ITD แนะธุรกิจไทย เน้น #ขายแฟรนไชส์ เพื่อนบ้าน สร้างมูลค่าให้ธุรกิจก้าวกระโดด
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD ชี้ธุรกิจ SME ไทยยังส่งออกน้อย เพราะไม่มีความรู้และเข้าใจกฎระเบียบต่างประเทศ สินค้าผลิตไม่ได้มาตรฐาน ผู้ประกอบการมองการส่งออกเป็นเรื่องยาก
แนะอยากเติบโตต้องกล้าออกงาน สร้างความแตกต่าง หมั่นโชว์สินค้าทางออนไลน์ เข้าถึงลูกค้าหลากหลาย ชี้สินค้าอุปโภค-บริโภค ได้รับความนิยมใน CLMV สนับสนุนธุรกิจด้านบริการไทย ขยายตลาดแฟรนไชส์ประเทศเพื่อนบ้าน สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ
คุณวิมล ปั้นคง รองผู้อำนวยการ (วิชาการ) สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD เปิดเผยกับไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ว่า ที่ผ่านมาไทยมีบทบาทด้านการค้าระหว่างประเทศ มูลค่าทางการค้าต่อจีดีพีค่อนข้างสูง นำเข้า-ส่งออก ร้อยละ 30 ของจีดีพี
บริษัทขนาดใหญ่ยังมีบทบาทโดยตรงในการค้าระหว่างประเทศ บริษัทเหล่านี้มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี มีความสามารถในการสู่ตลาดต่างประเทศ มีความเข้าใจตลาดเป็นอย่างดี ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตแล้วทำการส่งออกไปต่างประเทศ สินค้าหลักๆ เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
ส่วนธุรกิจ SME ที่ผ่านมามีการส่งออกอยู่ 2 รูปแบบ คือ เป็นส่วนหนึ่งของการส่งออกบริษัทขนาดใหญ่ เช่น ไทยส่งออกรถยนต์ ก็จะมี SME ผลิตชิ้นรถยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบผลิตรถยนต์ และรูปแบบที่สอง SME เป็นผู้ส่งออกโดยตรง เช่น อาหาร เฟอร์นิเจอร์ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เกษตรแปรรูปอาหารต่างๆ โดยตลาดใหญ่ๆ ของ SME จะอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก เช่น อาเซียน จีน เป็นสินค้าที่สอดคล้องกับรสนิยมของเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า SME ยังส่งออกจำนวนน้อย อาจเป็นเพราะยังไม่เข้าใจเรื่องกฎระเบียบ สินค้าที่ผลิตได้ยังไม่ได้มาตรฐานต่างประเทศ ขาดมุมมองด้านการค้าระหว่างประเทศ มองว่าการส่งออกเป็นเรื่องยาก ทั้งที่การส่งออกไม่ใช่เรื่องยากสามารถทำได้ ถ้าทำได้ก็จะนำไปสู่การขยายกิจการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้ ส่วนภาครัฐได้มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริม SME ในการส่งออกอยู่แล้ว เพราะเป็นตลาดใหญ่ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง
ภาครัฐคอยเป็นพี่เลี้ยงช่วย SME ส่งออกต่างประเทศ
อันดับแรก SME เข้าใจตลาด สินค้าที่ส่งออกไปขายได้นั้น ต้องทำฉลากให้ตรงกับกฎหมายที่เขากำหนด จะต้องไปขออนุญาตจากองค์กรที่รับรองมาตรฐานก่อน และต้องเข้าใจกระบวนการนำเข้า-ส่งออก เมื่อทำความรู้ความเข้าใจแล้ว รัฐบาลจะเอาสินค้าไปโชว์ จัดงานแสดงสินค้า เชิญผู้ซื้อต่างชาติเข้ามาเยี่ยมชม นำไปสู่การค้าขายต่อกัน
รัฐบาลยังฝึกอบรมให้ความรู้ SME เกี่ยวกับตลาดเพื่อนบ้านว่ามีกฎระเบียบอะไรบ้าง ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งสินค้าไปขายได้ ตามความต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศ การฝึกอบรมด้านมาตรฐานสินค้า มาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า ที่สำคัญมากคือการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะธนาคารที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ
ปี 67 สินค้าแพง-กำลังซื้อลด ความท้าทายส่งออกไทย
คุณวิมล บอกว่า นับตั้งแต่หลังโควิดมา มูลค่าการค้าระหว่างประเทศไม่เติบโตเหมือนกับช่วงก่อนเกิดโควิด เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคในต่างประเทศเริ่มลดลง ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน เศรษฐกิจประเทศเหล่านี้ไม่ได้ขยายตัวมากเท่ากับก่อนโควิด ประกอบกับมีการแข่งขันมากขึ้น มีสินค้าจากหลายประเทศแข่งขันในตลาดเดียวกัน ทำให้ประเทศที่ส่งออกมีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น
ส่วนตลาดจีนเศรษฐกิจก็ไม่โตมาก คนจีนเริ่มมีกำลังซื้อลดลง สินค้าที่ไทยส่งไปขายจีน ก็มีประเทศอื่นอื่นๆ ส่งสินค้าไปขายได้ในราคาต่ำกว่าไทย อย่างผลไม้ก็เห็นเวียดนามเริ่มส่งผลไม้ไปขายที่จีนแล้ว ระยะทางโลจิสติกส์เขาใกล้กว่าเรา คุณภาพอาจไม่ดีเท่าไทยแต่ราคาเขาถูกกว่า ผู้บริโภคในจีนมีทางเลือกมากขึ้น แทนที่จะซื้อจากไทยอย่างเดียวก็ไปเลือกซื้อเวียดนามและประเทศอื่นๆ มากขึ้น
สร้างนวัตกรรมสินค้า เพิ่มมูลค่าสินค้าไทย
ส่วนการแก้ปัญหาสินค้าไทยมีราคาสูงกว่าคู่แข่งในตลาดต่างประเทศ คุณวิมล กล่าวว่า ผู้ประกอบกอบไทยต้องสร้างนวัตกรรมให้สินค้าของตัวเองมีความแตกต่าง เป็นโจทย์ใหญ่เลยว่าจะขายของเดิมไม่ได้อีกแล้ว ส่วนอาหาร อาหารแปรรูป เราจะขายของแบบเดิมๆ ไม่ได้อีกต่อไป ต่างประเทศเขาตามทัน ต้นทุนถูกกว่าเรา
เพราะฉะนั้น เราจะต้องคิดถึงเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม การแปรรูป การสร้างความแตกต่าง การส่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคในต่างประเทศแล้วเขาอยากจะซื้อของเรามากขึ้น ต้องให้ความสำคัญเรื่องโปรดักส์ รสชาติ แต่ต้องทำให้กระบวนการนำเข้า-ส่งออกถูกลง ค่าใช้จ่ายขนส่งสินค้าลดลง รวมถึงต้องเป็นทุเรียนรูปแบบใหม่ ที่สร้างมูลค่าได้มากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค การทำตลาดออนไลน์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลายในต้นทุนที่ต่ำลง
สินค้าอุปโภค-บริโภค โดดเด่นใน CLMV
สำหรับตลาดส่งออกในอาเซียนที่เป็นโอกาสของสินค้าไทย คือ ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม สินค้าส่งออกสำคัญ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง สบู่ รองเท้า ผงซักฟอก อาหารแปรรูป สินค้าเหล่านี้ประเทศเพื่อนบ้านให้ความไว้วางใจอย่างมาก มีความสะอาด มีมาตรฐานความปลอดภัย
ส่วนผู้ประกอบการที่สนใจอยากส่งออกต่างประเทศ ถ้าอยากส่งออกให้มาร่วมงานกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงอ่านเว็บไซต์ ITD จะมีงานวิจัยเกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การค้าชายแดนกับเพื่อนบ้าน มาตรการที่เกี่ยวกับเพื่อนบ้าน อยากให้ผู้ประกอบการไทยเติมความรู้ก่อน
ต่อไปให้ไปหากรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทางกรมฯ จะมีโครงการให้ผู้ประกอบการไทยสมัครร่วมออกบูธในต่างประเทศได้ ฝึกอบรมเพื่อให้เข้าใจกระบวนการนำเข้า-ส่งออก ที่สำคัญต้องถามตัวเองก่อนว่าโปรดักส์พร้อมส่งออกหรือยัง ได้มาตรฐานสินค้าหรือไม่ ได้ GMP ไหม ขึ้นทะเบียน อย.ถูกต้องหรือยัง
ก่อนส่งออกต้องหาพาร์ทเนอร์ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการออกบูธ การทำตลาดออนไลน์ ไปร่วมกิจกรรมการค้าชายแดน จะทำให้รู้จักผู้ซื้อ พูดคุยกัน เขาสนใจสินค้าของเราแล้วให้เราปรับปรุงสินค้าอย่างไรบ้าง ทำฉลากอย่างไร ออกแบบโปรดักส์อย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการมากขึ้น
“การส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศไม่ใช่เรื่องยาก ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดชายแดนก็สามารถไปขายประเทศเพื่อนบ้านได้ สามารถส่งสินค้าไปขายที่ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่าได้ อย่าไปคิดว่าอยู่อยุธยา นนทบุรี ไม่สามารถส่งสินค้าไปขายที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ เพราะปัจจุบันระบบโลจิสติกส์มีความทันสมัยมาก”
แนะธุรกิจบริการไทย ขายแฟรนไชส์สร้างมูลค่าให้ธุรกิจ
คุณวิมล กล่าวปิดท้ายถึงเรื่องการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศด้วยว่า ปัจจุบันการขายสินค้าเป็นโปรดักส์ หรือ Goods ต้องใช้กระบวนการนำเข้า-ส่งออกตามปกติ ถ้าขายบริการ เช่น การไปเปิดร้านอาหารที่เพื่อนบ้าน ร้านเสริมความงาม โรงเรียนสอนภาษา อู่ซ่อมรถ ธุรกิจเหล่านี้เป็นธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าด้วยเช่นกัน
ปกติธุรกิจเหล่านี้ไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้านใช้เงินไม่น้อย ต้องหาพื้นที่ก่อสร้าง เพราะเป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียง ถ้าอยากไปขายที่ลาวก็ต้องหาพาร์ทเนอร์ที่ลาว คุยข้อตกลงกัน ประเทศพื่อนบ้านยังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์โดยเฉพาะ แต่เป็นการเซ็นสัญญาในทางแพ่ง ต้องกำหนดชัดเจนว่าเขาต้องซื้อวัตถุดิบจากเรา เขาจะต้องส่งคนมาเทรนนิ่งที่เราเพื่อสร้างมาตรฐาน แล้วเรามีสิทธิเข้าไปควบคุมคุณภาพว่า กาแฟ ชา ที่ขายไปนั้น ต้องได้คุณภาพทุกแก้ว ตั้งแต่แก้ที่ 1 ไปจนถึงแก้ที่ 100
อยากสนับสนุนธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหาร ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟ โรงเรียนกวดวิชาที่มีทักษะการคิด โรงเรียนสอนดนตรี สถานบริการด้านสุขภาพ เสริมความงาม สามารถใช้แนวคิดขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์ไปยังเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างมูลค่าและการเติบโตให้กับธุรกิจ ซึ่งการขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์จะดีกว่าการส่งออก Goods อย่างเดียว
“การขยายธุรกิจบริการไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นโอกาสใหม่ที่คนไทยจะขาย Know how และ Brand พร้อมกัน ขายวิธีการทำธุรกิจ ขายการควบคุมคุณภาพให้เพื่อนบ้าน นี่คือสิ่งที่เราสร้างมาตลอดการทำธุรกิจ ก่อนไปขายเพื่อนบ้าน ทำสัญญากัน เพื่อควบคุมคุณภาพว่าเขาต้องปฏิบัติตามมาตรฐานของเรา ต้องซื้อวัตถุดิบจากเรา ต้องควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ต้องรักษาความลับทางการค้า ต้องไม่ใช้เครื่องหมายทางการค้าร้านอื่นๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต”
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)