Maru Cha แฟรนไชส์เครื่องดื่มสุดฮิต! ลงทุนง่าย ยิ่งขาย ยิ่งรวย
“ชานมไข่มุก” เป็นหนึ่งใน แฟรนไชส์เครื่องดื่มสุดฮิต ที่ไม่มีวันตกกระแส จากข้อมูลพบว่าการตลาดธุรกิจชานมไข่มุกทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 65,200 ล้านบาท และมูลค่านี้จะเพิ่มสูงถึง 100,000 ล้านบาทภายในปี 2023 สอดคล้องกับมูลค่าการตลาดชานมไข่มุกในเมืองไทยซึ่งอยู่ที่ 2,500 ล้านบาท พร้อมกับบรรดาร้านชานมไข่มุกมากมายที่เปิดตัวทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ ผลดีจึงตกอยู่กับผู้บริโภคที่มีโอกาสได้ลองเมนูชานมไข่มุกที่หลากหลาย แต่หากจะคิดเรื่องการลงทุน
www.ThaiSMEsCenter.com ในฐานะที่อยู่ในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์มานานขอแนะนำเทคนิคการเลือกแฟรนไชส์ชานมไข่มุกเพื่อลงทุน ว่าควรเป็นแบรนด์ที่มีอัตราการเติบโตชัดเจน มีการพัฒนาสินค้าต่อเนื่อง มีแพคเกจลงทุนในราคาที่เหมาะสม สำคัญคือเจ้าของแฟรนไชส์เอาใจใส่ผู้ลงทุนเป็นอย่างดี และควรมีผลชี้วัดจากแฟรนไชส์ซีที่ลงทุนประสบความสำเร็จ ซึ่งแบรนด์ Maru Cha ตอบโจทย์ทุกอย่างที่กล่าวมาถือเป็นสุดยอด แฟรนไชส์เครื่องดื่มสุดฮิต ที่ใครเลือกลงทุนแล้วมีแต่คำว่า รวย รวย และรวย
ทำไมต้องเป็น Maru Cha?
หลายคนสงสัยทำไมต้องชื่อแบรนด์ “Maru Cha” เราได้ข้อมูลไขกระจ่างเรื่องนี้จากเจ้าของแฟรนไชส์ Maru Cha โดยตรง ที่บอกว่าจุดเริ่มต้นของ Maru Cha ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปแมว เพราะส่วนตัวคือคนรักแมว และมีแมวที่เลี้ยงอยู่ชื่อว่า “มารุ” ซึ่ง แมวก็ถือว่าเป็นสัตว์นำโชคที่หลายประเทศรู้จักเป็นอย่างดี รวมถึงในประเทศไทยก็มี “ทาสแมว” กันอยู่ไม่น้อย การใช้ชื่อแบรนด์ว่า “Maru Cha” ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความน่ารักของแบรนด์ ความสดใสของสินค้า
ซึ่ง Maru Cha สร้างรูปแบบร้านด้วนสีสันสดใส ดูแล้วร่าเริง ร่วมกับราคาขายที่แตกต่าง โดยเน้นให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นวงกว้าง ทั้งนักเรียน นักศึกษา พ่อบ้านแม่บ้าน คนวัยทำงาน ทุกๆคนสามารถเลือกเครื่องดื่มของ Maru Cha ได้ แบรนด์ของ Maru Cha จึงเป็นแฟรนไชส์เครื่องดื่มสำหรับคนทุกเพศทุกวัย รวมถึงการใส่ใจในคุณภาพวัตถุดิบ ที่สอดคล้องกับราคาเรียกว่าสินค้าทุกเมนูคุ้มเกินราคา ให้ลูกค้ามีความสุข ผู้ลงทุนมีกำไร นี่คือแนวทางของแฟรนไชส์ Maru Chaที่ได้วางไว้ในเบื้องต้น
เดินหน้าขยายสาขากว่า 400 แห่งในระยะเวลาแค่ 1 ปี
Maru Cha เปิดตัวธุรกิจเมื่อปี 2561 ถึงตอนนี้ก็เพียง 1 ปี แต่เป็น 1 ปีที่ประสบความสำเร็จและมีอัตราการเติบโตสูงมาก ดูได้จากจำนวนสาขาปัจจุบันที่มีกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ และยังไม่หยุดแค่นี้ยังมีอีกหลายสาขาที่จ่อคิวเตรียมเปิดตัวเพิ่มมากขึ้น เหตุผลน่าสนใจว่าทำไมคนถึงฮิตและคิดอยากลงทุนกับ Maru Cha มองกันที่ผลิตภัณฑ์จะพบว่าแบรนด์ Maru Cha มีความน่ารักของเคาน์เตอร์ สีสันดึงดูดลูกค้าอย่างดี ดูแล้วสดใส และสินค้าก็มีความทันสมัยตอบโจทย์คนยุคใหม่ทั้งนักเรียน นักศึกษา คนวัยทำงาน
เมนูซิกเนอเจอร์ที่น่าสนใจเช่น ชาชีส บราวน์ชูก้า ชานมไข่มุก อิตาเลี่ยนโซดา ชานมเผือก ชาเขียวไข่มุก ล้วนแต่เป็นเมนูขายดี และรสชาติของ Maru Cha ถือว่าเอาใจสายสุขภาพด้วยความหวานที่พอดี ลูกค้าสามารถเลือกความหวานได้ตามต้องการ จึงเป็นอีกหนึ่งจุดขายที่ทำให้ลูกค้าพอใจ และเมื่อเห็น Maru Cha อยู่ที่ไหนก็แน่ใจในรสชาติที่มีคุณภาพ ผลดีจึงอยู่ที่ผู้ลงทุนแค่เปิดร้านในย่านชุมชน หน้าโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ก็ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการได้
5 เหตุผลทำไมแฟรนไชส์ Maru Cha ถึงขายดี ฮิตกันทั่วประเทศ
1.ลงทุนง่ายไม่ยุ่งยาก
จุดเด่นของ Maru Cha คือลงทุนครั้งเดียวจบ เป็นแฟรนไชส์ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปี ไม่หักเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย มีการสอนสูตรเมนูเครื่องดื่มอย่างละเอียด รวมถึงไม่บังคับยอดสั่งซื้อขั้นต่ำ รายได้ของผู้ลงทุนจึงเป็นกำไรที่มากขึ้นด้วย
2.แพคเกจลงทุนราคาไม่แพง
ปัจจุบันแพคเกจลงทุนของ Maru Cha มีด้วยกัน 4 แพคเกจคือ
- แพคเกจลงทุน Size S ราคา 59,900 บาท
- แพคเกจลงทุน Size M ราคา 129,000 บาท
- แพคเกจลงทุน Size L ราคา 259,000 บาท
- แพคเกจลงทุน SizeXL ราคา 3xx,xxx บาท( ราคานี้จะเป็นงานบิ้วอินตามขนาดพื้นที่ให้เหมาะสมกับทางร้าน)
โดยทุกแพคเกจมีอุปกรณ์พร้อมเปิดร้านตามแต่แพคเกจที่เลือกและมีวัตถุดิบพร้อมขายเริ่มตั้งแต่ 500 – 2,000 แก้ว แถมยังมีการสอนชงเครื่องดื่มทุกสูตรอย่างละเอียด สอนจนกว่าจะทำได้จริง
3.ดูแลผู้ลงทุนอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ได้ใจผู้ลงทุนมากที่สุดคือ “การดูแลอย่างใกล้ชิด” สอบถามจากบรรดาแฟรนไชส์ซีหลายแห่งพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า มีปัญหาไม่ว่าจะตอนไหนอย่างไร สามารถไลน์หา โทรหา ซึ่งเจ้าของแฟรนไชส์จะตอบกลับในทันทีไม่ว่าจะช่วงไหนเวลาไหน ทำให้ผู้ลงทุนรู้สึกว่าได้รับการดูแลอย่างดีไม่มีคำว่าทอดทิ้งกัน รู้สึกอบอุ่นเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกันทำให้เชื่อมั่นในแบรนด์ Maru Cha ยิ่งขึ้น
4.มีเคสตัวอย่างของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จ
ในการตัดสินใจเลือกลงทุนกับแฟรนไชส์ใดก็ตามสิ่งที่ผู้ลงทุนอยากรู้มากที่สุดคือ ลงทุนแล้วจะมีโอกาสประสบความสำเร็จแค่ไหน ซึ่ง Maru Cha มีเคสตัวอย่างของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จหลายแห่ง ยกตัวอย่าง Maru Cha สาขาอิมพีเรียล เวิร์ล สำโรง ชั้น 5 ที่สร้างปรากฏการณ์ด้วยยอดขายสูงสุดคือ 400 แก้วต่อวัน สร้างรายได้สูงสุดถึง 8,000 -10,000 บาท
และยิ่งขายดีในช่วงเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ แถมในร้านใช้ลูกจ้างเพียงแค่ 2 คนก็สามาถเปิดร้านได้โดยที่เจ้าของร้านสามารถไปทำกิจการอื่นๆ ได้อีก ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทำให้ผู้ลงทุนมองเห็นทิศทางของกำไรในธุรกิจนี้ได้ชัดเจนขึ้น
5.กำไรเฉลี่ยต่อแก้วกว่า 59%
ก่อนตัดสินใจลงทุนหลายคนมักถามว่า กำไรดีไหม? กำไรเฉลี่ยต่อแก้วเท่าไหร่? คำถามนี้ Maru Cha ตอบชัดเจนว่ากำไรเฉลี่ยต่อแก้วกว่า 59% โดยขึ้นอยู่กับทำเลที่ขาย สาขาที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีมียอดขายต่อวันไม่น้อยกว่า 300-400 แก้ว
ต้นทุนสำคัญคือวัตถุดิบที่ใช้ในการทำเครื่องดื่ม รวมถึงรายจ่ายประจำเดือนอย่างค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ ค่าน้ำค่าไฟ ต่างๆ เบ็ดเสร็จคนที่ลงทุนกับ Maru Cha มีกำไรต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 -20,000 บาท ซึ่งตัวเลขนี้ประเมินจากเกณฑ์ที่ขายได้แบบทั่วๆไป ซึ่งหากพื้นที่ที่ลงทุนมีจำนวคนมาก สินค้าขายได้มากขึ้นกำไรต่อเดือนก็จะยิ่งสูงกว่าที่คำนวณเป็นตัวอย่างให้เห็นนี้
5 ขั้นตอนลงทุนกับแฟรนไชส์ Maru Cha
สำหรับคนที่สนใจอยากร่วมลงทุนกับ แฟรนไชส์ Maru Cha ดูขั้นตอนการลงทุนต่างๆดังนี้
- วางเงินจองแฟรนไชส์ 50% เพื่อจองสิทธิ์และวันเวลานัดวันเรียน
- ทางแฟรนไชส์จะติดต่อนัดวันเรียนและเซ็นสัญญา ใช้เวลาเรียน 6 ชม. เข้าเรียนได้ 2 ท่าน
- วันที่เรียนลูกค้า ชำระเงินค่าแฟรนไชส์ส่วนที่เหลือเต็มจำนวน และเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ (วันที่ลงร้าน) การเรียนสูตรลูกค้าต้องมาเรียนและขายจริงที่สาขาหลัก จ.นครสวรรค์ กรณีที่ลูกค้าใม่สามารถมาเรียนที่สาขาหลักใด้ ทางแฟรนไชส์จะมีค่าเดินทางตามระยะทางเพื่อใปสอนลูกค้าถึงที่
- ทางแฟรนไชส์จะจัดส่งอุปกรณ์และวัตถุดิบต่างๆให้ภายใน 7-10 วัน (เคาเตอร์จัดส่งภายใน 7-10 วัน ไม่รวมค่าขนส่ง)
- เปิดร้านได้เลย พร้อมขาย
ทั้งนี้ในกรณีที่ลูกค้าต้องการให้ทางแฟรนไชส์ออกแบบร้าน จะต้องแจ้งขนาดพื้นที่ และส่งรูปหน้างานให้ทางแฟรนไชส์ดูก่อนทุกครั้งและจะใช้เวลา 5-7 วันในการออกแบบ ซึ่งวัตถุดิบที่ทางแฟรนไชส์สงวนให้ซื้อกับทางแฟรนไชส์ คือ แก้ว ฝาแก้ว ผงชง ใบชา เท่านั้น อีกทั้งแฟรนไชส์ Maru Cha ยังสงวนสิทธิ์ในการลงพื้นที่ของผู้ลงทุนเพื่อไม่ให้ทับซ้อนจะได้เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
โดยให้สิทธิ์อำเภอเมืองละ 3 สาขา สำหรับอำเภอเมืองขนาดใหญ่ลงได้ไม่เกิน 5 สาขา , ในห้างสรรพสินค้าให้สิทธิ์ลงได้ 1 สาขา , ตลาดกลางคืนที่ละ 1 สาขา , ตลาดท่องเที่ยวที่ละ 1 สาขา , ในกรุงเทพฯและปริมณฑล สามารถลงสาขาได้ตามระยะทางคำนวณจากระยะทางและอัตราประชากร เป็นสำคัญ
เป้าหมายของ Maru Cha ต้องการรุกตลาด AEC
จากความสำเร็จของ Maru Cha ในปัจจุบันที่ขยายฐานแฟรนไชส์เติบโตในประเทศได้อย่างแข็งแกร่ง เป้าหมายต่อไปของ Maru Cha คือการรุกตลาด AEC เพื่อเปิดตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีเป็นลำดับและเพื่อเป็นการขยายฐานการเติบโตของแบรนด์ให้ไปสู่ระดับสากล
ซึ่งก่อนจะไปถึงจุดนั้น Maru Cha ต้องการพัฒนาในส่วนของสินค้าให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีคุณภาพมากที่สุด จนถึงระดับที่มั่นใจก็จะเริ่มเจาะตลาดประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานเกินรอจะได้เห็น Maru Cha โกอินเตอร์ในต่างประเทศแน่
Maru Cha จึงถือเป็นอีกหนึ่งสุดยอดแฟรนไชส์สายเครื่องดื่มที่น่าสนใจและเป็นทางเลือกอย่างดีสำหรับคนที่กำลังมองหาโอกาสลงทุนในธุรกิจนี้ ด้วยราคาลงทุนที่เหมาะสม การดูแลเอาใจใส่อย่างดี และสินค้ามีการพัฒนาต่อเนื่อง เป็นที่ต้องการของคนทุกเพศทุกวัย
ไม่ว่าจะเลือกลงทุนเพื่อสร้างอาชีพเสริมหรือทำเป็นอาชีพหลัก แฟรนไชส์ Maru Cha คือคำตอบสุดท้ายในการสร้างรายได้ดีๆให้กับคนที่ตั้งใจทำจริง แฟรนไชส์ Maru Chaทำให้เรารวยได้แน่นอน
ต้องการลงทุนแฟรนไชส์
Maru Cha
โทร. : 065-2905063, 056-000845
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jz4el8
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)