KFC ทำยังไง ขายกาแฟ 190 ล้านแก้วในจีน

KFC สามารถสร้างแบรนด์กาแฟในจีนได้หรือไม่? นอกจากตลาดเครื่องดื่มชาผลไม้ในจีนจะแข่งขันกันดุเดือดแล้ว ตลาดกาแฟไม่น้อยหน้าแข่งกันเอาเป็นเอาตาย แบบว่าให้คู่แข่งเจ๊งกันไปข้างหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยสงครามราคาถูก เริ่มที่แบรนด์ Ruixing 9.9 หยวน Luckin 9.9 หยวน Kudi 8.8 หยวน ทำให้แบรนด์กาแฟขนาดกลาง ขนาดเล็กจำนวนมากถูกดูดออกจากตลาดไปเลย

สถิติข้อมูลปี 2566 พบว่าจำนวนร้านกาแฟที่ปิดกิจการในประเทศจีนมีมากกว่า 40,000 แห่ง ถือเป็นเรื่องโหดร้ายที่เกิดขึ้นในวงการธุรกิจกาแฟของจีน แต่ก็มีแบรนด์กาแฟใหม่ๆ กระโดดเข้ามาในสงครามราคาอยู่เรื่อยๆ

KFC ทำยังไง ขายกาแฟ 190 ล้านแก้วในจีน

ภาพจาก https://bit.ly/4euuILh

เมื่อเร็วๆ นี้ปลายเดือนมีนาคม 2567 KFC จัดงานฉลองเปิดร้านกาแฟ KCOFFEE ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น “Kenyue Coffee” ครบ 100 สาขา ต่อมาสิ้นเดือนมิถุนายนทะลุ 200 สาขา หลังจากเปิดสาขาแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่เซี่ยงไฮ้ และคาดว่าจะขยายสาขาได้มากถึง 300 สาขาภายในสิ้นปี 2567 เรียกได้ว่าทุกๆ วันจะมีการเปิดร้านใหม่เฉลี่ย 1 สาขา

อย่างไรก็ตาม ในแง่ราคากาแฟของ Kenyue Coffee จะขายต่ำที่ 9.9 หยวน หลังจากเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ แต่ก็ไม่ขาดทุน มีอัตราของกำไรดีพอสมควร จากการขายกาแฟได้มากกว่า 190 ล้านแก้วในปี 2566

Yum China ยังรายงานในช่วงครึ่งปีแรก 2567 รายได้ของ KCOFFEE ทะลุ 1 พันล้านหยวน หรือ 4,693,218,000 บาท เพิ่มขึ้น 26% โดยมียอดขายเกือบ 120 ล้านแก้ว เพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

เป้าหมายต่อไปของ KCOFFEE คือการขยายสาขาในเมืองใหญ่ๆ ของจีน หลังจากที่ 100 สาขาแรกกระจายในเมืองต่างๆ มากกว่า 80 เมืองทั่วประทศ อาทิ มณฑลอานฮุย เจ้อเจียง เหอหนาน หูเป่ย เจียงซี เหลียวหนิง ซานตง ฯลฯ

กลยุทธ์ KCOFFEE

KFC ทำยังไง ขายกาแฟ 190 ล้านแก้วในจีน

ภาพจาก https://bit.ly/3zpWbii

ทำไม KCOFFEE ขยายสาขาได้เร็ว สามารถขายได้ถึง 190 ล้านแก้ว และกล้าที่จะเปิดกลยุทธ์ราคาต่ำ 9.9 หยวนทุกวัน

1.ได้เปรียบในด้านซัพพลายเชน หรือห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งของ KFC อีกทั้งอิทธิพลของแบรนด์ KFC จากตะวันตก ทำให้มีอำนาจในการต่อรองซื้อวัตถุดิบได้ราคาถูกเมื่อซื้อในปริมาณมากๆ โดย KCOFFEE ยังได้มีความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัทนมชั้นนำในประเทศ เช่น Mengniu และ Nestlé ทำให้ขายกาแฟแก้วละ 9.9 หยวนทุกวันได้

2.KCOFFEE อาศัยความได้เปรียบด้านการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อขายราคา 9.9 หยวน แม้จะ “ปรับลด” ราคา แต่ไม่ลด คุณภาพและบริการ ในฐานะแบรนด์ไก่ทอดชั้นนำที่เข้มงวดเรื่องคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย

3.มีการสร้างกฎพิเศษในร้านกาแฟ KCOFFEE ถ้าลูกค้าไม่พอใจสินค้า ทางร้านจะต้องทำให้ลูกค้าใหม่โดยไม่มีเงื่อนไข แสดงให้เห็นว่า ทางร้านมีความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า และยังทำตามสัญญาทำสินค้าให้ลูกค้าใหม่อีกด้วย

4.มีสินค้าหลากหลาย นอกจากกาแฟสดหลายเมนู ยังมีของว่าง ขนมหวาน ชานมไข่มุก ชาผลไม้ รวมถึงอาหารเช้าอีกต่างหาก

5.ใช้โมเดลเปิดร้าน “เคียงข้างกัน” กับร้าน KFC ที่มีมากกว่า 10,000 สาขาในจีน สามารถเพิ่มช่องทางการขายในหลายๆ มณฑลทั่วประเทศ อีกทั้งยังใช้ห้องครัวและพนักงานร่วมกันกับ KFC ช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟได้มาก

KFC ทำยังไง ขายกาแฟ 190 ล้านแก้วในจีน

ภาพจาก https://bit.ly/3zpWbii

สรุปก็คือ จากเรื่องราวของแบรนด์กาแฟ KCOFFEE ของ KFC บ่งชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเปิดร้านกาแฟจนได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ทำยอดขาย 190 ล้านแก้วในปี 2566 ได้ แต่เมื่อพิจารณาจากห่วงโซ่อุปทาน และข้อได้เปรียบอื่นๆ ของเครือข่ายร้าน KFC มากกว่า 10,000 สาขา จึงทำให้ร้านกาแฟ KCOFFEE เติบโตอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปี

ข้อมูลจาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช