Momoyo แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาอินโด มาไทยแน่!

อินโดนีเซียเป็นประเทศเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก ไม่ต่างจากจีน นอกจากมีแบรนด์ Ai-Cha ที่บุกตลาดในไทยไปแล้ว ยังมี Momoyo แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้อีกแบรนด์ ที่มีเป้าหมายบุกตลาดในประเทศอาเซียนด้วยเช่นกัน โดยใช้กลยุทธ์แบบ Ai-Cha และ Mixue คือ “ราคาถูก+แฟรนไชส์” จับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นคนรุนใหม่

เรื่องราวของ Momoyo แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ในประเทศอินโดนีเซีย ก่อตั้งเมื่อปี 2022 ภายใต้การบริหารของ PT Junylife ต่อมาได้เปิดร้านแรกเดือนเมษายน 2023 ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ต่อจากนั้นในอีก 3 เดือน ขยายสาขาเร็วมากกว่า 300 สาขา ก่อนขยายสาขาในฟิลิปปินส์เดือนตุลาคม 2023 และเปิดสาขาแรกในมาเลเซียเดือนธันวาคม 2003

Momoyo

Momoyo ตั้งเป้าขยายสาขาให้ได้ครบ 1,000 สาขาในอินโดนีเซียภายในสิ้นปี 2024 และมีการวางรูปแบบการขยายแฟรนไชส์ในต่างประเทศด้วยการให้สิทธิ์แบบมาสเตอร์แฟรนไชส์ บริษัทหรือนักลงทุนที่ได้รับสิทธิ์ในประเทศนั้น สามารถเปิดขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนหรือประชาชนทั่วไปในประเทศนั้นได้ ราคาแฟรนไชส์อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

เอกลักษณ์การออกแบบร้านของ Momoya มีทั้งโทนสีชมพู เหลือง แดง มีมาสคอตเป็นหมีสีขาว โมเดลร้านแบบเดียวกับแบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน ในร้านมีเมนูให้เลือกหลากหลาย

อาทิ ไอศกรีมโคนวานิลลา สตรอเบอร์รี่ มัทฉะ มะม่วง ช็อคโกแล็ต ไอศกรีมไข่มุก รวมถึงชาผลไม้รสชาติต่างๆ มีชาผลไม้จัมโบ้แก้วใหญ่ๆ และกาแฟหลากหลายรสชาติ ราคาสินค้าในร้านที่เปิดในประเทศฟิลิปปินส์เริ่มต้น 40p – 120p หรือราวๆ 25-75 บาท ดูแพงกว่า Ai-Cha และ Mixue

แต่ตั้งข้อสังเกตอักอย่าง คือ รูปแบบการตกแต่งร้านในประเทศไม่เหมือนกัน อย่างกรณีในฟิลิปปินส์มีการตกแต่งร้านออกโทนสีชมพู ส่วนมาเลเซียตกแต่งร้านออกโทนสีแดงเหมือน Ai-Cha อินโดนีเซียเจ้าของแบรนด์โทนสีเหลืองน้ำผึ้ง

ในส่วนของงบการลงทุนแฟรนไชส์ Momoyo ตามรายงานข้อมูลของสื่อมวลชนในอินโดนีเซีย งบการลงทุนทั้งหมด 377,000,000 ล้านรูเปียห์ หรือ 842,462 บาท รวมเงินมัดจำ 40,000,000 ล้านรูเปียห์ หรือ 89,386 บาท จะได้คืนภายหลัง

Momoyo

ภาพจาก www.facebook.com/MomoyoPhilippines

มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก มีจุดเริ่มต้นใน 2 ประเทศ คือ จีน และอินโดนีเซีย โดย Mixue, WEDRINK และ Cooler City เป็นของจีน ส่วน Ai-Cha และ Momoyo เป็นของอินโดนีเซีย ทั้งหมดดำเนินธุรกิจในรูปแบบกัน คือ “ราคาถูก+แฟรนไชส์” ตีตลาดเป้าหมายในกลุ่มประเทศอาเซียนก่อนตีตลาดประเทศอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าจับตามองต่อจากนี้ไป อาจไม่ใช่ว่าจะมีแบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้จากไหนเข้าบุกตลาดในไทยบ้าง แต่สิ่งที่หลายคนอดเป็นห่วงไม่ได้ ก็คือ…ฟองสบู่ในตลาดไอศกรีมและชาอาจแตกหรือเปล่าเท่านั้น

ข้อมูลจาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช