Lobo สินค้าราคาหลักสิบ แต่เป็นธุรกิจรายได้กว่า 1,000 ล้านบาท
อาหารไทยคือเอกลักษณ์ที่สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนมาก แต่ละปีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่างมียอดการส่งออกซอสและผงปรุงรสรวมเป็นมูลค่ามหาศาล ส่วนตลาดในประเทศมีมูลค่าสูงกว่า มูลค่า 47,000 ล้านบาท
และข้อมูลยังระบุอีกว่าคนไทยบริโภคซอสและเครื่องปรุงรสเฉลี่ย 5.8 กิโลกรัม/คน/ปี และดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีแต่โตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคนไทยเองถ้าพูดถึงแบรนด์เหล่านี้ต้องนึกถึง “Lobo” ซึ่งเป็นผงปรุงรสอาหารรสชาติต่างๆ ที่ใช้กันแพร่หลายทั้งในครัวเรือนและร้านอาหารทั่วประเทศ
Lobo ธุรกิจที่ก่อตั้งมานานกว่า 45 ปี สินค้าคู่ครัวไทย!
ภาพจาก https://bit.ly/3PYcGVT
จุดเริ่มต้นของ Lobo มาจากหนุ่มนักเรียนนอกที่ชื่อว่า คุณอาคม พลานุเวช ที่ครั้งหนึ่งไปเรียนปริญญาโทที่อเมริกาแล้วเกิดความคิดถึงอาหารไทย และเป็นไอเดียจุดประกายว่าควรสร้างธุรกิจที่ทำให้คนไทยในต่างแดนได้สามารถลิ้มรสอาหารไทยได้เหมือนทำกินเอง และยังทำให้ชาวต่างชาติมีโอกาสได้ลองรสชาติอาหารไทยได้ง่ายขึ้นด้วย ด้วยแนวคิดนี้ในปี 2520 จึงได้มีแบรนด์ “Lobo” เกิดขึ้น โดยเป็นสินค้าภายใต้บริษัท โกลโบ ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งในยุคแรกได้ผลิตผงปรุงรสออกมาเพียง 3 รสชาติก่อนที่จะพัฒนาต่อเนื่อง
ซึ่งปัจจุบันมีผงปรุงรสรวมกว่า 70 แบบ และหลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องใช้ชื่อว่า “Lobo” ก็คาดว่าน่าจะเป็นการตัดตัวอักษร ก.ไก่ จากชื่อบริษัท “โกลโบ” เลยกลายเป็น “โลโบ” แต่ Lobo ไม่ใช่สินค้าตัวเดียวของบริษัทเพราะบริษัท โกลโบ ฟู้ดส์ จำกัด เนื่องจากลูกค้าหลักคือบรรดาธุรกิจอาหารรายใหญ่ อย่าง ร้านฟาสต์ฟูด โรงงานแปรรูปอาหารทะเลและสัตว์ปีก ไปจนถึงโรงงานขนมขบเคี้ยว คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 55% ของบริษัทส่วน Lobo เป็นแบรนด์ลูกที่แตกออกมาเน้นตีตลาดของคนส่วนใหญ่เพื่อเข้าถึงทุกครัวเรือนที่ปัจจุบันมีมูลค่าการตลาดสูงมาก
ทำไม “Lobo” ถึงฮิต! คนรู้จักทั่วประเทศ
1.สินค้ามีความหลากหลาย
ภาพจาก https://bit.ly/3zTgWAl
Lobo ทำการตลาดที่เน้นความหลากหลาย ทั้งเครื่องปรุงรสอาหารคาว อาหารหวาน เช่น ผงปรุงข้าวผัด ผัดไทย ผงพะโล้ ,ผงทำกิมจิ โคชูจัง (ซอสพริกเกาหลี), น้ำซุปบักกุ๊ดเต๋ ,ผงทำน้ำเกรวี ,ผงวุ้นกลิ่นต่าง ๆ อย่างเต้าฮวย สังขยา เป็นต้น รองรับเกือบทุกเมนูอาหารไทย และสามารถเก็บได้นาน
2.ทำการตลาดผ่านบุคคลมีชื่อเสียงในวงการอาหาร
กลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจคือใช้คนที่มีชื่อเสียงในวงการอาหารช่วยทำการตลาด โดยเน้นที่ความง่ายในการประกอบอาหาร เพื่อเชิญชวนผู้ที่อยากทำอาหาร ทำให้คนสนใจมากขึ้น
3.ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้ง่าย
ภาพจาก https://bit.ly/3zTgWAl
เมื่อมีคนสนใจสินค้า การกระจายสินค้าให้เข้าถึงได้ง่ายก็สำคัญมาก Lobo จึงกระจายสินค้าครอบคลุมในทุกพื้นที่ เพื่อให้ผู้บริโภคหาซื้อง่าย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเลือกวางสินค้าในแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงทำการตลาดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ตอบโจทย์คนยุคใหม่ด้วย
4.สินค้าเทรนด์สะดวกที่คนยุคนี้ต้องการ
Lobo เป็นสินค้าตอบโจทย์เทรนด์สะดวกให้คนทำอาหารรับประทานได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาจ่ายตลาดนาน ไม่ต้องหาซื้อวัตถุดิบมาก ไม่ต้องมีฝีมือด้านการทำอาหาร ก็ทำเมนูอร่อยได้ เพราะวิธีการของ Lobo แค่ฉีกซอง แล้วปรุงตามขั้นตอน ใส่วัตถุดิบเล็กน้อย ก็อร่อยได้ทันที เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนเมืองและคนในยุคเร่งรีบอย่างมาก
“Lobo” ผงปรุงรส สร้ายได้เกินกว่า 1,000 ล้านบาท
ภาพจาก https://bit.ly/3oVREew
หากมองในเรื่องตัวเลขรายได้ถือว่าเติบโตชัดเจน ในปี 2561 มีรายได้ 1,560 ล้านบาท และในปี 2562 มีรายได้ 1,670 ล้านบาท เรียกว่าเติบโตสูงมาก และในสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา คนต้องอยู่กับบ้าน กักตัวอยู่บ้าง และเว้นจากการรับประทานอาหารนอกบ้าน ทำให้ยอดการซื้อสินค้า Lobo ในภาคครัวเรือนสูงมากขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ Lobo ยังทำการตลาดในต่างประเทศ เน้นให้คนไทยในต่างแดนและชาวต่างชาติได้มีโอกาสลิ้มรสอาหารไทยได้ไม่ยาก รวมถึง Lobo ยังทำการตลาดกระจายสินค้าไปตามร้านของฝากต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น
จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การตลาดของ Lobo นั้นชัดเจนและมีเอกลักษณ์ในตัวเองมาก สามารถสร้างจุดขายที่ทำให้คนจำได้อย่างดี จุดแข็งของ Lobo คือการใช้ภาพความเป็นไทยในการทำให้คนสนใจ และใช้ความสะดวกและง่ายเพื่อตีตลาดในประเทศซึ่งถือว่ามีไอเดียการตลาดที่น่าสนใจอย่างมาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3IWDymp , https://bit.ly/3oF6VAF , https://bit.ly/3zjrbg7
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3SB1Oz9
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187