Luckin Coffee จีนแท้ เกือบหลับแต่กลับมาได้ ชัยชนะ 3 ปี ลุยไทยโลด!

ถ้าหลายคนยังจำกรณีข้อพิพาทในคดีเครื่องหมายการค้าระหว่างร้านกาแฟ Luckin Coffee ในจีน กับ Luckin Coffee ในไทย มีโลโก้รูปกวางหันหน้าคนละด้านได้ ล่าสุดวันที่ 10 มี.ค. 2025 บริษัทกฎหมายชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Tilleke & Gibbins ได้ประกาศชัยชนะครั้งสำคัญของแบรนด์กาแฟ Luckin Coffee ในจีน

หลังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางของไทย มีคำพิพากษาว่า สิทธิ์ในชื่อ “Luckin Coffee” และ “กราฟฟิกหัวกวาง” เป็นของ Luckin Coffee ในจีนแต่เพียงผู้เดียว พร้อมสั่งให้ Luckin Coffee ในไทยจ่ายเงินชดเชยสูงถึง 10 ล้านบาท จากกรณีพิพาทเครื่องหมายการค้า นับว่าเป็นหนึ่งในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้าที่มีค่าชดเชยสูงสุดในไทย

กรณีข้อพิพาทสิทธิ์เครื่องหมายการค้าระหว่างร้านกาแฟ Luckin Coffee ในจีน (ของแท้) กับ Luckin Coffee (ของปลอม) ในไทย มีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไร และ Luckin Coffee แท้จากจีนจะลุยตลาดในประเทศไทยเลยมั้ย

ภาพจาก https://bit.ly/4iFl3UN

ย้อยกลับไปปี 2020 กลุ่มบริษัท รอเยล 50อาร์ กรุ๊ป จำกัด (กลุ่มทุนจีน) ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Luckin Coffee ในไทย มีการออกแบบร้าน โลโก้ กราฟิกหัวกวาง โทนสี เหมือนกับร้านกาแฟ Luckin Coffee ของแท้ในจีนทุกอย่าง

อาศัยเดินเกม “จดก่อน-ฟ้องทีหลัง” หลังจากนั้น Luckin Coffee ในจีน ได้ทำการฟ้องร้อง Luckin Coffee ในไทย และได้มีการต่อสู้เรื่องสิทธิ์เครื่องหมายการค้ากันมาตลอด

พอมาปี 2023 Luckin Coffee ในจีน ชนะคดีในศาลชั้นต้น แต่กลับแพ้ในชั้นอุทธรณ์อย่างไม่คาดคิด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางของไทย ตัดสินให้บริษัท รอเยล 50อาร์ กรุ๊ป ถือสิทธิ์ครองเครื่องหมายการค้า Luckin Coffee ในไทยอย่างถูกต้องตามหลักกฎหมายของไทย

หลังจาก Luckin Coffee แท้ในจีนแพ้คดีไปในตอนนั้น ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงธุรกิจจีนอย่างหนักว่า ถ้าจะไปลงทุนในประเทศไทย อาจจะต้องหาทางปกป้องเครื่องหมายการค้าของแท้ให้ได้ ต่อมาวันที่ 19 ธ.ค. 2023 กลุ่มรอเยล 50อาร์ เอาคืนฝ่ายฟ้องร้องบ้าง ได้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ Luckin Coffee ของแท้ในจีน จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายทางธุรกิจมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท หรือราวๆ 2,000 ล้านหยวน

แต่ทางฝั่ง Luckin Coffee ในจีนไม่ยอมแพ้ ตัดสินใจสู้กลับ หาทีมกฎหมายระดับนานาชาติเพื่อแก้เกม โดยว่าจ้าง Tilleke & Gibbins เข้ามาช่วยต่อสู้คดี ผลปราฏว่าทางทีมกฎหมายต่อสู้ด้วยกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายการค้าระดับโลก หรือ “อนุสัญญากรุงปารีส (Paris Convention)”

ภาพจาก https://bit.ly/4l5CC1Z

ตามหลักกฎหมายกำหนดให้ประเทศที่เป็นสมาชิก Paris Convention ให้การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นๆ

สำหรับประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญากรุงปารีส ว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Paris Convention) เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2008 สาระสำคัญของ Paris Convention เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Industrial Property) เช่น สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันมีสมาชิก 177 ประเทศ

สุดท้าย Luckin Coffee แท้ในจีน สามารถเอาชนะ Luckin Coffee ปลอมในไทยได้ ตามรายงานของสื่อต่างๆ นอกจากกลุ่มรอเยล 50อาร์ จะจดเครื่องหมายการค้า Luckin Coffee ในไทยแล้ว ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแบรนด์ดัง มีชื่อเสียง เช่น TikTok, Chow Tai Fook, Chow Sang Sang Jewellery, SF Express และ Nongfu Spring อีกด้วย

Tilleke & Gibbins ยังมองว่ากรณีข้อพิพาทเครื่องหมายการค้า ถือเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับแบรนด์ระดับโลก ว่าการลงทุนในไทยต้องมีการวางแผนด้านกฎหมายอย่างรอบคอบ ไม่เช่นนั้นอาจเสียแบรนด์ให้กับผู้จดทะเบียนก่อน ได้ง่ายๆ

จดเครื่องหมายการค้าก่อนได้เปรียบ

Luckin Coffee จีนแท้
ภาพจาก https://bit.ly/42mhUT1

เคสแฟรนไชส์กาแฟ Luckin Coffee แท้ในจีนชนะคดีเครื่องหมายทางการค้า Luckin Coffee ปลอมในไทย ทำให้นึกถึงแฟรนไชส์กาแฟยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง “สตาร์บัคส์” เกิดกรณีพิพาทสิทธิ์เครื่องหมายการค้ากับ “สตาร์บัง” ร้านกาแฟรถเข็นข้างทางเมื่อช่วงปี 2555

สาระสำคัญมีอยู่ว่า “สตาร์บัคส์” ได้ยื่นโนติสให้ “สตาร์บัง” เปลี่ยนโลโก้ ทางบังก็เปลี่ยนเส้นรอบโลโก้เป็นสีน้ำเงิน และเพิ่มเดือนเข้าไปในสัญลักษณ์ดาว แต่ก็ถูกสตาร์บัคส์ยื่นโนติสอีกครั้ง

ท้ายที่สุดก็เกิดการฟ้องร้องกันขึ้น เรียกค่าเสียหายสตาร์บัง 300,000 บาท ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันหลายครั้ง แต่สุดท้ายจบด้วยการไกล่เกลี่ย ถอยกันคนละก้าว ทางร้านกาแฟสตาร์บังเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “O.k. สตาร์บัง” แทน

Luckin Coffee จีนแท้

อีกกรณีก็คือ “ชานมเสือพ่นไฟ” ชนะคดีฟ้อง “ชานมหมีพ่นไฟ” ศาลทรัพย์สินทางปัญญา สั่งปรับ “ชานมหมีพ่นไฟ” เป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบวกดอกเบี้ย ค่าเสียหายเดือนละแสน นับแต่วันฟ้องฐานละเมิดเครื่องหมายการค้า

สาระมีอยู่ว่า เจ้าของแบรนด์ชานมไข่มุกเสือพ่นไฟ Fire Tiger เป็นโจทย์ฟ้องแบรนด์ชานมไข่มุกหมีพ่นไฟ The Fire Bear ฐานความผิดละเมิดเครื่องหมายการค้า ขอศาลสั่งห้ามไม่ให้ The Fire Bear ทำการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของ Fire Tiger และให้หยุดใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่คล้ายกับ Fire Tiger

ต่อมาศาลฯ ตัดสินให้ “หมีพ่นไฟ” (The Fire Bear) แพ้คดี เพราะใช้ชื่อร้านค้า สินค้าและบริการ กิจการและเป็นชื่อชานมไข่มุก รวมถึงการใช้ประติมากรรมหัวหมีพ่นไฟ ลักษณะอ้าปากเป็นช่องส่งสินค้าเครื่องดื่มให้แก่ลูกค้า คล้ายกับธุรกิจ Fire Tiger ทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าเป็นร้านที่มีเจ้าของเดียวกัน หรือสินค้ามาจากแหล่งเดียวกัน ถือเป็นการลวงให้ประชาชน และละเมิดการขาย

Luckin Coffee จีนแท้

สุดท้าย หลังบศึกข้อพิพาทเครื่องหมายการค้าในไทยแล้ว เชื่อว่า Luckin Coffee ของแท้ในจีน มีแนวโน้มเป็นอย่างสูงที่จะบุกเข้ามาขยายตลาดกาแฟในเมืองไทย สอดคล้องกับแผนขยายตลาดไปทั่วภูมิภาคอาเซียนภายใน 2-3 ปีต่อจากนี้

แต่ที่น่าเป็นสนใจมากกว่า ก็คือ Luckin Coffee ของแท้จากจีน จะใช้กลยุทธ์ประจำกาย ด้าน “ราคา” เน้นขายทางแอพพลิเคเชั่น มาสู้กับคู่แข่งในตลาดกาแฟเมือไทยด้วยหรือไม่ หลังปราบ “สตาร์บัคส์” ให้อยู่หมัดในจีนมาแล้ว

อ้างอิง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช