Lost Decade 10 ปีที่หายไป ไทยเหมือนเดิม

ช่วงหลาย 10 ปีก่อน ไทยเคยเป็นประเทศที่มีเสน่ห์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ปัจจุบันสู้ต่างประเทศอย่างเวียดนามไม่ได้ เพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรเลย เดิมๆ มาตลอด บวกกับประชากรวัยสูงอายุของไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สู้กับต่างประเทศที่มีคนวัยทำงานมากกว่า อีกทั้งกำลังซื้อจากประชากรไทยลดลงอีก

ในช่วงปี 1980-1990 ทั่วโลกให้คำนิยามเศรษฐกิจประเทศไทยว่าเป็น “เสือตัวที่ 5 ของเอเชีย” ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว พอมาเจอวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 คำนิยามดังกล่าวก็กลายเป็นอดีต ยากที่จะกลับมาหอมหวนได้เหมือนเดิม

Lost Decade

หากย้อนไปในช่วงปี 2006-2015 เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตช้ากว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งมาก อีกทั้งยังโตช้ากว่าหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนเสียอีก อาจเรียกได้ว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วง Lost Decade หรือ ทศวรรษที่สูญหายไป

แม้ในวันนี้จะมาถึงปี 2024 เกือบครบอีกหนึ่งทศวรรษ 2016-2025 เศรษฐกิจไทยยังเหมือนเดิม หรืออาจจะตกต่ำลงไปมากกว่านี้ก็ได้ แม้ว่าระบาดโควิดจะคลี่คลาย หากเป็นแบบนี้ก็จะเข้า 2 ทศวรรษที่หายไปเลย

ยิ่งมาดูภาพรวมของการส่งออกของไทยก็ลดลง เพราะไทยผลิตสินค้าที่ต่างประเทศต้องการน้อย บวกกับการบริโภคภายในประเทศก็ลดลงด้วย ประชาชนไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย แม้กระทรวงการคลังคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2024 จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี แต่ยังถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก

Lost Decade

รายงานจากสภาอุตสาหกรรมฯ ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ ตั้งแต่ 5 เดือนแรก ม.ค. – พ.ค. 2024 มีโรงงานปิดกิจการไปแล้ว 567 แห่ง เฉลี่ย 113 โรงงานต่อเดือน มีแรงงานตกงานกว่า 15,000 คน อุตสาหกรรมที่ปิดกิจการมากที่สุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ และกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะ

คาดว่าปี 2568 มีบริษัทขนาดใหญ่แบกรับภาระไม่ไหว ปิดตัวอีกหลายราย ยังไม่รวมธุรกิจร้านอาหารที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว จำใจต้องปิดกิจการไปจำนวนมากในช่วงปี 2023-2024

สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนแอลง หลายคนมองว่ามาจากปัญหาการเมือง ทั้งการรัฐประหาร การทุจริตคอรัปชั่น รวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่จริงๆ การที่ศักยภาพเศรษฐกิจไทยต่ำลงมาจากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยด้วย

Lost Decade

KKP Research ประเมิน GDP ไทยเหลือ 2 %

KKP Research โดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร รายงานข้อมูลว่า ย้อนกลับไปในรอบ 3 ทศวรรษ เวลาไทยเจอกับวิกฤตทีไรทำให้เศรษฐกิจไทยต้องหดตัวรุนแรง แนวโน้มการเติบโตต่ำลงทุกครั้งด้วย จากข้อมูลตั้งแต่ปี 1997 เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงจาก 7% ก่อนหน้า เหลือเพียง 5% ต่อมาในปี 2008 เจอวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เศรษฐกิจเติบโตลดลงเหลือ 3% มาปี 2019 เจอวิกฤตโควิดเติบโตเหลือ 2%

ปัจจัยกำหนดศักยภาพเศรษฐกิจไทย

Lost Decade

1.แรงงาน

เป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่เป็นแรงฉุดศักยภาพเศรษฐกิจให้ต่ำลง ถ้าแรงงานลดลงจะทำให้ศักยภาพการเติบโต GDP ลดลงประมาณ 0.5 จุดต่อปีจนถึงปี 2030 และลดลง 0.8 จุดต่อปีในทศวรรษที่ 2040 ทำให้ศักยภาพ GDP ไทยเหลือต่ำเพียง 2% ต่อปี หากทุนสะสมและผลิตภาพเท่าเดิม แต่ถ้าหากหดตัวลดลง จะทำให้ GDP ต่ำลงไปถึง 1.3%

ไทยยังเข้าสู่สังคมสูงวัยอายุราวๆ 20% ทำให้กำลังแรงงาน 15-60 ปีลดลง โดยประชากรวัยทำงานไทยได้ผ่านจุดสูงไปแล้วตั้งแต่ปี 2012 จะหดตัวอย่างต่อเนื่องปีละ 0.7 จาก 70% จนเหลือสัดส่วนเพียง 60% ของประชากรทั้งหมดในปี 2030 ประชากรวัยเด็กลดลงปีละ 1.8% จนถึงปี 2030 สวนทางกับคนสูงอายุที่เพิ่มจาก 10% ในปี 2012 เป็น 20% ในปี 2030

เมื่อคนวัยทำงานและเด็กลดลง แต่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือ กำลังซื้อในประเทศลดลงเรื่อยๆ เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบจำพวกรถยนต์ สินค้าฟุ่มเฟือย แต่สินค้าด้านสุขภาพและความงามจะเติบโตมากขึ้น ผลกระทบอีกส่วน คือ ผลิตภาพแรงงานลดลง

2.การสะสมทุน

ลดลงตั้งแต่หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง จากแต่ก่อนมีการสะสมทุนปีละ 6.6% ต่อปี ลดลงเหลือ 2.1% ตั้งแต่ปี 2012 อีกทั้งยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้ภาคเอกชน ธนาคารปล่อยสินเชื่อยากขึ้น ทำให้โอกาสขยายการลงทุนในเศรษฐกิจโดยรวมลดลง

3.เทคโนโลยี

ช่วยให้แรงงานและทุนสามารถผลิตได้มากขึ้น เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้แรงงาน 1 คนสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น หรือมี Productivity มากขึ้น

ปัจจัยทำ Productivity ไทยลดลง

  1. การเพิ่มสัดส่วนภาคบริการที่มีผลิตภาพต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรม
  2. คุณภาพการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพแรงงาน
  3. ขาดการลงทุนทั้งภายในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ

ปฏิรูป 4 ด้านยกระดับ GDP ไทยกลับมา

  1. เพิ่มผลิตภาพดึงดูดแรงงานทักษะสูง
  2. เปิดเสรีภาคบริการ เพิ่มการแข่งขันภาคบริการที่มีมูลค่าสูง
  3. เพิ่มผลิตภาพภาคการเกษตร
  4. ปฏิรูปภาคการคลัง จัดการปัญหาภาระทางการคลัง

จะเห็นได้ว่า แม้การระบาดโควิดแม้จะคลี่คลายไปแล้ว แต่เศรษฐกิจทั่วโลกยังถดถอย อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าครองชีพแพง สินค้าวัตถุดิบขึ้นราคา ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลายๆ ธุรกิจปิดกิจการ ปลดพนักงานจำนวนมาก ถ้าไทยไม่ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ ไม่แก้ปัญหาเดิมๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยก็จะเหมือนเดิม

แหล่งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช