KOI The’ (โคอิเตะ) ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ในปัจจุบัน

หากพูดถึงแบรนด์ชานมไข่มุกจาก “ไต้หวัน” ในเมืองไทย ที่ได้รับความนิยมและมีการพูดถึงกันมาก หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น KOI The’ (โคอิเตะ) ร้านชานมรสชาติต้นตำรับจากไต้หวัน เน้นการเสิร์ฟชานมคุณภาพ ผ่านกรรมวิธีการผลิตอย่างดี ตั้งแต่การคัดสรรใบชาชั้นดี การต้มชาและการต้มไข่มุกเนื้อเหนียวหนึบ ปัจจุบันมีสาขามากมายใน 12 ประเทศ

โดยเฉพาะในประเทศไทยมีสาขามากกว่า 49 แห่ง และด้วยการเป็นแบรนด์ร้านชานมคุณภาพ ผู้บริโภคชาวไทยให้การตอบรับ จึงมีคนถามเข้ามาว่า KOI The’ (โคอิเตะ) ขายแฟรนไชส์หรือเปล่า วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากการสอบถามไปยังแบรนด์ KOI Thé (โค-อิ-เตะ) มานำเสนอให้ทราบครับ

จุดกำเนิด KOI THE’ (โคอิเตะ)

โคอิเตะ

ภาพจาก facebook.com/koithethailand

โคอิ เตะ (KOI Thé) เป็นแบรนด์ชานมไข่มุกจากไต้หวัน เริ่มต้นจากธุรกิจชาของครอบครัว “มิสหม่า” ในชื่อ ‘อู่สือหลาน’ (50 Lan) เริ่มต้นกิจการครั้งแรกเมื่อปี 1994 จากความต้องการขยายแบรนด์ให้เจาะตลาดผู้บริโภคในกลุ่มที่กว้างกว่าเดิม หรืออาจจะไม่ได้อินวัฒนธรรมชามาก่อน พร้อมกับเปิดสาขาต้นแบบเป็นแห่งแรกในไต้หวันเมื่อปี 2006

จนปัจจุบันมีสาขามากกว่า 400 แห่งอยู่ใน 12 ประเทศ อาทิ ไต้หวัน ซึ่งมีอยู่เพียง 2 แห่ง เพื่อทำเป็นสาขาต้นแบบเท่านั้น ก่อนจะขยายมาที่สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และพม่า เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่ 10 ที่โคอิ เตะ เลือกเข้ามาทำตลาด และเป็นหนึ่งประเทศที่มิสหม่ามองว่าเป็น Strategic Location ที่ต้องขยายเข้ามา เพราะเป็น Destination ของธุรกิจท่องเที่ยวในภูมิภาคที่คนทั่วโลกอยากเดินทางเข้ามา ประกอบกับแบรนด์อาหารดังๆ หลายแบรนด์ก็เลือกที่จะขยายสาขามาเปิดในประเทศไทย

เปิดตัวครั้งแรก ดังไม่เปรี้ยงป้าง!

5

ภาพจาก facebook.com/koithethailand

การเปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทย “โคอิ เตะ” ไม่ได้ประสบความสำเร็จตามการคาดหมายของหลายๆ คน แม้แบรนด์จะมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในต่างประเทศ แม้จะมีคนไทยบางส่วนที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ รู้จักแบรนด์มาก่อน โดยสาขาแรกเปิดบริการในเดือนกรกฎาคม 2016 ที่เซ็นทรัล บางนา กลับมีผลตอบรับไม่ค่อยดีนัก อาจเป็นเพราะการเป็นแบรนด์ใหม่ที่คนทั่วๆ ไปยังไม่ค่อยรู้จัก ประกอบกับที่ตั้งสาขาอยู่ในโซนที่ค่อนข้างไกล

ประกอบกับ โคอิ เตะ ประเทศไทย ยังไม่ได้เน้นทำการตลาดมากนัก เนื่องจากจำนวนสาขาที่ยังมีน้อย จึงเน้นที่การพัฒนาธุรกิจและเตรียมบุคลากร เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคตเป็นหลักก่อน หลังจากนั้น 3 เดือนต่อมา โคอิ เตะ สาขาที่ 2 เปิดบริการในสยามสแควร์วัน แหล่งรวมวัยรุ่นและเป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากด้วย

แต่เนื่องจากในขณะนั้นประเทศไทยอยู่ในช่วงของความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ Mood & Tone ของคนทั่วทั้งประเทศ จึงไม่พร้อมที่จะเปิดรับหรือสนใจเรื่องอื่นๆ มากนัก เรียกว่าอยู่ในช่วงที่ทุกอย่างแทบจะหยุดชะงักลงโดยอัตโนมัติ

เดินเกมการตลาดด้วยการรีวิว

4

ภาพจาก facebook.com/koithethailand

โคอิ เตะ ให้บริการลูกค้าไปอย่างเงียบๆ โดยในเดือนต่อมาก็ได้ขยายสาขาที่ 3 เพิ่มอีกหนึ่งแห่งที่ เซ็นทรัล พระราม 9 ทำให้เริ่มมีสาขากระจายอยู่ในพื้นที่แต่ละจุดของ กทม. เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ยอดขายในช่วงเวลานั้นก็ยังคงไม่ค่อยดีเช่นเดิม

โดยเวลานั้นโคอิ เตะ เลือกใช้วิธีทำตลาดอย่างเงียบๆ เชิญสื่อที่อยู่ในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมาทำการรีวิวร้าน ทำให้เริ่มเห็นผลตอบรับที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่า จากที่เคยต้มชาแล้วต้องทิ้งมากกว่าได้ขาย ก็สามารถขายได้มากขึ้น ไปจนถึงในบางช่วงที่ต้มกันแทบไม่ทันเลยก็มี

ชูจุดเด่น Handmade Tea

3

ภาพจาก facebook.com/koithethailand

ความแตกต่างของโคอิ เตะ ยังอยู่ที่การเป็น Handmade Tea เพราะวัตถุดิบที่ใช้ทุกอย่างจะทำใหม่หมดแบบ On Site เพื่อให้แต่ละแก้วที่ลูกค้าได้ดื่มนั้น คงความเป็นชาไข่มุกแบบไต้หวันอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการต้มชา ที่การต้มแต่ละครั้งจะเก็บไว้แค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น

เช่นเดียวกับการต้มไข่มุกหรือ Golden Bubble ซึ่งต้องถือเป็น Signature ของโคอิเตะ เพราะเม็ดไข่มุกจะมีขนาดเล็กว่าทั่วไปและมีสีทอง ทำให้บางคนเปรียบเทียบเม็ดไข่มุกของโคอิ เตะ ว่าเหมือนกับไข่ปลาแซลมอน

รายได้ของบริษัท โคอิ เตะ (ประเทศไทย) จำกัด

2

ภาพจาก facebook.com/koithethailand

  • ปี 59 รายได้ 3.5 ล้านบาท ขาดทุน 2 ล้านบาท
  • ปี 60 รายได้ 62 ล้านบาท กำไร 8 ล้านบาท
  • ปี 61 รายได้ 304 ล้านบาท กำไร 81 ล้านบาท
  • ปี 62 รายได้ 519 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 386 ล้านบาท กำไร 36 ล้านบาท

KOI Thé ขายแฟรนไชส์หรือไม่

1

ภาพจาก facebook.com/koithethailand

มีหลายคนสนใจอยากลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ชานมไข่มุก KOI Thé และถามเข้ามาเป็นจำนวนมากว่า KOI Thé ขายแฟรนไชส์หรือไม่ ทางทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ จึงได้ติดต่อสอบถามไปยังบริษัท โคอิ เตะ (ประเทศไทย) จำกัด ได้คำตอบชัดเจนว่า “ตอนนี้ทางเราไม่มีขายแฟรนไชส์ค่ะ”

ซึ่งอาจเป็นเพราะทางบริษัทเป็นตัวแทน KOI Thé จากไต้หวันอยู่แล้ว หากขายแฟรนไชส์ออกไป อาจไม่สามารถควบคุมคุณภาพมาตรฐานได้ อีกทั้งร้าน KOI Thé ส่วนใหญ่เปิดให้ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าชั้นนำของเมืองไทย อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง

สรุปก็คือ แบรนด์ร้านชานมไข่มุก KOI Thé (โคอิ เตะ) ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ บริษัทบริหารธุรกิจเองทั้งหมด

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3CV2BBD

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช