Sales CRM ในระบบแฟรนไชส์
ยุคนี้ “ข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าทอง” สัมพันธ์อย่างยิ่งกับคำกล่าวที่ว่า “ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่สูงกว่าการรักษาลูกค้าเก่าถึง 5 เท่า” สิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การพัฒนาเป็นระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management โดยมีจุดหมายสำคัญคือการทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์ ไม่ไหลไปหาคู่แข่งอื่นที่อยู่ในธุรกิจแบบเดียวหรือใกล้เคียงกัน กล่าวคือระบบ CRM ช่วยให้ธุรกิจบริหารจัดการลูกค้าและสามารถนำเสนอสินค้าได้อย่างถูกที่ถูกเวลา
Sales CRM ดีกับธุรกิจอย่างไร?
ซึ่งตามหลักแล้วแค่ในส่วนเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าไว้ให้เป็นระเบียบ ระบบ CRM ก็ช่วยส่งเสริมธุรกิจได้มาก เพราะการเก็บข้อมูลส่วนนี้ไว้จะช่วยให้การตามงาน ตรวจสอบ หรือบริการลูกค้าสะดวกขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาสอบถามซ้ำซ้อน ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ช่วยเพิ่มความประทับใจให้ลูกค้าเห็นว่าธุรกิจมีความเอาใจใส่ ช่วยรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่ให้เหนียวแน่น
ยกตัวอย่างเช่นร้านกาแฟ ถ้ามีการผนวกใช้ระบบ CRM จะทำให้มีข้อมูลของลูกค้าว่าอะไรคือเมนูขายดี อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ช่วงไหนที่ลูกค้าเข้าร้านมากที่สุด ยอดขายในแต่ละวันเป็นอย่างไร แน่นอนว่าข้อมูลทุกอย่างมีผลต่อเนื่องในการส่งเสริมด้านการตลาดที่จะกำหนดทิศทางการทำโปรโมชั่น การพัฒนาสินค้าใหม่ และการเพิ่มบริการที่จะถูกใจลูกค้าได้มากขึ้น มองผิวเผินอาจเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญแต่ในยุคที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูง การจะดึงลูกค้าให้หำภักดีต่อแบรนด์ในยุคนี้นั้นยาก แต่หากใช้ระบบ CRM เข้ามาช่วยจะทำให้ลูกค้าประทับใจได้มากและกลายเป็นความภักดีต่อแบรนด์ได้ในอนาคต
หากระบบมีความสามารถสูงขึ้นอีกก็จะเรียกว่า Sales Intelligence Platform ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อกับช่องทางการสื่อสารระหว่างทีมขายกับลูกค้าที่เราใช้ เช่น อีเมล, โทรศัพท์, แชท, ระบบนัดหมาย และยังสามารถเชื่อมกับระบบ Enterprise Resource Management (ERP) เพื่อดึงข้อมูลการซื้อขายในอดีต, ข้อมูลสินค้า, ราคาและส่วนลด และนำมาวิเคราะห์ด้วย Machine Learning Technology ซึ่งจะช่วยค้นหา Insight ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปิดการขายได้มากขึ้น เร็วและง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน
การประยุกต์ใช้ Sales CRM ในระบบแฟรนไชส์
จุดเด่นของระบบแฟรนไชส์คือการขยายสาขาที่รวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าการมีสาขาในจำนวนที่เยอะอาจมีผลกระทบต่อแบรนด์ในแง่คุณภาพสินค้าและบริการ ซึ่งการประยุกต์ใช้ Sales CRM ในระบบแฟรนไชส์จะช่วยได้มาก
สำคัญที่สุดคือ ช่วยดูแลเรื่องการเชื่อมต่อระบบข้อมูลภายในระหว่างบริษัทแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์แต่ละสาขาให้มีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และสนับสนุนระบบการทำงานของบริษัทแฟรนไชส์ให้มีความพร้อม เพื่อเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีของบริษัทผู้ให้บริการ CRM
ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทแฟรนไชส์และร้านสาขาแฟรนไชส์สามารถติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลระหว่างกันได้ตรงจุดมากขึ้น ตั้งแต่การแจ้งปัญหา การบริหารจัดการข้อมูลของร้านค้า การวางแผนล่วงหน้าเพื่อการจัดสต็อกสินค้าสำหรับหน้าเทศกาล การขาย การให้บริการ จนถึงส่วนงานทรัพยากรบุคคล
ทั้งนี้การประยุกต์นำ CRM มาใช้ในระบบแฟรนไชส์มีประโยชน์ในหลายด้านเช่น
1.ส่งเสริมด้านงานขาย
เป็นจุดเด่นที่สุดของ CRM ที่เก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์มากในการนำไปต่อยอดทำโปรโมชั่น ซึ่งแฟรนไชส์ที่มีการใช้ระบบ CRM เชื่อมโยงถึงกันจะทำให้กำหนดทิศทางการตลาดไปในทิศทางเดียวกันส่งเสริมคุณค่าของแบรนด์ให้ดูน่าสนใจมากขึ้นด้วย
2.ส่งเสริมงานบริการ
เป็นเรื่องคุณค่าและความประทับใจที่จะมอบให้ลูกค้า ด้วยการเก็บข้อมูลของ CRM เชื่อมโยงในเครือข่ายแฟรนไชส์ด้วยกันจะทำให้รู้ว่าอะไรคือบริการที่ลูกค้าอยากได้ อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าอยากให้ปรับปรุง รวมถึงข้อติชมเสนอแนะต่างๆ ซึ่งการมีระบบ CRM สามารถแบ่งปันข้อมูลนี้กันในเครือข่ายแฟรนไชส์ทำให้การพัฒนางานบริการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3.ส่งเสริมด้านการตลาด
ด้วยการมีข้อมูลที่เก็บรวบรวมทำให้มองเห็นภาพของธุรกิจได้ชัดเจน อะไรคือจุดแข็ง อะไรคือสิ่งที่ต้องแก้ไข ซึ่ง CRM มีการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถแบ่งแยกเป็นกลุ่มและหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการดึงมาใช้ เป็นผลดีในแง่ของการทำตลาดที่จะเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
4.สร้างคุณค่าให้แบรนด์แฟรนไชส์
การมีระบบ CRM ทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมีความเป็นกลุ่มก้อนไม่ใช่ตัวใครตัวมัน ยิ่งทุกวันนี้ข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าทอง การลงทุนแฟรนไชส์ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วจบไป แต่คนทำแฟรนไชส์ต้องคิดด้วยว่าจะทำยังไงให้คนลงทุนเชื่อมั่น และอยากลงทุนเหมือนที่แบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่ๆ เขาใช้ระบบบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบ CRM ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน
เมื่อสังคมเปลี่ยนยุคสมัยเปลี่ยน กลยุทธ์การตลาดหรือการบริหารแบบเดิมๆ ย่อมไม่เพียงพอ แฟรนไชส์ที่ตั้งใจแค่ขายโดยไม่สนใจว่าคนลงทุนจะเอาไปทำต่อแล้วดีไม่ดีก็ไม่สนใจ สุดท้ายภาพลักษณ์ทุกอย่างจะสะท้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้น ในทางกลับกันถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่ให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการ คนลงทุนมีกำไร ภาพลักษณ์ก็ยิ่งดี มูลค่าธุรกิจก็มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)