MR.D.I.Y. ร้านขายสินค้าจิปาถะ แสนล้าน เติบโตในไทย

เชื่อหรือไม่ว่า โมเดลร้านขายสินค้าไลฟ์สไตล์ MR.D.I.Y. ร้านขายสินค้าจิปาถะ ราคาไม่แพง เกิดขึ้นมากมายในไทย ไม่ว่าจะแบรนด์สัญชาติญี่ปุ่น จีน ไทย มาเลเซีย อาทิ MR. D.I.Y., Moshi Moshi, MUJI, Daiso, Miniso ยอมรับว่าเป็นธุรกิจที่ดูเหมือนเงียบๆ แต่ขยายตัวและเติบโตก้าวกระโดด ขายสินค้าแค่หลักสิบ หลักร้อย แต่กลับมีรายได้พันล้าน หมื่นล้าน

ถ้าถามว่าตอนนี้ ร้านค้าปลีกสินค้าจิปาถะแบรนด์ไหนมีสินค้าให้เลือกมากที่สุด ไปซื้อที่เดียวได้ครบทุกอย่าง ไม่ต้องเสียเวลาไปร้านอื่น คงหนีไม่พ้น “MR. D.I.Y.” ร้านโลโก้สีเหลืองมาพร้อมกับตัวการ์ตูนรูปค้อน กำลังยกนิ้วโป้งให้ เป็นร้านค้าปลีกอุปกรณ์ซ่อมแซมและตกแต่งบ้าน รวมถึงสินค้าจิปาถะต่างๆ จากมาเลเซีย มีสินค้ามากกว่า 15,000 รายการ

คู่แข่งของ MR. D.I.Y. ในไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

MR.D.I.Y. ร้านขายสินค้าจิปาถะ

  1. ร้านค้าขายสินค้าในราคาถูก ภายในห้างเหมือนกัน เช่น Moshi Moshi, MUJI, Daiso, Miniso แต่ทางร้าน MR. D.I.Y. จะเน้นขายของตกแต่งบ้าน และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ราคาคุ้มค่า
  2. ห้างขายวัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านครบวงจร เช่น HomePro, Global House และ ไทวัสดุ

สินค้า MR. D.I.Y. มีหลากหลายกว่า 15,000 รายการ เน้นไปที่สินค้าภายในบ้านเหมือนห้าง แต่ MR. D.I.Y. ต่างตรงมีโมเดลร้านเล็กและขายสินค้าชิ้นเล็กกว่า ไม่เน้นสินค้าชิ้นใหญ่เหมือนกับ HomePro หรือไทวัสดุ

นั่นแสดงให้เห็นว่า MR. D.I.Y. มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนคู่แข่งในตลาดเมืองไทย ทำให้มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่างกัน

เรื่องราวและกลยุทธ์ MR. D.I.Y. เป็นอย่างไร ทำไมถึงโกยรายได้ปี 2023 ถึง 12,832 ล้านบาท และเติบโตก้าวกระโดดในไทย

จุดเริ่มต้น MR.D.I.Y.

MR.D.I.Y. เกิดขึ้นเมื่อปี 2005 ในประเทศมาเลเซีย โดยคุณทัน หยู เย่ (Tan Yu Yeh) ปัจจุบันเป็นเศรษฐีมาเลเซียติดทำเนียบ Forbe มีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 48,000 ล้านบาท เห็นปัญหาของชาวมาเลเซียที่เสียเวลาในการไปหาซื้ออุปกรณ์ซ่อมแซมและตกแต่งบ้านหลายร้าน จึงมีไอเดียเปิดร้านขายอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านแบบครบวงจร มีสินค้าทุกอย่างรวมไว้ในร้านเดียว เพื่อไม่ให้ลูกค้าเสียเวลาไปซื้อหลายๆ ร้าน เมื่อต้องการซ่อมแซมบ้าน

MR.D.I.Y. สาขาแรกเปิดในห้องแถวเล็กๆ คูหาเดียวในกัวลาลัมเปอร์ ขายอุปกรณ์เครื่องมือช่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ในราคาสบายกระเป๋า ต่อมาได้เพิ่มสินค้าที่จำเป็นในหมวดพ่อบ้านแม่บ้าน จนมีกระแสตอบรับอย่างรวดเร็ว

เพียงแค่ 1 ปี MR.D.I.Y. มีสาขาถึง 3 สาขา พอมาในปี 2009 ได้เข้าไปเปิดสาขาในศูนย์การค้า AEON MALL ตามมาด้วย Tesco, Giant Mall ทุกสาขาในห้างผลตอบรับดี ยอดขายเติบโตก้าวกระโดด พอถึงปลายปี 2020 MR.D.I.Y. เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นมาเลเซีย มูลค่าอยู่ที่ 19,000 ล้านริงกิต หรือราวๆ 1.4 แสนล้านบาท

ผ่านมา 20 ปี MR.D.I.Y. กลายเป็นแบรนด์ร้านค้าปลีกอุปกรณ์ตกแต่งแต่งบ้านใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ภายใต้ชื่อ MR.D.I.Y. Group (M) Berhad มูลค่าตลาดสิ้นเดือน ก.ย. 2024 อยู่ที่ 4.67 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 1.5 แสนล้านบาท มีสาขากว่า 1,000 แห่ง ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 90% ในประเทศ

MR.D.I.Y. ยังแตกแบรนด์ลูกอีก 2 แบรนด์ คือ MR.TOY ร้านขายของเล่นราคาถูก และ MR.DOLLAR ร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคเหมือนกับ Daiso, MINISO

ตอนนี้ MR.D.I.Y. มีสาขากว่า 2,700 แห่งใน 11 ประเทศ ทั้งในอาเซียนและยุโรป อาทิ มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน อินโดนีเซีย สเปน ตุรกี กัมพูชา อินเดีย และเวียดนาม

MR.D.I.Y. บุกตลาดไทย

MR.D.I.Y. ร้านขายสินค้าจิปาถะ

ไทยเป็นประเทศแรกที่ MR.D.I.Y. เข้ามาบุกตลาดตั้งแต่ปี 2016 สาขาแรกเปิดอยู่ที่ซีคอนบางแค ได้การตอบรับดีไม่ต่างจากประเทศบ้านเกิดอย่างมาเลเซีย ภายใน 1 ปี ขยายสาขาได้ถึง 50 แห่ง โมเดลขยายสาขาในไทยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ จับมือพันธมิตรเปิดร้านในห้างปลีกหรือศูนย์การค้า อาทิ โลตัส เซ็นทรัล บิ๊กซี ฯลฯ

รูปแบบ Stand Alone ในทำเลใกล้ที่พักอาศัยย่านชุมชนที่ไปถึงตัวเมืองยาก และรูปแบบ Express โมเดลขนาดเล็กในทำเลย่านธุรกิจจะเลือกสินค้าขายดีมาจำหน่าย สาขาทั้งหมดของ MR.D.I.Y. บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเอง ไม่ใช้ระบบแฟรนไชส์

MR.D.I.Y. สาขาในกรุงเทพฯ และภาคกลางมียอดขายมากสุด 40% รองมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดซื้อเฉลี่ย 160 บาทต่อคน ราคาเฉลี่ยชิ้นละ 40 บาท โดยรวมทั่วประเทศ MR.D.I.Y. มียอดซื้อเฉลี่ย 200 บาทต่อใบเสร็จ หมวดสินค้าขายดีที่สุด คือ สินค้ากลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือนและฮาร์ดแวร์

ปัจจุบันสาขา MR.D.I.Y. ในไทยมีกว่า 900 สาขาใน 74 จังหวัด ในปี 2025 ยังเดินหน้าขยายสาขาต่อ ภายใต้งบ 2,000 ล้านบาท เปิดอีก 200 สาขา เน้นโมเดล Satand Alone ช่วยให้ลูกค้าสะดวกเข้าถึงง่าย

เมื่อถึงสิ้นปี 2025 MR.D.I.Y. จะมีทั้งหมด 1,100 สาขา ครบทั้ง 77 จังหวัด ปัจจุบันยังขาด 3 จังหวัดยังไม่เปิด เริ่มไตรมาสแรกปี 2025 เปิดที่แม่ฮ่องสอน 2 สาขา พังงา 1 สาขา และยะลา 1 สาขา ตั้งเป้าแตะ 1,000 สาขาในครึ่งปีแรก 2025

รายได้ MR.D.I.Y. ในไทย

MR.D.I.Y. ร้านขายสินค้าจิปาถะ

MR.D.I.Y. ในไทยอยู่ภายใต้การบริหารของ บริษัท มิสเตอร์. ดี.ไอ.วาย. โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จากการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินของบริษัทฯ ในช่วงการนำเสนอ IPO พบว่า

  • ปี 2564 มีรายได้ 7,182 ล้านบาท กำไร 836 ล้านบาท
  • ปี 2565 มีรายได้ 9,941 ล้านบาท กำไร 1,051 ล้านบาท
  • ปี 2566 มีรายได้ 12,832 ล้านบาท กำไร 1,381 ล้านบาท
  • ไตรมาส 2 ปี 2567 มีรายได้ 7,567 ล้านบาท กำไร 794 ล้านบาท

ส่วนผลประกอบการของบริษัท มิสเตอร์. ดี.ไอ.วาย. โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หลังจาก IPO แจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า

  • ปี 2566 มีรายได้ 4,285 ล้านบาท กำไร 4,207 ล้านบาท

กลยุทธ์ MR.D.I.Y. โตในไทย

1.ขายราคาถูก ครบวงจร ตามสโลแกน Always Low Prices ราคาถูกคุ้มเสมอ ขายถูกกว่าร้านอื่นในตลาด 25% ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย โดยเฉพาะลูกค้าที่ชอบคิดมากเรื่องค่าใช้จ่ายเวลาจะซื้ออุปกรณ์พวกนี้ ที่สำคัญร้านแต่ละสาขามีสินค้าครบทุกอย่างกว่า 15,000 รายการ ใน 10 หมวดสินค้า ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ประดับยนต์ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เครื่องเขียนและอุปกรณ์กีฬา ของเล่น ของขวัญ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงเครื่องประดับ และเครื่องสำอาง สินค้าขายดีที่สุดเป็นกลุ่มอุปกรณ์ดูแลบ้าน ตกแต่งบ้าน และฮาร์ดแวร์

2. One-Stop Shopping ตอบโจทย์ลูกค้าที่อยากซื้อสินค้าหลายอย่างในที่เดียว ทำให้ลูกค้าไม่เสียเวลาไปหาซื้อสินค้าจากหลายร้าน แถมยังเลือกซื้อสินค้าในหลายหมวดในร้านเดียว ช่วยอำนวยสะดวกและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า

3. กระจายสาขาและช่องทางการขาย ขยายสาขารวดเร็วในหลายพื้นที่ใกล้บ้าน รวมถึงขยายไปต่างประเทศ ทำให้ MR.D.I.Y. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายขึ้น อย่างในไทยช่วงแรกที่ MR.D.I.Y. เข้ามา ส่วนใหญ่จะเปิดในห้างค้าปลีกต่างๆ ต่อมาปรับโมเดลเปิดสาขาแบบ Stand Alone ตามพื้นที่ต่างๆ ที่ลูกค้าเข้าถึงตัวเมืองได้ยาก

4. สร้าง Brand Awareness ที่แข็งแกร่ง แม้ MR.D.I.Y. จะเป็นแบรนด์นานาชาติ แต่ให้ความสำคัญกับการตลาด Localize ออกแคมเปญที่เหมาะกับลูกค้าในแต่ละท้องถิ่น ขายสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ที่สำคัญสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ทั้งการให้บริการและเข้าถึงสินค้าง่ายสะดวก พนักงานในร้านช่วยแนะนำสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการลูกค้า

5. บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ MR.D.I.Y. มีเครือข่ายซัพพลายเออร์ทั้งในจีนและหลายประเทศในเอเชียกว่า 800 ราย คอยป้อนสินค้าให้แต่ละสาขา ทำให้มีสินค้าเพียงพอตลอดเวลา ที่สำคัญทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง สามารถสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากได้ในราคาถูก ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี

6. ทำการตลาดและโปรโมชั่น เน้นการสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ตลอดจนโปรโมชั่นพิเศษดึงดูดลูกค้า เช่น การลดราคาผลิตภัณฑ์ในบางช่วง หรือการจัดโปรโมชั่นในวันสำคัญต่างๆ เพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้า ยังมีช่องทางออนไลน์ที่เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

สรุป กลยุทธ์ทำให้ MR.D.I.Y. เติบโตรวดเร็วในไทย เอาชนะคู่แข่งได้มาจาก

  • สินค้าราคาถูก คุ้มค่าเงินในกระเป๋า
  • One-Stop Shopping ซื้อสินค้าหลายอย่างได้ในที่เดียว สะดวกสบายลูกค้า
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง ทำให้สั่งซื้อสินค้าจำนวนมากได้ในราคาถูก สุดท้ายก็ขายราคาถูกกว่าคู่แข่งได้ เป็นโมเดลธุรกิจเหมือน MIXUE ขายถูก ครองใจลูกค้า ทำให้ขยายสาขาได้เร็ว

อ้างอิงข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช