PL Law กฎหมายสำคัญ ผู้บริโภคต้องรู้! เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทราบ
PL Law เป็นกฎหมายที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2552 แต่เชื่อเถอะว่าถึงตอนนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีกฏหมายแบบนี้อยู่ ต้องขออธิบายก่อนว่า PL Law (Product Liability Law) เป็นพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
ที่มาที่ไปของกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากการที่ สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์เป็นจำนวนมาก และมีปัญหาในทางปฏิบัติ เมื่อกฎหมายที่มีในตอนนั้น กำหนดให้การพิสูจน์ต่างๆ เป็นหน้าที่ของผู้ฟ้องร้องซึ่งก็คือผู้บริโภค
แน่นอนว่าผู้บริโภคจะเอาศักยภาพที่ไหนไปพิสูจน์เพราะสิ่งที่ควรรู้ หรือกระบวนการผลิตต่างๆ ถูกปิดกั้นจากผู้ผลิตทุกช่องทาง ทำให้เกิดความพยายามในการผลักดันให้เกิดกฎหมาย PL Law เพื่อความยุติธรรมมากขึ้น
เมื่อกฎหมายนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา สินค้าที่ไม่ปลอดภัยก็ไม่ได้หมายถึงแค่รถยนต์เท่านั้น ซึ่งหากอ่านคำจำกัดความของคำว่า “สินค้าไม่ปลอดภัย” ในทางกฎหมายค่อนข้างจะวกวน สับสนและเข้าใจยาก เอาเป็นว่าเราสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “สินค้าไม่ปลอดภัย” ก็คือ สินค้าที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค
ซึ่งคำว่า “ความเสียหาย” ที่เกิดต่อผู้บริโภคนั้น ไม่ใช่จะเป็นความเสียหายในทุกๆ เรื่อง เนื่องจากกฎหมายได้กำหนด ต่อไปว่า ความเสียหายที่ผู้บริโภคจะฟ้องร้องผู้ผลิตสินค้าได้นั้น จะต้องเป็น “ความเสียหาย” ที่เกิดจากเหตุใดเหตุหนึ่ง ได้แก่
- เกิดจากความบกพร่องในการผลิตสินค้า
- เกิดจากความบกพร่องในการออกแบบสินค้า
- เกิดจากการที่ไม่ได้กำหนดไว้ในคู่มือการใช้งานสินค้า
- เกิดจากการที่ไม่ได้แจ้งหรือกำหนดวิธีเก็บรักษาสินค้า
- เกิดจากการที่ไม่ได้ให้คำเตือนเกี่ยวกับสินค้าหรือวิธีใช้ไว้
ถึงแม้ว่าจะกำหนดหรือแจ้งไว้หมดแต่ข้อความหรือข้อมูลที่กำหนดไว้ไม่ชัดเจนพอหรือไม่ชัดเจนตามสมควรเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ก็เป็นความผิดตามกฎหมายได้เช่นกัน
อธิบายมันเข้าใจยาก ลองดูตัวอย่างเช่น
- ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อนำมาใช้งานเกิดปัญหาเช่นสายไฟไหม้ ไฟรั่ว หม้อต้มน้ำมีแต่ควันพุ่งออกมา เป็นต้น
- ซื้อเครื่องจักรมาจากตัวแทนนำเข้าเพื่อใช้งาน แต่พอใช้งานจริงเกิดใช้งานไม่ได้ ซึ่งมีระยะประกันชัดเจน
- ซื้อสินค้าที่แพ็คหีบห่อมาอย่างดีตอนซื้อแกะดูไม่ได้แต่พอแกะออกมาปรากฏว่ามีการยัดไส้สินค้าด้านใน เป็นต้น
หรือแม้แต่ในเรื่องแฟรนไชส์ก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะกฎหมายนี้ควบคุมทุกธุรกิจ หากสินค้าหรือบริการจากแฟรนไชส์ใดก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้บริโภค ก็จะนำไปสู่การฟ้องร้องได้เช่นกัน
แต่ในทางกฎหมายเขาก็ให้ความยุติธรรมกับทางผู้ผลิตไว้เช่นกันไม่ใช้นึกจะฟ้องเอาค่าเสียหายแล้วจะดำเนินการได้ทันที
เพราะกว่าจะเข้าถึงส่วนของการฟ้องร้องดำเนินคดีจริง หลังจากผู้บริโภคเข้าไปร้องทุกข์ จะต้องผ่านอีกสองด่านคือ คณะกรรมการไกล่เกลี่ย ซึ่งถ้าไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ เรื่องก็จะส่งต่อไป หน่วยงานพิสูจน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ตามพรบ.นี้ มีหน้าที่เป็นกลางในการพิสูจน์เพื่อยืนยันว่าสินค้านั้นมีความปลอดภัยหรือไม่
ทั้งนี้ PL Law เป็นกฏหมายที่ได้กำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ไม่เกิน 3 ปีนับ ตั้งแต่เกิดความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด และไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่มีการขายสินค้านั้น หมายถึงว่า หากเกิดความเสียหายขึ้นจะฟ้องได้ภายใน 3 ปีหลังเกิดความเสียหายและรู้ตัวผู้ผลิต ซึ่งหากไม่รู้ ก็มีเวลาหาตัวผู้รับผิดภายใน 10 ปีนับตั้งแต่ซื้อสินค้ามา
วิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ต้องมีปัญหาทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค คือการใส่ใจในสินค้าให้เกิดคุณภาพ เช่น ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าที่ซับซ้อนก็ควรมีคู่มือการใช้งานและข้อพึงระวังเขียนกำกับให้ชัดเจน และอย่าลืมว่าปัจจุบันโลกโซเชี่ยลมีอิทธิพลอย่างมาก สินค้าไหนดีไม่ดี สามารถแชร์และพูดถึงกันได้ในชั่วข้ามคืน คนทำธุรกิจยุคนี้จึงต้องมีความรู้รอบด้านเพื่อโอกาสในการทำธุรกิจที่เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)