Jersey Mike’s แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดอันดับ 2 ในอเมริกา How To จนรวย

หากพูดถึงแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดสัญชาติอเมริกาอย่าง Jersey Mike’s เชื่อว่าคนไทยหลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อเท่าไรนัก แต่รู้หรือไม่ว่า Jersey Mike’s ได้รับการจัดอันดับแบรนด์แฟรนไชส์ยอดนิยมอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา ประจำปี 2025 จากเว็บไซต์ Entrepreneur.com เป็นรองอันดับหนึ่ง Taco Bell แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดกลุ่มเดียวกัน เรื่องราวและกลยุทธ์ของแฟรนไชส์แซนด์วิช Jersey Mike’s น่าสนใจอย่างไร

จุดเริ่มต้น Jersey Mike’s

Jersey Mike's แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดอันดับ 2
ภาพจาก www.jerseymikes.com

Jersey Mike’s เดิมเรียกว่า Mike’s Subs เริ่มต้นขายแซนด์วิชปี 1956 ในเมืองพอยต์เพลแซนต์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ หลังจากที่กระแสอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่าง “แซนด์วิช” ได้รับความนิยมในอเมริกามาตั้งแต่ชาวงปี 1950 ทำให้ Mike´s Subs เห็นโอกาสและกลายเป็นร้านขายแซนด์วิชเล็กๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยกลยุทธ์ให้บริการและดูแลเอาใจลูกค้าเป็นอย่างดี

ต่อมาปี 1971 มีพนักงานคนหนึ่ง ทำงานพาร์ทไทม์ในร้าน Mike’s Subs วัยเพียง 17 ปี ชื่อ Peter Cancro ได้ยินข่าวว่าเจ้าของ Mike’s Subs อยากจะขายร้าน และแม่ของ Pete Cancro ก็ได้แนะนำให้เขาซื้อร้านขายแซนด์วิชที่เขาทำงานอยู่ไปเลย

Jersey Mike's แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดอันดับ 2
ภาพจาก www.jerseymikes.com

ตอนนั้น Peter Cancro รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลก แต่พอกลับมาคิดดีๆ อีกที ก็รู้ว่ามันเป็น “โอกาส” และคิดว่าจะต้องหาเงินจำนวน 125,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาซื้อร้านนี้ให้ได้ ต่อมาในปี 2575 ด้วยประสบการณ์ทำงานในร้าน Mike’s Subs มา 3-4 ปี บวกกับความตั้งใจ จึงทำให้อดีตโค้ชฟุตบอลที่เป็นนายธนาคารอนุมัติเงินกู้ให้เขาไปซื้อร้าน Mike’s Subs ได้สำเร็จ

ปี 1987 ร้านขายแซนด์วิชเล็กๆ ของ Peter Cancro ได้พัฒานาก้าวไปอีกระดับ จนขยายาสาขาแบบแฟรนไชส์เป็นครั้งแรก และเพิ่มรักษาความเป็นร้านแบบดั้งเดิม เขาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Jersey Mike’s Subs Peter Cancro ขยายสาขาแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็น Jersey Mike’s ที่มีสาขาเกือบ 3,000 แห่งทั่วโลก

ปี 2023 Jersey Mike’s สามารถสร้างยอดขายกว่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบต่อจากปี 2022 ประมาณ 23% ถือเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่ขยายสาขามากที่สุดรองแค่สตาร์บัคส์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

Jersey Mike's แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดอันดับ 2
ภาพจาก www.jerseymikes.com

มาดูตัวเลขยอดขายแต่ละสาขาของ Jersey Mike’s อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่า Subway ที่มียอดขายสาขาละ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ด้วยจำนวนตัวเลขยอดขายแต่ละสาขาของ Jersey Mike’s จึงถูกบริษัทลงทุนเอกชน Blackstone ซื้อหุ้นด้วยมูลค่าราวๆ 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 270,000 ล้านบาท

กลยุทธ์การเติบโต Jersey Mike’s

ภาพจาก www.facebook.com/jerseymikes

กลยุทธ์การเติบโตของ Jersey Mike’s ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือ แฟรนไชส์ จำนวนสาขากว่า 95% ของสาขาทั้งหมดของ Jersey Mike’s คือ แฟรนไชส์ และรายได้และการเติบโตของ Jersey Mike’s ส่วนใหญ่มาจากการบริหารจัดการสาขาแฟรนไชส์ให้รักษาาคุณภาพในแต่ละสาขาเหมือนกับร้านต้นแบบนั่นเอง

Peter Cancro ผู้ก่อตั้งและCEO พูดเสมอว่า Jersey Mike’s คือ Training Company เป็นบริษัทฝึกอบรมให้ความรู้แก่แฟรนไชส์ซี เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนฝึกอบรมพนักงาน เพื่อให้แต่ละสาขาดำเนินธุรกิจได้เหมือนกับร้านต้นแบบ

โดยในแต่ละปี Jersey Mike’s ได้ทำการสอนและฝึกอบรมให้ความรู้ราวๆ 5,000 กว่าคลาส ที่สำคัญผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นนานกว่า 9 สัปดาห์ มากกว่า Burger King 2 เท่า และ Subway ถึง 3 เท่า ไม่เพียงเท่านี้ Jersey Mike’s ยังพัฒนาทักษะและให้ความรู้แก่พนักงานและแฟรนไชส์ซีแต่ละสาขาอย่างต่อเนื่อง

ภาพจาก www.facebook.com/jerseymikes

สิ่งเหล่านี้ คือ ปัจจัยที่ทำให้ Jersey Mike’s มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สร้างยอดขายในแต่ละสาขาโตก้าวกระโดด ให้ความสำคัญกับ “คุณภาพมาตรฐาน” ของแต่ละสาขา

นั่นคือหัวใจของ Jersey Mike’s แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช