Panda Express เชนฟาสต์ฟู้ดจีน ที่ประสบความสำเร็จในอเมริกา

ถ้าพูดถึงเชนร้านอาหารเอเชียที่ดำเนินกิจการแบบครอบครัว ที่มีการเติบโตและได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา คงหนีไม่พ้น Panda Express เป็นร้านอาหารจีนฟาสต์ฟู้ดสไตล์อเมริกัน ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2,458 สาขาทั่วอเมริกา

ตลาดฟาสต์ฟู้ดในอเมริกา ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่สุดของโลก มีผู้เล่นมากมายกว่า 1,000 แบรนด์ แข่งขันกันดุเดือด ไม่ว่าจะเป็น พิซซ่า พาสต้า เบอร์เกอร์ แซนด์วิช ไก่ทอด อาหารเอเชีย ละตินอเมริกา อาหารทะเล และอื่นๆ อีกมากมาย

ปี 2024 ตลาดร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกามีมูลค่ากว่า 142.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 215.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2034

อยากรู้หรือไม่ว่า ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดของตลาดฟาสต์ฟู้ดในอเมริกา ทำไมร้านอาหาร Panda Express เชนฟาสต์ฟู้ดจีน ถึงอยู่รอดและประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในอเมริกา จนกลายเป็นแบรนด์เอเชียที่มีชื่อเสียงระดับโลก

จุดเริ่มต้น Panda Express

Panda Express เชนฟาสต์ฟู้ดจีน
ภาพจาก https://bit.ly/41WlZwC

ก่อนจะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของ Panda Express ต้องย้อนกลับเมื่อปี 1973 คุณ Andrew Cherng (แอนดรูว์ เชง) ผู้อพยพชาวไต้หวัน ได้ย้ายมาอาศัยและเรียนที่สหรัฐอเมริกา หลังจากจบการศึกษาเขาได้กลับไปช่วยลูกพี่ลูกน้องทำร้านอาหาร แต่ด้วยความเห็นไม่ตรงกัน ทำให้คุณ Andrew Cherng ตัดสินใจแยกตัวออกมาเปิดร้านอาหารจีนของตัวเองในอเมริกา โดยได้รับความช่วยเหลือจากคุณพ่อของเขา Ming-Tsai Cherng (มิง-ไฉ่ เชง) ซึ่งที่เป็นมาสเตอร์เชฟอีกด้วย

คุณ Andrew Cherng เปิดร้านอาหารจีนแห่งแรกชื่อ Panda Inn ในปี 1973 ที่เมืองแพซาดีนา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ขายอาหารจีนแบบดั้งเดิมจนได้รับความนิยมในอเมริกา ปัจจุบันมีจำนวน 4 สาขาในแคลิฟอร์เนียตอนใต้

อีก 10 ปีต่อมา คุณ Andrew Cherng และคุณ Peggy Cherng ภรรยาของเขา ได้เปิดร้านอาหารจีนฟาสต์ฟู้ดสไตล์อเมริกันสาขาแรกชื่อ Panda Express ในศูนย์อาหารของห้างสรรพสินค้าเกล็นเดล รัฐแคลิฟอร์เนีย ขายอาหารจีนรูปแบบฟาสต์ฟู้ด ที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว แต่ยังคงรักษาคุณภาพและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารจีนแบบดั้งเดิม

Panda Express เชนฟาสต์ฟู้ดจีน
ภาพจาก https://bit.ly/41WlZwC

Panda Express แห่งนี้ถือเป็นร้านอาหารจีนสไตล์อเมริกันที่มีการพัฒนาระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่ง มีการนำเทคโนโลยี POS มาช่วยเก็บข้อมูลสินค้าและลูกค้า บริหารจัดการวัตถุดิบคงคลัง ระบบการสั่งวัตถุดิบ รวมไปถึงเก็บสถิติเมนูอาหารที่ลูกค้าสั่ง

สาเหตุที่ Panda Express เริ่มนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหาร เกิดขึ้นจากคุณ Peggy Cherng ภรรยาของคุณ Andrew Cherng มีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เธอมองว่าการจัดระเบียบและเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จะช่วยบริหารธุรกิจร้านอาหารได้ง่าย และมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา

คุณ Peggy Cherng เรียนจบปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เคยทำงานที่ McDonnell Douglas และ 3M ก่อนจะลาออกมาทำธุรกิจกับคุณ Andrew Cherng ผู้เป็นสามีในปี 1983 จนกลายเป็นเชนร้านอาหารจีนฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาที่ได้รับความนิยมจากคลูกค้าหลากหลายเชื้อชาติ

Panda Express เชนฟาสต์ฟู้ดจีน
ภาพจาก https://bit.ly/41WlZwC

ทั้งคนเอเชีย ฝรั่ง อเมริกัน คนผิวดำ คนผิวขาว ต่างชื่นชอบในรสชาติอาหารจีนสไตล์อเมริกัน ที่มีบริการรวดเร็ว ด้วยจำนวนร้านมากกว่า 2,458 แห่งทั่วอเมริกา พนักงาน 47,000 คน มียอดขายกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 ปัจจุบัน Panda Express เป็นร้านอาหารเอเชียที่ดำเนินกิจการแบบครอบครัวใหญ่ที่สุดในอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกา Panda Express จะมีชื่อร้านอีกอย่างว่า American Chinese Kitchen (อเมริกันไชนีส คิทเช่น) ร้านส่วนใหญ่จะเปิดในรูปแบบ Stand Alone นอกห้างเหมือน McDonald’s มีเพียง 2-3% เท่านั้นที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า

Panda Express เป็นหนึ่งในแบรนด์ร้านอาหารจีนเครือ Panda Restaurant Group ที่มีร้านอาหารและเครื่องดื่มอีกหลายแบรนด์ เช่น ร้านอาหารจีน Panda Inn, ร้านอาหารญี่ปุ่น Hibachi-San, ร้านกาแฟ Urbane Cafe ฯลฯ

กลยุทธ์ Panda Express กลายเป็นร้านอาหารจีนฟาสต์ฟู้ดที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา

ภาพจาก www.facebook.com/PandaExpress

1.ในร้านจะมีเมนูอาหารไม่มาก ช่วยให้ประหยัดต้นทุน และบริหารจัดการได้ง่าย มีการปรับรสชาติให้กับคนในสหรัฐอเมริกา หรือเป็น American-Chinese Taste ที่สำคัญมีเมนูชูโรงที่ได้รับความนิยม คือ Orange Chicken หรือไก่ส้ม รสชาติเข้มข้น ที่มีสูตรลับในการทำซอสราด และมีโรงงานที่ผลิตซอสส่งให้แต่ละสาขา มีข้อมูลพบว่า Panda Express ขายไก่ส้มได้มากกว่า 285,000 ออเดอร์ทุกวัน หรือราวๆ ประมาณ 90 ล้านปอนด์ต่อปี และออกเมนูอาหารใหม่ๆ ทุก 2-3 ปี

2. มีระบบการบริการที่รวดเร็วและประสิทธิภาพ แต่ละสาขามีอาหารให้ลูกค้าเลือกแบบเดียวกัน คือ ข้าวสวย ข้าวผัด ผัดหมี่เหลือง เนื้อบร็อคโคลี่เฉาหมิ่น ไก่ส้ม และอื่นๆ รวมแล้วประมาณ 8-9 เมนู ขึ้นอยู่กับขนาดของตู้โชว์อาหาร เหมือนร้านข้าวแกงในไทย ลูกค้าเลือกเมนูได้ง่าย ทานง่าย สะดวก ทางร้านจะตักข้าวและกับข้าวใส่กล่องโฟม หรือกล่องกระดาษ

3. ลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการในร้าน ไม่ต้องนั่งรอหรือยืนรอนาน เพราะทางร้านจะทำอาหารไว้รอเลย เหมือนร้านข้าวแกงในไทย ลูกค้าสามารถเดินเข้าไปชี้เลือกเมนูอาหารที่ต้องการได้เลย พนักงานก็จะตักใส่กล่องให้ทันที เพิ่มความรวดเร็วให้กับลูกค้า

Panda Express เชนฟาสต์ฟู้ดจีน
ภาพจาก www.facebook.com/PandaExpress

4. ทางร้านให้ลูกค้าลองชิมอาหารก่อนสั่งได้ ถือว่าเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากร้านฟาสต์ฟู้ดส์ทั่วไปในอเมริกา ทำให้ลูกค้ารู้สึกชื่นชอบ คนที่เคยใช้บริการมาแล้ว ครั้งต่อไปก็จะไปใช้บริการอีก และยังมีการบอกปากต่อปากให้คนอื่นรู้ด้วย

5. Panda Express แต่ละสาขาจะเปิดในพื้นที่ปิด และเข้าถึงได้ง่าย เช่น สวนสนุก ศูนย์อาหารในมหาวิทยาลัย สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะทำเลใน Food Court ที่รดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี

6. ความเป็นมาตรฐานของ Panda Express ทางร้านจะให้ความสำคัญสูงสุด โดยเฉพาะคุณภาพของอาหาร ถ้าอาหารบางเมนูอยู่ในถาดเกินเวลาที่กำหนด ทางร้านจะเอาทิงแล้วทำใหม่ เพื่อให้ลูกค้าได้ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ

7. Panda Express เป็นร้านอาหารจีนฟาสต์ฟู้ด รูปแบบ Casual Dining มีบรรยากาศเป็นกันเอง บริการรวดเร็ว ราคาอาหารระดับปานกลาง มักมีโต๊ะ มีพนักงานบริการคอยรับออเดอร์ เสิร์ฟอาหารแบบไม่มีพิธีรีตอง ที่สำคัญซื้อกลับไปทานบ้านได้ด้วย

ภาพจาก www.facebook.com/PandaExpress

ปัจจุบันร้านอาหารจีน Panda Express นอกจากจะมีสาขาในสหรัฐอเมริกาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทบริหารเอง ยังมีสาขาแฟรนไชส์ในหลายประเทศ เช่น แคนาดา, เม็กซิโก, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ออสเตรเลีย, ชิลี, อินโดนีเซีย

ถ้าถามว่า Panda Express มีโอกาสเข้ามาเปิดตลาดในไทยหรือไม่ หากวิเคราะห์ตลาดร้านอาหารจีนในไทยมีการแข่งขันกันสูงมาก ส่วนใหญ่ร้านอาหารจีนในไทยจะเป็นร้านแบบภัตตาคาร มีเมนูหลากหลาย รสชาติอร่อย ไม่เฉพาะมีแต่ภัตตาคารเท่านั้น ทางด้านโรงแรมต่างๆ ก็มีอาหารจีนบริการลูกค้าอีกด้วย รสชาติระดับ 5 ดาว เหมือนไปทานที่เมืองจีนเลย

ถ้า Panda Express จะเข้ามาเปิดตลาดในไทย น่าจะเป็นในรูปแบบแฟรนไชส์ แล้วถามว่านักลงทุนรายไหนจะกล้าซื้อแฟรนไชส์ Panda Express เข้ามาเปิดในไทย ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของร้านอาหารจีนในไทย

ที่สำคัญโมเดลร้าน Panda Express ในสหรัฐอเมริกาเป็นฟาสต์ฟู้ด Casual Dining เป็นลักษณะเหมือนร้านข้าวแกงเมืองไทย มีถาดใส่กับข้าวแต่ละอย่าง ลูกค้าเข้าไปชี้นิ้วเลือกกับข้าวที่ต้องการเหมือนร้านข้าวแกงในไทยเลย ยิ่งไปกว่านี้ราคาอาหารของ Panda Express แพงกว่าร้านอาหารจีนในไทยอีกต่างหาก กับข้าว 2 อย่าง + ข้าวผัด ตก 400 บาท

เชื่อว่าหากเข้ามาเปิดตลาดในไทยก็คงจะไปไม่รอด ด้วยราคา รสชาติ การแข่งขัน คนไทยจริงๆ ก็คงจะใช้บริการร้านข้าวแกงมากกว่า ถ้าเป็นคนชอบกินอาหารจีนเป็นทุนเดิม ก็คงใช้บริการภัตตาคารหรือโรงแรม

ภาพจาก www.facebook.com/luckypandathailand

แม้ว่า Panda Express ร้านอาหารจีนฟาสต์ฟู้ดสไตล์อเมริกัน จะมีโอกาสน้อยมากที่จะเข้ามาเปิดตลาดในไทย แต่ตอนนี้มีแบรนด์ Lucky Panda Express ร้านอาหารจีนรสชาติ American Chinese Eats ฝาแฝดกับ Panda Express ในอเมริกา แต่ไม่ใช่เจ้าของเดียวกัน เปิดร้านในไทยแล้ว 3 สาขา ที่ Central Bangna, Habito Mall, One Bangkok

และยังเปิดร้านแบบ Dine-in, Takeaway, Deliver 2 สาขา ที่ อโศก และสาทร เมนูอาหารเหมือนในสหรัฐอเมริกาเกือบทุกอย่าง ใครที่อยากลิ้มลองรสชาติอาหารจีนสไตล์อเมริกันของ Panda Express ร้านอาหารจีนเจ้านี้น่าจะทดแทนกันได้

อ้างอิง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช