Mere Exposure Effect อยากซื้อ! เพราะเห็นบ่อย
Mere Exposure Effect เป็นกลไกจิตใจที่เกิดขึ้น เมื่อคนเราได้รับรู้ เช่น ได้เห็น ได้ยิน ได้พบสิ่งนั้นมาก่อน เราจะมีแนวโน้มที่จะยอมรับสิ่งนั้นได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้ง เรียกว่าแค่คุ้น ๆ ก็มีใจให้แล้ว โดยความคุ้นที่ว่านั้นเราอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ได้
ยังมีข้อมูลเชิงลึกลงไปอีกว่าถ้าคนเราได้รับรู้สิ่งใดแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นไม่เกิน 30 วินาทีแต่ถ้าสิ่งนั้นเกิดซ้ำๆ เห็นบ่อยๆ สุดท้ายจะเกิดเป็นความคุ้นเคยและกลายเป็นยอมรับสิ่งนั้นไปได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งก็มีการทดลองตามสมมุติฐานนี้กันอย่างแพร่หลาย ผลสุดท้ายก็คือความจริงตามที่กล่าวไปนั้น
ถามว่าแล้วเรื่องนี้มีผลอย่างไรกับ “การตลาด”?
ต้องบอกเลยว่ามีผลมาก และทุกวันนี้ Mere Exposure Effect ก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งบางทีเราเองก็อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเรากำลังตกอยู่ในการตลาดแบบ Mere-Exposure Effect ที่ว่านี้
เวลาเห็นโฆษณาในทีวีมาแบบซ้ำๆ ที่แรกก็รำคาญ ดูไปดูมาสุดท้ายก็อยากซื้อซะงั้น
- ดนตรีที่ฟังครั้งแรกเพลงอะไรไม่เห็นเพราะ ฟังซ้ำๆหลายครั้ง เริ่มร้องได้โดยไม่รู้ตัว
- สินค้าที่เห็นทุกวัน เดินผ่านทุกวัน สุดท้ายก็ต้องซื้อมาใช้เพราะอยากรู้ว่ามันดีจริงไหม
- โฆษณาออนไลน์โผล่มาให้เห็นจนรำคาญ เมื่อเห็นมากๆ บางทีก็ลองคลิกดูซิว่าคืออะไร
ถ้ายังไม่เข้าใจหลักการของ Mere Exposure Effect มากพอลองนึกถึงสมัยก่อนที่มีเพลงอย่าง Pen-Pineapple-Apple-Pen ซึ่งทั้งเพลงก็ร้องอยู่แค่นี้ แต่กลายเป็นว่านี่คือวลีฮิตติดหูที่คนพากันร้องเพลงนี้ทั่วบ้านทั่วเมือง เป็นไวรัลที่โด่งดัง หรือแม้แต่เพลงของแบรนด์แลคตาซอยที่ร้องว่า “แลคตาซอย 5 บาท 125 มิลลิลิตร..” ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เมื่อคนได้ฟังหลาย ๆ ครั้งเข้า ก็ทำให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคย ชื่นชอบ สร้างการจดจำแบรนด์ และร้องเพลงของแบรนด์แลคตาซอยตามได้โดยไม่รู้ตัว
แต่หลักการนี้ก็ใช่ว่าจะเป็นการทำให้เห็นซ้ำแบบบพร่ำเพื่อต้องทำควบคู่กับหลายปัจจัยเพื่อให้การทำโฆษณานั้นได้ประโยชน์อย่างสูงสุดเช่น
- ศึกษากลุ่มเป้าหมายของเราให้ชัดเจนทั้งเพศ อายุ อาชีพ ความสนใจ พฤติกรรม สิ่งที่ลูกค้าต้องการ เป็นต้น
- กำหนดเป้าหมายอย่างแม่นยำ โดยต้องเลือกแพลตฟอร์มโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
- สร้างรูปแบบโฆษณาที่ดึงดูดใจ ยิ่งเป็นยุคนี้การใช้คำที่กระชับ ตรงประเด็น หรือเป็นภาพ/วีดีโอที่น่าสนใจจะทำให้น่าสนใจได้ดียิ่งกว่า
- มีการพัฒนาแคมเปญโฆษณาให้ดีต่อเนื่อง ต้องวิเคราะห์ว่าที่ทำไปแล้วดีไม่ดีอย่างไร มีอะไรต้องปรับปรุงบ้าง
สำหรับ Mere-Exposure Effect ไม่ใช่การตลาดที่แปลกใหม่ อาจเป็นเรื่องที่เราก็รู้กันอยู่แล้วเพียงแต่ว่าใครจะเอาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งใครที่เพิ่งเปิดตัวธุรกิจ หรือสินค้าใหม่ ๆ ก็สามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้โดยทำให้คนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับแบรนด์ของเราก่อนผ่านการเห็นสินค้าหรือโฆษณาหลาย ๆ ครั้งในความถี่ที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกค้าเกิดความคุ้นเคยและเปิดใจให้กับสินค้าของเราก่อน จนอาจเกิดความรู้สึกชอบโดยไม่รู้ตัว และในที่สุดก็ซื้อสินค้าไปในที่สุด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)