Marrybrown แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฮาลาล ใหญ่สุดในโลก แต่ไม่ดังในไทย

ต้องยอมรับว่าธุรกิจร้านอาหารในไทยเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงถึง 4.35 แสนล้านบาท ซึ่งหนึ่งในหมวดร้านอาหารที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด มีมูลค่าตลาดราวๆ 4.5 หมื่นล้านบาท เมื่อเจาะลึกลงไปอีกจะพบว่า “ร้านไก่ทอด” มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.7 หมื่นล้านบาท

KFC ยังคงเป็นแบรนด์ระดับโลกที่ครองส่วนแบ่งตลาดในไทยมากกว่า 90% โดยมี 3 แฟรนไชส์ซีที่ได้รับสิทธิ์บริหารสาขาในไทย ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG), บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD) และ บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)

แต่รู้หรือไม่ว่า ตลาดไก่ทอดในไทย ยังมีอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วเอเชีย แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฮาลาล ที่ใหญ่สุดในโลก แต่คนไทยไม่ค่อยพูดถึง นั่นคือ Marrybrown ปัจจุบันมี 3 สาขาที่จังหวัดยะลาและปัตตานี

แฟรนไชส์ไก่ทอด Marrybrown มีจุดเด่นและมีความน่าสนใจอย่างไร ทำไมมีชื่อเสียงไปทั่วโลก แต่คนไทยไม่ค่อยรู้จัก

จุดเริ่มต้น Marrybrown

ภาพจาก www.facebook.com/MarrybrownMalaysia

Marrybrown แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดไก่ทอดมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นในปี 1981 ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู หรือ ยะโฮร์บาฮ์รู โดย Dato Lawrence Liew กับ Datin Nancy Liew ทั้ง 2 คนได้ไปขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อมาเปิดร้านไก่ทอด แต่ไม่ผ่าน จึงได้รวบรวมเงินออมของตัวเอง บวกกับไปยืมจากญาติและเพื่อนสนิทได้ 120,000 ริงกิต ก่อนจะมาเริ่มต้นธุุรกิจ

กว่าที่ทั้งคู่จะได้เปิดร้านแรกก็มีอุปสรรคมากมาย เนื่องจากเจ้าของสถานที่ไม่อยากจะให้ทั้ง 2 คนเช่าเปิดร้าน ในขณะที่ทางซัพพลายเออร์ก็มีความพร้อมฝยการจัดหาสินค้าและวัตถุดิบให้ แต่จะรับเฉพาะเงินสดเท่านั้น ไม่มีสินเชื่อหรือเครดิต

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฮาลาล
ภาพจาก www.facebook.com/MarrybrownMalaysia

แต่ในที่สุดทั้ง 2 คนก็สามารถเปิดร้านไก่ทอดแห่งแรกได้สำเร็จ เป็นร้านเล็กๆ ริมถนน Wong Ah Fook เมืองโจโฮร์บะฮ์รู หรือ ยะโฮร์บาฮ์รู พวกเขาตั้งชื่อร้านว่า “MarryBrown” เป็นชื่อ 3 พยางค์ เพื่อให้จดจำง่าย เหมือนร้านฟาสต์ฟู้ดชื่อดังของสหรัฐอเมริกา เช่น KFC, McDonald’s, Burger King และ Pizza Hut

ต่อมาในปี 1986 ร้านอาหาร Marrybrown ได้ขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์เป็นครั้งแรก ทำให้กิจการขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศมาเลเซีย

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฮาลาล
ภาพจาก www.facebook.com/MarrybrownMalaysia

Marrybrown ในมาเลเซียจะเน้นขายอาหารที่ต่างจากร้านฟาสต์ฟู้ดอื่นๆ ที่เน้นไปทางด้านเมนูอเมริกัน เช่น ไก่ทอด เบอร์เกอร์ ส่วนทางด้าน Marrybrown จะผสมผสานระหว่างอาหารมาเลเซียกับตะวันตกเข้าด้วยกัน

ในปี 1986 ร้านแฟรนไชส์สาขาแรกได้เปิดตัวเมนูข้าวรสชาติท้องถิ่นอย่าง Nasi Marrybrown ตามด้วยเมนู Nasi Lemak ในปี 1989 ต่อด้วยข้าวต้มไก่ในปี 1990 และก๋วยเตี๋ยวแกงในปี 2006 หลังจากนั้นได้พัฒนาเมนูใหม่ๆ อย่างข้าวมันไก่ แต่ก็ยังมีเมนูเหมือนร้านฟาสจ์ฟู้ดอื่นๆ เช่น ไก่ทอด เบอร์เกอร์ มันฝั่งทอด มันฝรั่งบชีส มันฝรั่งบด ไอศกรีม เหมือนร้าน KFC

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฮาลาล
ภาพจาก www.facebook.com/MarrybrownMalaysia

ในส่วนของเมนูอาหารหลักๆ ให้นึกถึง KFC เอาไว้ เช่น ไก่ทอด ปลาทอด เบอเกอร์ และอื่นๆ บวกกับเมนูบางอย่างที่แสดงถึงความเป็นท้องถิ่น เช่น Nasi Marrybrown หรือ เมนูอย่างหมี่โกเร็งใส่ไก่ทอด

ทางร้านเสิร์ฟอาหารท้องปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ เมนูท้องถิ่นอย่างนาซี ส่วนไก่ทอดก็มีการดัดแปลงซอสให้เข้ากับรสชาติที่คนเอเชียคุ้นเคย

หลังจาก Marrybrown ประสบความสำเร็จในมาเลเซีย มีสาขาทั่วประเทศ พอถึงปี 1992 ได้เปิดตลาดในต่างประเทศครั้งแรกที่ประเทศจีน ถือเป็นแบรนด์แฟรนไชส์แรกของมาเลเซียที่ขยายกิจการไปในต่างประเทศ

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฮาลาล
ภาพจาก www.facebook.com/MarrybrownMalaysia

ปี 1998 แฟรนไชส์ Marrybrown ถูกบันทึกลงใน Malaysia Book of Records ในฐานะ “แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดแบรนด์แรกของมาเลเซีย”

ถัดมาอีกปี 1999 ขยายตลาดในประเทศอินเดียได้สำเร็จ และอีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ศรีลังกา บาห์เรน คูเวต กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซีเรีย แทนซาเนีย อาเซอร์ไบจาน แอฟริกา มัลดีฟส์

ส่วนประเทศในประเทศอาเซียน Marrybrown เริ่มบุกตลาดในเมียนมาร์ที่แรกปี 2013, บรูไน สิงคโปร์ และไทยปี 2015 ในตอนนั้นสาขาของแฟรนไชส์ Marrybrown มีมากกว่า 500 แห่งใน 15 ประเทศ

ภาพจาก www.facebook.com/MarrybrownThailand

สำหรับในไทย แฟรนไชส์ไก่ทอด Marrybrown เข้ามาเปิดสาขาแรกที่ชั้น 1 ห้างโคลีเซี่ยมยะลา วันที่ 8 มี.ค. 2015 ต่อจากนั้นไปเปิดที่ห้างบิ๊กซีปัตตานี ต้นปี 2019 และสาขาปั๊มน้ำมั้น ปตท.สะเตง ก.ย. 2019

หลังจากที่ขยายแฟรนไชส์ในหลายประเทศได้สำเร็จ ทำให้ Marrybrown ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เรียกได้ว่าเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดมาเลเซียที่เทียบเท่าแบรนด์อเมริกา ไม่ว่าจะเป็นรสางวัล MATRADE Export Award, Best Franchise Innovation, Best Franchise CSR

แฟรนไชส์ไก่ทอด Marrybrown ไม่เพียงแต่ประสบความสำเร็จในเอเชีย และตะวันออกกลางเท่านั้น ยังสามารถขยายแฟรนไชส์ไปยังยุโรปได้สำเร็จ โดยบุเปิดตลาดในสวีเดนเป็นประเทศแรกในปี 2020 ต่อมาในปี 2023 เปิดสาขาแรกในประเทศออสเตรเลีย

ภาพจาก www.facebook.com/MarrybrownThailand

เหตุผลที่ Marrybrown ไม่ค่อยมีคนพูดถึงในไทย อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น

  1. Marrybrown มีการประชาสัมพันธ์และการตลาดในประเทศไทยน้อยกว่าฟาสต์ฟู้ดอื่น ที่มีการทำโฆษณาและแคมเปญใหญ่ๆ ตลอดเวลา ดังนั้น การโปรโมตของ Marrybrown อาจไม่สามารถสร้างกระแสให้คนรู้จักมากนัก
  2. ตลาดฟาสต์ฟู้ดในไทยมีการแข่งขันสูง มีแบรนด์ใหญ่เป็นที่รู้จักและมีฐานลูกค้าแน่นอยู่แล้ว เช่น KFC, McDonald’s, Burger King หรือแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดท้องถิ่น ทำให้ Marrybrown เผชิญกับความท้าทายในการสร้างการรับรู้และจับลูกค้าในระยะยาว
  3. Marrybrown เป็นแฟรนไชส์ที่เน้นเรื่องอาหารฮาลาล เหมาะกับกลุ่มลูกค้ามุสลิม แต่ในประเทศไทยมีทั้งมุสลิมและคนที่ไม่ใช่มุสลิม อาจทำให้หลายๆ คนไม่ชอบทานอาหารฮาลาล จึงทำให้แบรนด์ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
  4. Marrybrown มีสาขาเฉพาะทางภาคใต้ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จึงเป็นเหมือนร้านเฉพาะของคนท้องถิ่นเท่านั้น
  5. แม้ว่า Marrybrown เป็นแฟรนไชส์ที่มีการขยายสาขาไปทั่วโลก แต่ในไทยมีการขยายตัวค่อนข้างต่ำและได้รับความนิยมเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น ทำให้ Marrybrown ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
ภาพจาก www.facebook.com/MarrybrownThailand

ถึงแม้ว่า Marrybrown จะเป็นแบรนด์ แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดฮาลาล ที่ประสบความสำเร็จในหลายประเทศ แต่ในประเทศไทย ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม ประกอบกับในไทยมีแบรนด์ไก่ทอดมากมาย ทั้งแบรนด์ไทยและต่างชาติ ทำให้มีการแข่งขันสูง แม้ว่าจะมีอุปสรรคในการสร้างการรับรู้ในไทย แต่ Marrybrown ยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภคที่มองหาอาหารฟาสต์ฟู้ดที่เป็นฮาลาลและมีรสชาติหลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจเรื่องอาหารฮาลาล

อ้างอิงข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช