Lost Decade 10 ปีที่หายไป ไทยเหมือนเดิม
ช่วงหลาย 10 ปีก่อน ไทยเคยเป็นประเทศที่มีเสน่ห์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ปัจจุบันสู้ต่างประเทศอย่างเวียดนามไม่ได้ เพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรเลย เดิมๆ มาตลอด บวกกับประชากรวัยสูงอายุของไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สู้กับต่างประเทศที่มีคนวัยทำงานมากกว่า อีกทั้งกำลังซื้อจากประชากรไทยลดลงอีก
ในช่วงปี 1980-1990 ทั่วโลกให้คำนิยามเศรษฐกิจประเทศไทยว่าเป็น “เสือตัวที่ 5 ของเอเชีย” ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว พอมาเจอวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 คำนิยามดังกล่าวก็กลายเป็นอดีต ยากที่จะกลับมาหอมหวนได้เหมือนเดิม
หากย้อนไปในช่วงปี 2006-2015 เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตช้ากว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งมาก อีกทั้งยังโตช้ากว่าหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนเสียอีก อาจเรียกได้ว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วง Lost Decade หรือ ทศวรรษที่สูญหายไป
แม้ในวันนี้จะมาถึงปี 2024 เกือบครบอีกหนึ่งทศวรรษ 2016-2025 เศรษฐกิจไทยยังเหมือนเดิม หรืออาจจะตกต่ำลงไปมากกว่านี้ก็ได้ แม้ว่าระบาดโควิดจะคลี่คลาย หากเป็นแบบนี้ก็จะเข้า 2 ทศวรรษที่หายไปเลย
ยิ่งมาดูภาพรวมของการส่งออกของไทยก็ลดลง เพราะไทยผลิตสินค้าที่ต่างประเทศต้องการน้อย บวกกับการบริโภคภายในประเทศก็ลดลงด้วย ประชาชนไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย แม้กระทรวงการคลังคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2024 จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี แต่ยังถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก
รายงานจากสภาอุตสาหกรรมฯ ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ ตั้งแต่ 5 เดือนแรก ม.ค. – พ.ค. 2024 มีโรงงานปิดกิจการไปแล้ว 567 แห่ง เฉลี่ย 113 โรงงานต่อเดือน มีแรงงานตกงานกว่า 15,000 คน อุตสาหกรรมที่ปิดกิจการมากที่สุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ และกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะ
คาดว่าปี 2568 มีบริษัทขนาดใหญ่แบกรับภาระไม่ไหว ปิดตัวอีกหลายราย ยังไม่รวมธุรกิจร้านอาหารที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว จำใจต้องปิดกิจการไปจำนวนมากในช่วงปี 2023-2024
สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนแอลง หลายคนมองว่ามาจากปัญหาการเมือง ทั้งการรัฐประหาร การทุจริตคอรัปชั่น รวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่จริงๆ การที่ศักยภาพเศรษฐกิจไทยต่ำลงมาจากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยด้วย
KKP Research ประเมิน GDP ไทยเหลือ 2 %
KKP Research โดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร รายงานข้อมูลว่า ย้อนกลับไปในรอบ 3 ทศวรรษ เวลาไทยเจอกับวิกฤตทีไรทำให้เศรษฐกิจไทยต้องหดตัวรุนแรง แนวโน้มการเติบโตต่ำลงทุกครั้งด้วย จากข้อมูลตั้งแต่ปี 1997 เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงจาก 7% ก่อนหน้า เหลือเพียง 5% ต่อมาในปี 2008 เจอวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เศรษฐกิจเติบโตลดลงเหลือ 3% มาปี 2019 เจอวิกฤตโควิดเติบโตเหลือ 2%
ปัจจัยกำหนดศักยภาพเศรษฐกิจไทย
1.แรงงาน
เป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่เป็นแรงฉุดศักยภาพเศรษฐกิจให้ต่ำลง ถ้าแรงงานลดลงจะทำให้ศักยภาพการเติบโต GDP ลดลงประมาณ 0.5 จุดต่อปีจนถึงปี 2030 และลดลง 0.8 จุดต่อปีในทศวรรษที่ 2040 ทำให้ศักยภาพ GDP ไทยเหลือต่ำเพียง 2% ต่อปี หากทุนสะสมและผลิตภาพเท่าเดิม แต่ถ้าหากหดตัวลดลง จะทำให้ GDP ต่ำลงไปถึง 1.3%
ไทยยังเข้าสู่สังคมสูงวัยอายุราวๆ 20% ทำให้กำลังแรงงาน 15-60 ปีลดลง โดยประชากรวัยทำงานไทยได้ผ่านจุดสูงไปแล้วตั้งแต่ปี 2012 จะหดตัวอย่างต่อเนื่องปีละ 0.7 จาก 70% จนเหลือสัดส่วนเพียง 60% ของประชากรทั้งหมดในปี 2030 ประชากรวัยเด็กลดลงปีละ 1.8% จนถึงปี 2030 สวนทางกับคนสูงอายุที่เพิ่มจาก 10% ในปี 2012 เป็น 20% ในปี 2030
เมื่อคนวัยทำงานและเด็กลดลง แต่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือ กำลังซื้อในประเทศลดลงเรื่อยๆ เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบจำพวกรถยนต์ สินค้าฟุ่มเฟือย แต่สินค้าด้านสุขภาพและความงามจะเติบโตมากขึ้น ผลกระทบอีกส่วน คือ ผลิตภาพแรงงานลดลง
2.การสะสมทุน
ลดลงตั้งแต่หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง จากแต่ก่อนมีการสะสมทุนปีละ 6.6% ต่อปี ลดลงเหลือ 2.1% ตั้งแต่ปี 2012 อีกทั้งยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้ภาคเอกชน ธนาคารปล่อยสินเชื่อยากขึ้น ทำให้โอกาสขยายการลงทุนในเศรษฐกิจโดยรวมลดลง
3.เทคโนโลยี
ช่วยให้แรงงานและทุนสามารถผลิตได้มากขึ้น เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้แรงงาน 1 คนสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น หรือมี Productivity มากขึ้น
ปัจจัยทำ Productivity ไทยลดลง
- การเพิ่มสัดส่วนภาคบริการที่มีผลิตภาพต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรม
- คุณภาพการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพแรงงาน
- ขาดการลงทุนทั้งภายในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ
ปฏิรูป 4 ด้านยกระดับ GDP ไทยกลับมา
- เพิ่มผลิตภาพดึงดูดแรงงานทักษะสูง
- เปิดเสรีภาคบริการ เพิ่มการแข่งขันภาคบริการที่มีมูลค่าสูง
- เพิ่มผลิตภาพภาคการเกษตร
- ปฏิรูปภาคการคลัง จัดการปัญหาภาระทางการคลัง
จะเห็นได้ว่า แม้การระบาดโควิดแม้จะคลี่คลายไปแล้ว แต่เศรษฐกิจทั่วโลกยังถดถอย อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าครองชีพแพง สินค้าวัตถุดิบขึ้นราคา ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลายๆ ธุรกิจปิดกิจการ ปลดพนักงานจำนวนมาก ถ้าไทยไม่ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ ไม่แก้ปัญหาเดิมๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยก็จะเหมือนเดิม
แหล่งข้อมูล
- https://bit.ly/3WtsWnG
- KKP Research
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)