Knowledge และ Know-How แตกต่างกันอย่างไร?

การทำธุรกิจไม่ใช่มีแค่เงินทุนแล้วจะสำเร็จได้สิ่งสำคัญคือ “ความรู้” ที่จะนำมาใช้ เบนจามิน แฟรคลิน เคยกล่าวไว้ว่า “การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนล้ำค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้” หลายแบรนด์ดังก่อนที่จะประสบความสำเร็จก็ต้องผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านประสบการณ์เรียนรู้

และสิ่งเหล่านั้นก็ถือ Knowledge ที่ค่อยๆ พัฒนาให้กลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีนอกจากคำว่า Knowledge ก็ยังมีอีกคำคือ Know-How ที่หลายคนคงสงสัยว่า 2 คำนี้มันต่างกันยังไงและสำคัญแค่ไหนกับการทำธุรกิจ

Knowledge คือสิ่งที่ได้จากการค้นคว้า หรือการศึกษา แต่ความรู้ในความหมายขององค์กรหรือบริษัทต่างๆ นั้นหมายถึงความรู้ หรือประสบการณ์ทางด้านธุรกิจที่ “เป็นประโยชน์” สามารถพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจได้

Know-How ถ้าให้แปลตรงๆก็คือการนำความรู้ไปใช้อย่างไร ถ้าอธิบายความหมายโดยกว้างจึงเป็นเรื่องของความรู้เชิงกระบวนการ หรือความรู้เชิงขั้นตอน เป็นการอธิบายขั้นตอนในการประยุกต์ใช้ความรู้ที่มาจาก Knowledge

ซึ่งอันที่จริงทั้ง Knowledge และ Know-How ต่างก็มีความคล้ายคลึงกันมาก ถ้าจะให้วิเคราะห์ถึงความต่าง อาจกล่าวได้ว่า Knowledge คือความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของคำพูด การบอกเล่า ไม่ว่าจะผ่านตัวหนังสือ วิดีโอ หรือคู่มือต่าง ๆ ในขณะที่ Know-How เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง

Knowledge และ Know-How

ในแง่มุมของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งคำว่า Knowledge และ Know-How เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ โดยต้องเริ่มจากการมีความรู้และต้องนำความรู้นั้นมาใช้ได้อย่างถูกต้อง และเรื่องที่หลายคนอาจไม่รู้เช่นกันว่าที่จริงแล้ว Knowledge ก็ถือเป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา” ทั้งเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ หรือแม้แต่รูปแบบเฉพาะของแต่ละแฟรนไชส์ด้วย

สิ่งเหล่านี้จึงต้องถูกคุ้มครองเพื่อไม่ให้เกิดการลอกเลียนแบบเพราะถือว่าเป็น Knowledge และ Know-How ที่แต่ละคนเรียนรู้และสร้างสรรค์ขึ้นมาจากการลองผิดลองถูกจนได้สูตรสำเร็จที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง การคุ้มครองมี 3 แบบคือ

  1. การคุ้มครองโดยสัญญาแฟรนไชส์ ที่จะกำหนดให้ผู้ลงทุนได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันเพื่อความเป็นมาตรฐาน
  2. การคุ้มครองจากแผนกลยุทธ์ธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของรูปแบบธุรกิจของแต่ละแฟรนไชส์มีการวางระบบให้คนลงทุนสามารถนำไปใช้เริ่มธุรกิจได้ทันที แต่ก็สงวนไว้สำหรับคนที่เป็นแฟรนไชส์ซีเท่านั้น รวมไปถึงสูตรลับในเรื่องต่างๆ เช่นเมนูอาหาร เครื่องดื่ม เหล่านี้เป็นต้น
  3. การคุ้มครองด้วยกฎหมาย เครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า แฟรนไชส์ซีได้รับสิทธิให้ใช้เฉพาะตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้น จะไปแอบอ้างว่าเป็นของตัวเองไม่ได้เด็ดขาด

Knowledge และ Know-How

ซึ่งคำว่า Knowledge กับ Know-How ต่างมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องในขั้นตอนของการทำธุรกิจตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ อาจต้องเริ่มจากการมี Knowledge จากนั้นต้องมี Know-How เพื่อนำไปใช้อย่างได้ผล โดยขั้นตอนเบื้องต้นที่เป็น Know-How ของการพัฒนาธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์คือ

  1. ประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องสำรวจตลาดว่าธุรกิจ สินค้า บริการที่ทำอยู่นั้นเป็นที่ต้องการมากพอที่จะขยายธุรกิจหรือไม่ โดยอาจจะเริ่มจากการขยายสาขาด้วยตัวเองก่อนขยายไปในรูปแบบของแฟรนไชส์ก็ได้
  2. การสร้างร้านต้นแบบ เพื่อให้มองเห็นภาพของการลงทุนได้อย่างชัดเจนให้คนที่สนใจมาซื้อแฟรนไชส์ได้มองเห็นรูปแบบของธุรกิจเพื่อเป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจได้
  3. การจดทะเบียนต่างๆ ก็ถือเป็น Know-How ที่ต้องนำมาใช้ให้ถูกต้อง คนที่ต้องการทำแฟรนไชส์ต้องมีความรู้ในเรื่องของกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. ระบบบริหารจัดการธุรกิจ อันนี้คือสิ่งจำเป็นมาก เป็นการประยุกต์จาก Knowledge มาสู่ Know-How โดยเฉพาะเรื่องของ Operation Manual ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำแฟรนไชส์อย่างมาก
  5. การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องด้วยแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นการใช้ Knowledge ที่มีพัฒนาสู่แฟรนไชส์ที่เติบโตอย่างมีคุณภาพทั้งเรื่องส่งเสริมการตลาด , การพัฒนาสินค้าใหม่ , การควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน เป็นสิ่งที่ต้องเอาความรู้และประสบการณ์มาใช้พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

ทั้งนี้ Knowledge และ Know-How แม้จะมีความต่างกัน แต่ก็เป็นเรื่องเดียวกันที่ต้องใช้คู่กันอย่างแยกไม่ได้ และยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้าไปดูแบรนด์ระดับโลกในเรื่ององค์ความรู้คือสิ่งที่สะสมมายาวนาน

จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละแบรนด์ วิธีการเหล่านี้ถ้านำมาสู่การทำแฟรนไชส์มีข้อดีคือคนลงทุนไม่ต้องไปเริ่มจากศูนย์สามารถอาศัย Knowledge กับ Know-How เหล่านั้นต่อยอดความสำเร็จได้ทันที

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด