KFC ทำยังไง ขายกาแฟ 190 ล้านแก้วในจีน
KFC สามารถสร้างแบรนด์กาแฟในจีนได้หรือไม่? นอกจากตลาดเครื่องดื่มชาผลไม้ในจีนจะแข่งขันกันดุเดือดแล้ว ตลาดกาแฟไม่น้อยหน้าแข่งกันเอาเป็นเอาตาย แบบว่าให้คู่แข่งเจ๊งกันไปข้างหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยสงครามราคาถูก เริ่มที่แบรนด์ Ruixing 9.9 หยวน Luckin 9.9 หยวน Kudi 8.8 หยวน ทำให้แบรนด์กาแฟขนาดกลาง ขนาดเล็กจำนวนมากถูกดูดออกจากตลาดไปเลย
สถิติข้อมูลปี 2566 พบว่าจำนวนร้านกาแฟที่ปิดกิจการในประเทศจีนมีมากกว่า 40,000 แห่ง ถือเป็นเรื่องโหดร้ายที่เกิดขึ้นในวงการธุรกิจกาแฟของจีน แต่ก็มีแบรนด์กาแฟใหม่ๆ กระโดดเข้ามาในสงครามราคาอยู่เรื่อยๆ
ภาพจาก https://bit.ly/4euuILh
เมื่อเร็วๆ นี้ปลายเดือนมีนาคม 2567 KFC จัดงานฉลองเปิดร้านกาแฟ KCOFFEE ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น “Kenyue Coffee” ครบ 100 สาขา ต่อมาสิ้นเดือนมิถุนายนทะลุ 200 สาขา หลังจากเปิดสาขาแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่เซี่ยงไฮ้ และคาดว่าจะขยายสาขาได้มากถึง 300 สาขาภายในสิ้นปี 2567 เรียกได้ว่าทุกๆ วันจะมีการเปิดร้านใหม่เฉลี่ย 1 สาขา
อย่างไรก็ตาม ในแง่ราคากาแฟของ Kenyue Coffee จะขายต่ำที่ 9.9 หยวน หลังจากเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ แต่ก็ไม่ขาดทุน มีอัตราของกำไรดีพอสมควร จากการขายกาแฟได้มากกว่า 190 ล้านแก้วในปี 2566
Yum China ยังรายงานในช่วงครึ่งปีแรก 2567 รายได้ของ KCOFFEE ทะลุ 1 พันล้านหยวน หรือ 4,693,218,000 บาท เพิ่มขึ้น 26% โดยมียอดขายเกือบ 120 ล้านแก้ว เพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
เป้าหมายต่อไปของ KCOFFEE คือการขยายสาขาในเมืองใหญ่ๆ ของจีน หลังจากที่ 100 สาขาแรกกระจายในเมืองต่างๆ มากกว่า 80 เมืองทั่วประทศ อาทิ มณฑลอานฮุย เจ้อเจียง เหอหนาน หูเป่ย เจียงซี เหลียวหนิง ซานตง ฯลฯ
กลยุทธ์ KCOFFEE
ภาพจาก https://bit.ly/3zpWbii
ทำไม KCOFFEE ขยายสาขาได้เร็ว สามารถขายได้ถึง 190 ล้านแก้ว และกล้าที่จะเปิดกลยุทธ์ราคาต่ำ 9.9 หยวนทุกวัน
1.ได้เปรียบในด้านซัพพลายเชน หรือห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งของ KFC อีกทั้งอิทธิพลของแบรนด์ KFC จากตะวันตก ทำให้มีอำนาจในการต่อรองซื้อวัตถุดิบได้ราคาถูกเมื่อซื้อในปริมาณมากๆ โดย KCOFFEE ยังได้มีความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัทนมชั้นนำในประเทศ เช่น Mengniu และ Nestlé ทำให้ขายกาแฟแก้วละ 9.9 หยวนทุกวันได้
2.KCOFFEE อาศัยความได้เปรียบด้านการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อขายราคา 9.9 หยวน แม้จะ “ปรับลด” ราคา แต่ไม่ลด คุณภาพและบริการ ในฐานะแบรนด์ไก่ทอดชั้นนำที่เข้มงวดเรื่องคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย
3.มีการสร้างกฎพิเศษในร้านกาแฟ KCOFFEE ถ้าลูกค้าไม่พอใจสินค้า ทางร้านจะต้องทำให้ลูกค้าใหม่โดยไม่มีเงื่อนไข แสดงให้เห็นว่า ทางร้านมีความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า และยังทำตามสัญญาทำสินค้าให้ลูกค้าใหม่อีกด้วย
4.มีสินค้าหลากหลาย นอกจากกาแฟสดหลายเมนู ยังมีของว่าง ขนมหวาน ชานมไข่มุก ชาผลไม้ รวมถึงอาหารเช้าอีกต่างหาก
5.ใช้โมเดลเปิดร้าน “เคียงข้างกัน” กับร้าน KFC ที่มีมากกว่า 10,000 สาขาในจีน สามารถเพิ่มช่องทางการขายในหลายๆ มณฑลทั่วประเทศ อีกทั้งยังใช้ห้องครัวและพนักงานร่วมกันกับ KFC ช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟได้มาก
ภาพจาก https://bit.ly/3zpWbii
สรุปก็คือ จากเรื่องราวของแบรนด์กาแฟ KCOFFEE ของ KFC บ่งชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเปิดร้านกาแฟจนได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ทำยอดขาย 190 ล้านแก้วในปี 2566 ได้ แต่เมื่อพิจารณาจากห่วงโซ่อุปทาน และข้อได้เปรียบอื่นๆ ของเครือข่ายร้าน KFC มากกว่า 10,000 สาขา จึงทำให้ร้านกาแฟ KCOFFEE เติบโตอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปี
ข้อมูลจาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)