On The Job Training OJT ระบบถ่ายทอดงานที่ร้านแฟรนไชส์ต้องใช้
การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีการเติบโตจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี และมีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขา นอกจากนี้เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องมีการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน รวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์และพนักงานให้มีความรู้และความสามารถในหน้าที่การทำงาน โดยเป็นหน้าที่ของผู้บริหารหรือเจ้าของแฟรนไชส์ที่จะต้องสอนหรือถ่ายทอดงานแก่ทีมงาน พนักงาน ลูกน้อง
รวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง การสอนงานด้วยวิธีการฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน หรือ On the Job Training (OJT) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ผู้ได้รับการฝึกอบรมจะมีโอกาสเรียนรู้ขั้นตอนของการปฏิบัติงานจากสภาพจริง
การพัฒนาบุคลากรในระบบแฟรนไชส์ด้วย OJT หน้าที่หลักของแฟรนไชส์ซอร์หรือเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องกำหนดการฝึกอบรมให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์และพนักงานของแฟรนไชส์ซี ตั้งแต่การปฐมนิเทศระบบการทำงานขั้นตอนการปฏิบัติงาน การให้ความรู้ในผลิตภัณฑ์ การให้ความรู้ด้านการบริการ ตลอดจนวิสัยทัศน์ ปรัชญาและนโยบายขององค์กร
เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการธุรกิจ ไม่ว่าแนวทางการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงความผิดพลาดและล้มเหลวมาแล้ว จนสามารถสร้างบทเรียนให้กับธุรกิจและถ่ายทอดสู่แฟรนไชส์ซี เป็นการพัฒนาความรู้ที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ รวมถึงการพัฒนาวิธีการทำงานต่างๆ ในร้านสาขาแฟรนไชส์ซีจะต้องเห็นเป็นรูปธรรมเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขาหรือทุกร้าน
ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องมีการสร้างคู่มือการปฏิบัติงานแฟรนไชส์ ที่รวบรวมสารพัดวิธีในการดำเนินธุรกิจทุกๆ ด้าน ที่เป็นความรู้ที่เจ้าของแฟรนไชส์ยึดปฏิบัติมา จนสะสมมาและบันทึกจัดเก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ในคู่มือ การสร้างหน่วยงานที่ให้ความรู้หรือฝ่ายฝึกอบรม ที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องให้ความรู้พนักงานในสายปฏิบัติการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ ด้วยการจัดอบรมที่มีระบบ มีขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีระบบงานที่เป็นสากล มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจจะต้องทำการฝึกอบรมให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์และพนักงาน ทั้งแบบทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีทั้งอบรมให้ความเกี่ยวกับการทำงาน การบริหารจัดการร้านสาขาแฟรนไชส์ ทั้งที่บริษัทเจ้าของแฟรนไชส์ และอบรมภาคปฏิบัติแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในร้านสาขาจริงๆ ก่อนที่จะทำการเปิดร้าน อาจจะกำหนดเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์และพนักบงานสามารถปฏิบัติงานทำที่ได้รับการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและธุรกิจประสบความสำเร็จ
ถ้าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีองค์กรไม่ใหญ่มากและมีแผนกต่างๆ ไม่ครบ แต่เจ้าของแฟรนไชส์ควรจะต้องมีแผนกฝึกอบรม หรือทีมงานฝึกอบรมที่มีความรู้ความสามารถ ถ้ายังไม่สามารถจ้างประจำได้ ผู้มีความรู้ดีที่สุดในองค์กรหรือตัวเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ต้องมาเป็นผู้ฝึกสอนถ่ายทอดการปฏิบัติงานและสอนการบริหารธุรกิจให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เอง
จะเห็นได้ว่า การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน หรือ On the Job Training ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน ผู้ซื้อแฟรนไชส์และพนักงานสาขาแฟรนไชส์ เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้ขั้นตอนของการปฏิบัติงานจากสภาพจริงหรือร้านจริงๆ แล้ว ยังมีโอกาสลงมือปฏิบัติงานไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3RtEQbq
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)