Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 หมื่นล้านบาท

หากพูดถึงร้านอาหารเพื่อสุขภาพ “โอ้กะจู๋” เชื่อว่ามีน้อยคนที่จะไม่รู้จัก เป็นร้านอาหารที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่ใส่ใจในเรื่องสุขภาพอย่างล้นหลาม ล่าสุดแตกไลน์ธุรกิจน้องใหม่อย่าง Joe Wings ไก่ทอดไทย แบรนด์ไก่ทอดจุ่มซอส คล้ายๆ กับแบรนด์ไก่ทอดในสหรัฐอเมริกาอย่าง Wingstop มีความโดดเด่นในเรื่องเมนูปีกไก่ทอดที่เป็นเอกลักษณ์

ไก่ทอดน้องใหม่ Joe Wings จะเดินเกมธุรกิจอย่างไร ในสมรภูมิตลาดไก่ทอดเมืองไทยที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด มีผู้เล่นมากหน้าหลายตา ทั้งแบรนด์อเมริกา จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ รวมถึงไทย

ที่สำคัญก็คือ Joe Wings จะสามารถแชร์ส่วนแบ่งมูลค่าของตลาดอุตสาหกรรมร้านอาหารบริการด่วนในไทย หรือ QSR ได้มากน้อยแค่ไหน ในปี 2567 มีมูลค่าตลาด 47,700 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าตลาดไก่ทอด 27,600 ล้านบาท

จุดเริ่มต้นของร้านไก่ทอด Joe Wings (โจ วิงส์) มาจากผู้บริหารบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน) ต้องการแตกไลน์ธุรกิจให้มีความหลากหลายมากขึ้น หลังจากมีธุรกิจ 3 แบรนด์อยู่ในมือ ก็คือ โอกะจู๋, Ohkajhu Wrap & Rol’ ร้านอาหารจานด่วน และ Oh! Juice ร้านน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ แต่ละแบรนด์ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างล้นหลาม

หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้านโอ้กะจู๋ “คุณโจ้ จิรายุทธ ภูวพูนผล” เป็นคนที่ชื่นชอบไก่ทอด เป็นคนพัฒนาสูตรจนได้รสชาติจัดจ้านสไตล์ไทย ทางทีมงานขนานนาม “ไก่ทอดสไตล์โจ้” จึงเป็นที่มาของชื่อร้าน Joe Wings แต่ออกเสียว่า โจ เพื่อให้ชาวต่างชาติเรียกได้ง่ายขึ้น

ร้านไก่ทอด Joe Wing สาขาแรกเปิดอยู่ที่ชั้น G สยามพารากอน ขนาดพื้นที่ 150 ตารางเมตร

ภาพจาก https://bit.ly/4jp049d

เอกลักษณ์และจุดเด่นของร้านไก่ทอด Joe Wings ที่แตกต่างจากร้านไก่ทอดแบรนด์อื่นๆ ในตลาด ก็คือ

  1. เขาใช้น้ำมันพืชคาโนล่า ทนความร้อน มีไขมันอิ่มตัวสูง เปลี่ยนทุกๆ 2-3 ออเดอร์ และใช้เตา Pressure Fryers หม้อทอดแรงดัน ช่วยลดการอมน้ำมัน 30-40% ทำให้ไก่ทอดของทางร้านไม่ค่อยอมน้ำมัน แต่ไม่ถึงกับแห้ง ยังมีความนุ่มเป็นเอกลักษณ์
  2. ไก่ของทางร้านจะไม่ใช้สารเร่ง หรือยาปฏิชีวนะตกค้าง ใช้ไก่เอสเพียว (S-Pure) เบทาโกร เป็นไก่ทอดที่ดีต่อร่างกาย
  3. ทางร้านทำการปรุงรสและทอดไก่สดๆ ตามออเดอร์ ไม่ทอดทิ้งเอาไว้ เหมือนหลายๆ แบรนด์ในตลาด อีกทั้งมีการทำซอส Dip ด้วยมือแบบสดๆ และ Organic Salad ทำให้ลูกค้าอาจต้องรอนานบ้าง

นอกจากไก่ทอด Joe Wings เนื้อไก่จะนุ่ม แป้งกรอบ ยังมีเมนูไก่ทอดให้เลือกถึง 9 รสชาติ คือ American Nashville, Thai Spice up, Midnight, Hot Too Hot, Louisiana, Lemon Pepper, Nori & Soy, Garlic Parmesan, Classic เสิร์ฟพร้อมซอส Dips 5 รสชาติ ได้แก่ OG Honey Mustard, Ranch, Garlic, Joe Chilli, Crazy Cheese

Joe Wings ไก่ทอดไทย
ภาพจาก https://bit.ly/4jp049d

เมนูไก่ทอดของ Joe Wings ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 119 – 999 บาท

ไม่เพียงเท่านี้ยังมีเมนูของทานเล่นอื่นๆ ที่ไม่ได้มีแค่ไก่ทอด เช่น เฟรนช์ฟรายส์, แตงกว่าญี่ปุ่นดอง, กะหล่ำดองแอปเปิ้ลไซเดอร์, อะโวคาโดแตกกวาเชค, ทูน่าแตงกวาเชค, สลัดผักพอนสึ, สลัดไก่เผ็ด, สลัดไก่อะโวคาโด ราคาเริ่มต้น 59 – 79 บาท

สำหรับแผนการขยายสาขาของร้านไก่ทอด Joe Wings วางแผนเปิดสาขาใหม่ปีละ 3-5 แห่ง ใช้พื้นที่ขนาด 150-200 ตารางเมตร เฉพาะครัวอย่างเดียว 60 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุนสาขาละประมาณ 5-7 ล้านบาท

เน้นทำเลศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ อาคารสำนักงาน รวมถึงพื้นที่ค้าปลีกของ OR ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นโอ้กะจู๋ เช่น ปั๊มน้ำมัน ปตท. และก็มีความเป็นไปได้สูงที่ Joe Wings เปิดให้บริการในปั๊มน้ำมัน หลังจากที่แฟรนไชส์ไก่ทอด Texas Chicken ซึ่งเป็นของ OR ปิดให้บริการในปั๊มน้ำมันไปแล้วตั้งแต่ 30 ก.ย. 2567

ปัจจุบันร้านอาหารภายใต้การบริหารของบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน แบ่งออกเป็น ร้านโอ้กะจู๋ 41 สาขา, Oh! Juice 21 สาขา, Ohkajhu Wrap & Roll 1 สาขา และ Joe Wing 1 สาขา

Joe Wings ไก่ทอดไทย
ภาพจาก www.ohkajhu.com

ส่วนรายได้บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน)

  • ปี 2565 รายได้ 1,215 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 38 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 1,716 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 140 ล้านบาท
  • ปี 2567 รายได้ 2,444 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 201 ล้านบาท

หากรวมผลประกอบการทั้ง 3 ปี มีรายได้เติบโตเฉลี่ย 41.8% ต่อปี ทำกำไรสูงถึง 156% ต่อปี

Joe Wings จะบินไกลแค่ไหน?

Joe Wings ไก่ทอดไทย
ภาพจาก https://bit.ly/4jp049d

แม้การลงสนามไก่ทอดของ Joe Wings จะเป็นเพียงก้าวแรกในตลาดที่มีการแข่งขันดุเดือด มีแบรนด์ไก่ทอดคู่แข่งที่เข้าสู่ตลาดไก่ทอดในเมืองไทยไปก่อนแล้ว มีทั้งแบรนด์อเมริกา จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ และไทย อาทิ

  • KFC จำนวน 1,060 สาขา
  • Bonchon จำนวน 112 สาขา
  • BHC จำนวน 12 สาขา
  • Zhengxin Chicken Steak จำนวน 4 สาขา
  • Wallace จำนวน 4 สาขา
  • Pelicana จำนวน 1 สาขา
  • Hot Star Large Fried Chicken จำนวน 1 สาขา (เปิด 1 พ.ค. 68)
  • เชสเตอร์ จำนวน 200 สาขา
  • ไก่ย่าง 5 ดาว จำนวน 5,000 สาขา

แต่ด้วยรากฐานแบรนด์โอ้กะจู๋ที่แข็งแรง กลยุทธ์การตลาดที่ชัดเจน มีเมนูไก่ทอดที่ค่อนข้างแตกต่างคู่แข่ง และมีความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภค ที่สำคัญมีผู้ถือหุ้นยักษ์ใหญ่ OR ที่มีประสบการณ์ในเรื่องของการบริหารแฟรนไชส์เครื่องดื่มอย่าง “คาเฟ่ อเมซอน” จนสามารถขยายสาขาได้มากกว่า 4,339 แห่งทั้งในและต่างประเทศ กลายเป็นแบรนด์กาแฟที่ได้รับความนิยมมากสุดในไทย

นั่นจึงทำให้โอกาสที่ Joe Wings ไก่ทอดไทย จะสามารถแข่งขันและเติบโตได้ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกหลักในตลาดไก่ทอดของไทย ยิ่งหน้าถ้าหากสามารถทำในเรื่องการปรับตัว คุณภาพของอาหาร บริการ ทำเลที่ตั้ง ราคาที่เหมาะสม ก็ไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลย

อ้างอิงข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช