Personalisation วิธีตีตลาดในยุค 4.0 แบรนด์ดังเขาก็ใช้กัน!

โลกยุคใหม่การตลาดก็ต้องมีเรื่องใหม่ๆเข้ามาร่วมด้วย ลำพังการใช้การตลาดแบบเก่าในโลกยุคไฮเทค ดูท่าว่าจะก้าวตามคู่แข่งและผู้บริโภคไม่ทันอย่างแน่นอนที่ผ่านมาแบรนด์ดังระดับโลกก็พยามหากลยุทธ์การตลาดในรูปแบบต่างๆมานำเสนอโดยมีเป้าหมายเดียวคือการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด และหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดยุค 4.0 ที่น่าสนใจนั้นกึคือ

Personalisation ที่จะว่าไปชื่อที่ค่อนข้างเป็นทางการแบบนี้เราก็ไม่คุ้นเคยกันสักเท่าไหร่ก็ลองมาดูวิธีการของเจ้ากลยุทธ์ที่ว่านี้แทนก็แล้วกันว่าจะเอามาประยุกต์ใช้กับสินค้าในบ้านเราได้มากแค่ไหนแต่ www.ThaiSMEsCenter.com ขอบอกก่อนเลยว่ากลยุทธ์ไม่คุ้นหูอันนี้แบรนด์ดังอย่าง Domino’s Pizza เขาถนัดมากเลยทีเดียวเชียว

Personalisation คือ?

วิธีตีตลาดในยุค 4.0

ภาพจาก goo.gl/bc4aFc

ถ้าอธิบายกันตามความหมาย Personalisation ก็หมายถึงระบบความเป็นส่วนตัวซึ่งก็คือ กระบวนการนำเสนอเนื้อหาหรือบริการและสินค้า โดยพิจารณาจากลักษณะพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเช่น ถ้าคุณขายหนังสือผ่านทางเวบไซต์ ระบบจะช่วยให้คุณทราบว่าหนังสืออะไรที่ลูกค้าของคุณชอบ ไม่ชอบ

จำเป็น หรือต้องการ ซึ่งเจ้า Personalisation ที่เราพูดถึงนี้ Domino’s Pizza ได้จัดเอาไปเป็นอีกหนึ่งแคมเปญการตลาดแปลกใหม่โดยล่าสุดแบรนด์แปลงโฉมหน้าการจัดส่งพิซซ่าซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของธุรกิจที่ดูธรรมดาทั่วไปให้กลายเป็นไวรัลบนอินเตอร์เน็ต

ซึ่งเป็นความร่วมมือของ Domino’s Pizza กับเอเจนซี่ CP+B ที่พัฒนาแอพพลิเคชั่น Domino’s Tracker ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถติดตามออเดอร์พิซซ่าของตัวเองได้และสร้าง “เหตุการณ์” เพื่อนเตือนว่าพิซซ่ากำลังมาส่งแล้ว

ตัวอย่างเช่น เมื่อพิซซ่าของเราถูกส่งเข้าเตาอบแล้ว เราสามารถตั้งให้เครื่องเล่นเพลงในบ้านเล่นเพลงขึ้นมาได้ หรือเมื่อพิซซ่าออกมาส่งแล้วเราอาจตั้งให้ไฟหน้าบ้านสว่างหรือทีวีเปิดเอง เราสามารถสร้างกิจกรรมมากมายตราบที่กิจกรรมเหล่านั้นเชื่อมต่อออนไลน์อยู่

Domino’s Pizza กับกลยุทธ์ Personalisation

qq12

ภาพจาก goo.gl/ZsJIPz

เทคนิคการตลาดที่ Domino’s Pizza ใช้คือการ Personalised Marketing ซึ่งเป็นเทคนิคสร้างความประทับใจร่วมกับเทคโนโลยีบนโลกออนไลน์ได้ดีที่สุด เพราะโลกธุรกิจทุกวันนี้ทำให้สินค้าและบริการทุกแบบเหมือนๆ กันไปหมด ผู้บริโภครู้สึกว่าตัวเองไม่มีทางเลือกมากนัก

แต่ด้วยการ Personalised ทำให้สินค้าและบริการเข้ากับตัวผู้บริโภคได้อย่างพอดิบพอดี เทคนิคนี้ถือเป็นขั้นสุดที่ดีกว่าของ Targeted Marketing คือไม่เพียงสร้างสินค้าและบริการที่เล็งเป้าหมายเฉพาะแต่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภค “ปรุงแต่ง” บริการที่ตนเองต้องการได้ด้วยตัวเอง ด้วยความยุ่งยากในการสร้างบริการจึงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์มาช่วยเหลือในการสร้างข้อความส่วนบุคคล สร้างหน้าเพจให้ผู้ใช้เข้ามาปรับแต่งบริการของตัวเองมากกว่าการพัฒนาโปรแกรมเน้นขายของ

ธุรกิจแบบไหนที่น่าใช้เทคนิค Personalisation

qq14

ภาพจาก goo.gl/bc4aFc

คีย์หลักของเทคนิคนี้คือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ให้แก่ผู้บริโภค ดังนั้นธุรกิจที่จะได้รับผลดีมากคือธุรกิจที่ต้องการความน่าเชื่อถือมากตามไปด้วย เช่น

Internet marketing

นอกจากเว็บไซต์ต่างๆ ของเราจะออกแบบตามสไตล์ของผู้บริโภคแล้ว ข้อมูล ภาพ และเสียงต่างๆ สามารถออกแบบให้ปรับแต่งไปตามประวัติการใช้งานของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น Landing Page สามารถกำหนดให้ปรับเปลี่ยนตามความสนใจ ที่อยู่ และประวัติการซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้ ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้มีดังนี้

  • ชื่อของลูกค้า
  • ช่องทางการใช้งาน (เช่น สมาร์ทโฟน หรือ พีซี)
  • ข้อมูลการใช้งานและการเข้าชมล่าสุดของลูกค้า เป็นต้น

Direct mail

เราจะสร้างความประทับใจได้ดีมากหากขึ้นต้นจดหมายด้วยชื่อ “สวัสดีคุณ…….” นอกจากนั้นเนสยังสามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ของผู้บริโภคเพื่อกำหนดสินค้าที่จะปรากฏบนเมล์และไฮไลท์ว่าอะไรควรมาให้เห็นก่อนหลัง และหากพัฒนาโปรแกรมเฉพาะเรายังสามารถวัดผลการคลิกผ่านเมล์เพื่อนำมาปรับปรุงจดหมายโฆษณาภายหลังได้ด้วย

Social media marketing

วิธีการ Personalised ได้ผลดีเยี่ยมสำหรับโซเชียลมีเดียเพราะลูกค้าทุกคนอยากเป็นคนพิเศษบนโลกโซเชียล ตอบคำถามแล้วตามด้วยชื่อจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราทำการบ้านมาดี นอกจากนั้นการเก็บสถิติออร์เดอร์ สินค้าที่ลูกค้าชื่นชอบ และโพสต์ที่กดไลค์ก็ช่วยให้เรามีข้อมูลในการแนะนำสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม เทคนิคการ Personalisation จะไม่สามารถทำได้เลยหากเราไม่เคยสำรวจความต้องการและนิสัยใจคอของลูกค้าอย่างจริงจังเพราะแม้เราจะมีเครื่องมือช่วยเข้าถึงลูกค้าแต่ก็ไม่รู้ว่าสินค้า บริการหรือคอนเทนต์แบบไหนที่ลูกค้าต้องการและเราควรนำเข้ามาเป็นตัวเลือก

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/VJCTJ6

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด