล้านบาท กำไร 63.6 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 1,414 ล้านบาท กำไร 116 ล้านบาท

กลยุทธ์ Shinkanzen Sushi

ภาพจาก www.facebook.com/shinkanzensushi
  • ใช้วัตถุดิบคุณภาพดี ขายราคาคุ้มค่า
  • ซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง (Economy of Scale) ทำให้ขายราคาไม่สูงมาก
  • ทำเลเปิดร้านมักจะเลือกเปิดในห้างสรรพสินค้าหรือพื้นที่ที่มีคนเดินเยอะ เพื่อเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากและเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นและคนทำงานที่ต้องการมาทานอาหารอย่างรวดเร็วและสะดวก
  • ทำระบบครัวกลาง เพื่อควบคุมมาตรฐาน มี QC ตรวจสอบวัตถุดิบต่างๆ ก่อนเข้ามาขายที่ร้าน
  • มีทีมออดิตคอยตรวจสอบมาตรฐานของหน้าร้านทุกเดือน ทั้งเรื่องบริการ ครัว ความสะอาดของร้าน
  • รู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จับกลุ่มนักศึกษา คนมีรายได้ปานกลาง คนมีรายได้สูง กลุ่มครอบครัว ทำให้มีลูกค้าครอบคลุม
  • บริหาร Cash Flow หรือกระแสเงินสดที่มีประสิทธิภาพ ช่วงโควิดทำให้ไม่มีการเลย์ออฟพนักงาน
  • แตกแบรนด์ เพื่อกระจายความเสี่ยง สร้างการเติบโตมั่นคง

นั่นคือ เรื่องราวของ Shinkanzen Sushi จากซูชิขายตามตลาดคำละ 10 บาท สู่ซูชิขายตามห้างสรรพสินค้าขายคำละ 11 บาทรายได้ทะลุพันล้านบาท ถือเป็นกรณีศึกษาให้กับคนที่อยากทำธุรกิจร้านอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เป็น ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา และบริหารกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ

แหล่งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช