Real Time Marketing! อยากให้คนแชร์แบบหวังยอดขาย
Real Time Marketing ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ หากเป็นคำที่นักการตลาดรู้จักและมีการใช้ในวงการธุรกิจเป็นจำนวนมาก ข้อดี คือช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารและส่งข้อความ ที่เกี่ยวข้องกับตราสินค้า ผ่านการปรับเนื้อหาบางส่วน ให้เข้ากับ ความต้องการ และความสนใจ ของกลุ่มลูกค้าและตราสินค้า ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะผ่านสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆ
อีกทั้งการตลาดแบบเรียลไทม์ ยังส่งผลดีต่อการมีส่วนร่วมของลูกค้า (customer engagement) เช่น การกด like, share, comment ต่างๆ ที่จะทำให้มีส่วนในการเพิ่ม เนื้อหาการตลาด หรือ ตราสินค้า เป็นที่รู้จักมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นกลยุทธ์ดังกล่าวยังสามารถช่วยตราสินค้า ในการสื่อสารและตอกย้ำภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับตราสินค้า ในการรับรู้ของผู้บริโภคได้อีกด้วย
การชี้วัดผลสำเร็จในทันทีของ Real Time Marketing อาจประเมินในเชิงตัวเลขได้ยากแต่ที่แน่ๆ นอกจากการเพิ่มยอดการเข้าถึง (Reach) หรือยอดการมีส่วนร่วม (Engagement) แล้วยังช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ได้
ภาพจาก www.facebook.com/BlackCanyonThailand
รวมถึงทำให้เกิดการแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อแบรนด์ เพราะการที่ผู้ใช้งานแชร์โพสต์ต่อกันเองนั้น ดูน่าเชื่อถือกว่าการที่ซื้อพื้นที่โฆษณา (Ads) หรือบูสต์โพสต์ หากเราสามารถผูกกระแสให้เข้ากับแบรนด์ได้อย่างเชื่อมโยงกัน ผู้คนก็จะเข้าใจแก่นหลักของแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ถ้าจะให้เข้าใจมากขึ้นต้องดูกระแสปัจจุบันที่มาแรงสุดก็คือ “หมูเด้ง” ซึ่งพบว่ามีการพูดถึง หรือ Mention ถึง “หมูเด้ง” 8,678 ครั้ง และได้รับการมีส่วนร่วม หรือเอ็นเกจเมนต์ 38,440,092 ครั้ง โดยแพลตฟอร์ม Facebook เป็นช่องทางที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด 5,263 ครั้ง และ TikTok ได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุดถึง 34,674,750 ครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่หลายแบรนด์จะเกาะกระแสนี้เพื่อเพิ่มยอดการรับรู้แบรนด์ได้มากขึ้น มีหลายสินค้าที่เล่นกับกระแสนี้ยก ตัวอย่างเช่น
- แบล็คแคนยอน x หมูเด้ง
- ไอศกรีม สเวนเซ่นส์ ทางเพจได้ออกมาเชิญชวนให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบไอเดียเมนูหมูเด้งซันเด
- เพจของ Gem and Jewelry Library ก็ออกเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบอัญมณีเพชรเป็นโทนสีของหมูเด้ง
- เพจของ SURINY Craft Rice Bran Oil -น้ำมันรำข้าว สุรินี ก็ทำหน้าเพจ เชิญชวนกินผัก โดยนำรูปหมูเด้งมาเชิญชวน
หรืออย่างตอนนี้กระแสของ “ธี่หยด 2” กำลังมาแรงเราก็จะเห็นหลายแบรนด์เกาะกระแสของธี่หยด 2 ในการทำตลาดแบบ Real Time Marketing เช่น
- 7อัพ MEET พร้อม GREET กับธี่หยด 2
- สถานีบริการน้ำมัน Bangchak จัดแคมเปญการตลาดที่ทำภาพโฆษณาข้อความว่า “แจกหมด”
และถ้าย้อนไปดูในอดีตก็มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้แบรนด์เกาะกระแสของ Real Time Marketing กันอย่างคึกคักเช่น
- กระแสวันกะเทยแห่งชาติ จากเหตุการณ์กะเทยไทยยกพวกถล่มกะเทยฟิลิปปินส์ที่สุขุมวิท ซอย 11 ก็มีรองเท้าแบรนด์หนึ่งใช้ข้อความในทำนองว่า สามารถเป็นตัวแม่ได้ทุกที่ ถ้ามีรองเท้าแบรนด์นี้
- หรือเมื่อปี 2564 ที่เกิดเหตุการณ์ช้างป่าละอู บุกพังครัวชาวบ้านจนทะลุเป็นรู ก็มีแบรนด์แฮมเบอร์เกอร์จัดข้อความ “ใหญ่ทะลุบ้าน” เน้นจุดขายคือสินค้า“ชิ้นใหญ่” เป็นต้น
จุดเด่นของการทำ Real Time Marketing คือต้องอาศัยความไวเป็นหลัก และต้องมีไหวพริบ ตีความให้ถูกจุด และพาแบรนด์เข้าไปอยู่ในกระแสได้ไวกว่าธุรกิจอื่นโดยการคิด Content เจ๋ง ๆ ให้ได้เดี๋ยวนั้นและต้องไม่ลืมให้แนวคิดนั้นสอดคล้องกับจุดยืนของแบรนด์ เพื่อให้การทำ Real Time Marketing ได้ผลดีมีคนรู้จักแบรนด์ ไม่ใช่แค่ผ่านมาแล้วผ่านไป จำเราไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเป็นสินค้าอะไร
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)