Live ขายออนไลน์ให้โลกจำ…แบบฉบับหนุ่มอีสาน “อนุชา โลภา”
นับว่าเรื่องราวที่สนใจในโลกโซเชียลกันอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เมื่อพ่อค้าขายของออนไลน์ ได้ไลฟ์ขายสินค้าแบรนด์เนมพร้อมกับแต่งตัวเป็นกระสือ เพื่อดึงดูดให้คนสนใจ จนมียอดผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากกว่า 2.8 ล้านวิวในตอนนั้น โดยปัจจุบันมีคนติดตามเพจของเขากว่า 652,085 คน
แต่เบื้องหลังความสู้ชีวิตของพ่อค้ายุคโควิค 19 คนนี้ จะเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “คุณอนุชา โลภา” เจ้าของเพจ “ไลฟ์สดสินค้าแบรนด์เนมของแท้ มือสอง” กันครับ
จุดเริ่มต้นขายประเป๋าแบรนด์เนม
ภาพจาก FB : ไลฟ์สด สินค้าแบรนด์เนมของแท้ มือสอง
“คุณอนุชา โลภา” หรือ บอสชา ที่คนเรียกกัน เจ้าของเพจ “ไลฟ์สดสินค้าแบรนด์เนมของแท้มือสอง” เรียนจบมหาวิทยาลัยรามแหง หลังจากนั้นประกอบอาชีพหลายอาชีพ ทั้งพนักงานส่งของ พ่อค้าตลาดนัด เปิดร้านให้เช่าพระ ก่อนที่จะมาขายสินค้าแบรนด์เนมมือสอง อย่างกระเป๋า และของใช้อื่นๆ เพราะเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับเขามากกว่าการขายของอื่นๆ
สำหรับจุดเริ่มต้นขายกระเป๋าของคุณอนุชา เริ่มจากขายของตามนัดในกรุงเทพฯ โดยรับกระเป๋ามาจากแหล่งที่รับซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง ตอนแรกๆ ก็ขายได้ดี แต่หลังๆ ขายไม่ค่อยดี เพราะมีคนขายกันเยอะ ทำให้ยอดขายในแต่ละวันลดลงไปเรื่อยๆ คุณอนุชาจึงตัดสินใจลากรุงเทพฯ กลับบ้านนอกที่จังหวัดขอนแก่น
ตอนนั้นคุณนุชาได้นำกระเป๋าแบรนด์เนมมือสองไปขายด้วย พบว่าตลาดต่างจังหวัดขายของได้ยากมาก จึงเปลี่ยนไปรับเสื้อผ้าแฟชั่นมากขาย ได้กำไรตัวละ 30-40 บาท ซึ่งน้อยกว่าการขายกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง ที่ตกราคาใบละหลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นบาท จากจุดนี้ทำให้คุณอนุชาหันมาขายกระเป๋าอีกครั้งหนึ่ง
พ่อค้าตลาดนัดสู่ตลาดออนไลน์
ภาพจาก FB : ไลฟ์สด สินค้าแบรนด์เนมของแท้ มือสอง
คุณอนุชา เล่าว่า ช่วงแรกๆ ขายได้ แต่พอสักพักขายไม่ค่อยดีเหมือนเดิม เริ่มถอดใจบ้าง แต่บังเอิญว่าคุณอนุชามีเพจเปิดขายกระเป๋าออนไลน์อยู่แล้ว จึงลองวิธีการขายมาเป็นการไลฟ์สดขายหน้าเพจที่บ้าน คนติดตามตอนแรกกลักร้อย ส่วนคนดูไลฟ์สด 2-3 คน ไม่เกิน 10 คน สุดท้ายเหลือคนดู 2 คนตอนท้ายๆ
ตอนนั้นคุณอนุชารู้สึกว่าตัวเองแย่มาก ก็เลยเอากระเป๋าที่ไลฟ์สดขายตอนนั้นเปิดประมูลราคาถูกๆ เริ่มต้นราคา 10 บาท 20 บาท เหมือนแจกฟรี พอหลังจากนั้นคนเริ่มดูเยอะขึ้น ประมาณไม่เกิน 60 -70 คน
โดยในแต่ละวัน คุณอนุชาต้องตระเวนไปตามจุดต่างๆ ที่คิดว่า จะเป็นสถานที่สำหรับขายกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง และด้วยความเป็นลูกทุ่งๆ ซื่อๆ ตามสไตล์ของหนุ่มอีสาน ทำให้พื้นที่ไลฟ์สดขายกระเป๋าและสินค้าแบรนด์เนมของเขา ต้องให้เข้ากับบรรยากาศและหน้าตาดูจะออกโหดๆ ของเขา
เข้าป่าไลฟ์สดขายกระเป๋า
ภาพจาก FB : ไลฟ์สด สินค้าแบรนด์เนมของแท้ มือสอง
ดังนั้น บรรยากาศยามค่ำคืนในป่าจึงเป็นที่ไลฟ์สดขายของ ด้วยการพูดจาที่ตรงไปตรงมาแบบโหด บวกกับมุกขำๆ เหมือนกับใบหน้า ทำให้คนจำนวนมากหยุดดูการไลฟ์สดขายกระเป๋าแบรนด์เนมยามค่ำคืนของคุณอนุชา เพื่ออยากรู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ บวกกับคำถามมากมายที่หลายคนอยากรู้ว่าและขำ ทำให้การไลฟ์สดขายของมีคนดูเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หากถามว่าทำไม คุณอนุชาจะต้องไลฟ์สดขายกระเป๋าในป่ายามค่ำคืน เขาเล่าว่าเป็นความบังเอิญหลังจากไปงานแต่งเพื่อน แต่เขาไม่ชอบดื่มสังสรรค์ ก็เลยขับรถไปหาที่สงบ เสียงไม่ดัง เพื่อไลฟ์สดขายกระเป๋า อีกทั้งบ้านของคุณอนุชาเป็นบ้านนอก บรรยากาศรอบๆ มีแต่ป่าไม้ ต้นไม้ เขาเลยจอดรถไลฟ์สดได้ข้างหลังเป็นป่า และบรรยากาศหลังฝนตก มีฟ้าแลบ และเสียงจิ้งหรีด อึ่งอ่าง วันนั้นมีคนติดตามหลักพัน หลักหมื่นจากหลักร้อยภายในวันเดียว และขายกระเป๋าได้ 2 ใบ
ภาพจาก FB : ไลฟ์สด สินค้าแบรนด์เนมของแท้ มือสอง
ส่วนไอเดียการแต่งตัวเป็นกระสือขายของนั้น คุณอนุชา เล่าว่า ตนเองมีความคิดแบบนี้อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นการไลฟ์สดขายของในป่า ซึ่งมีความน่ากลัวปนสยอง จึงคิดว่าจะแต่งตัวเป็นผีมาขายของ เพราะจะได้ไม่ซ้ำใคร แตกต่างจากคนอื่น โดยในตอนนั้นมีเพื่อนและญาติมาช่วยจัดสถานที่ก่อนไลฟ์สดขายของ ทำให้มีรายได้จุนเจือครอบครัวในช่วงโควิด-19
ขายออนไลน์ให้ความรู้ ดีกว่าตั้งตาขาย
ภาพจาก FB : ไลฟ์สด สินค้าแบรนด์เนมของแท้ มือสอง
คุณอนุชา เล่าต่อว่า ช่วงแรกๆ ที่ไลฟ์สดขายของได้มีคนที่ไม่เคยรู้จักถามมากมาย หลายคนก็ขำ ไม่เชื่อว่าจะขายกระเป๋าแบรนด์เนมมือสองจริงๆ แต่ด้วยความที่คุณอนุชาเป็นคนพูดอะไรตรงไปตรงมา มีท่าทางจริงจังในการแสดงออกไป โดยจะเน้นให้ความรู้ในการเลือกกระเป๋า ดูจุดไหนของแท้ ของปลอม มากกว่าตั้งหน้าตั้งตาขายอย่างเดียว
สาเหตุที่คนเข้ามาดูจำนวนมากอาจเป็นเพราะความแปลก ไม่เหมือนใคร เพราะยังไม่ใครเอากระเป๋าแบรนด์มาขายในป่า หลายๆ คนไม่เชื่อว่าหน้าตาคุณอนุชาจะขายสินค้าแฟชั่น บวกกับการพูดจาโหดๆ ไม่เป็นมิตร จึงกลายเป็นจุดดึงดูดให้คนติดตามดูเป็นจำนวนมาก หลายๆ คนเข้ามาดูเพื่อเอาฮาเฉยๆ โดยที่ไม่ซื้ออะไรเลย
ภาพจาก FB : ไลฟ์สด สินค้าแบรนด์เนมของแท้ มือสอง
สำหรับการลงทุนซื้อกระเป๋ามาขายแรกๆ แค่หลักหมื่นบาท ขายหมดก็หาซื้อใหม่ จึงทำให้ทุกๆ วันคุณอนุชาต้องพยายามขายของให้หมด เพื่อนำไปเป็นเงินทุนในการซื้อกระเป๋ามาขายอีก ช่วงแรกๆ คุณอนุชาขายได้วันละประมาณ 50-60 ใบ มีคนดูหลายพันคน ปัจจุบันก็มีคนดูหลักพัน มีการแชร์หลายคน ขายได้ไม่เยอะวันละไม่เกิน 10 – 20 ใบ
คุณอนุชา เล่าว่า ขายกระเป๋าได้ไม่เยอะแต่คนดูเยอะ แต่ไม่ซื้อ ไม่เหมือนกับเพจขายกระเป๋าแบรนด์เนมอื่นๆ ที่คนติดตามน้อย แต่ขายได้เยอะ ยอดขายเยอะ แต่คุณอนุชาจะได้ค่าโฆษณาจากจาก Facebook รวมถึงมีคนฝากร้านขายสินค้า
เทคนิคขายออนไลน์
ภาพจาก FB : ไลฟ์สด สินค้าแบรนด์เนมของแท้ มือสอง
สำหรับเทคนิคในการขายของออนไลน์ คุณอนุชา เล่าว่า การขายออนไลน์จะต้องสร้างเอกลักษณ์ที่ทำให้คนดูรู้จักก่อน เพราะช่วงที่คุณอนุชาไลฟ์สดขายของในป่า ก็มีคนทำตามเยอะ แต่คุณอนุชาไม่ได้คิดอะไร เพราะเป็นเทคนิคส่วนตัวเฉพาะบุคคล อย่างอื่นมันลอกเลียนแบบกันไม่ได้ เช่นเดียวกับการขายกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง ก็มีคนขายเยอะมาก แต่ทุกคนก็มีเทคนิคการขายได้ตามช่องทางของตัวเอง และทุกคนก็ประสบความสำเร็จในแบบของตัวเองเช่นกัน
ปัจจุบันคุณอนุชาได้ตระเวนไลฟ์สดขายทุเรียนตามสวนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีเอกลักษณ์ในการขายเฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร ใครที่อยากติดตามสไตล์การไลฟ์สดขายของที่โหด มันส์ ฮา ติดตามได้ที่
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pkMYi0
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)