Inside Franchise…McDonald’s
จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเชนร้านอาหารที่มีสาขาเป็นจำนวนมากอย่างแมคโดนัลด์ ซึ่งทุกคนส่วนใหญ่ได้ลิ้มลองอาหารของเชนร้านแมคโดนัลด์มาแล้ว
ดังนั้น ยอดขาย รายได้ และมูลค่าของแมคโดนัลด์น่าจะเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย เนื่องจากมีสาขาใน 119 ประเทศทั่วโลก แต่ตัวเลขกลับไม่เป็นเช่นนั้น เกิดอะไรขึ้นกับแมคโดนัลด์ แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
แมคโดนัลด์ ทำอะไร?
ภาพจาก bit.ly/2NHbPh9
McDonald’s ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 เป็นร้านอาหารบริการจานด่วนหรือฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปี 2020 มีสาขามากกว่า 38,500 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยสาขาร้านอาหารแมคโดนัลด์กว่า 93% เป็นแฟรนไชส์ ส่วนที่เหลือบริษํทเป็นผู้ดำเนินการเอง นั่นแสดงว่ารายได้ส่วนใหญ่ของแมคโดนัลด์มาจากแฟรนไชส์ซี
แมคโดนัลด์ดำเนินธุรกิจร้านอาหารภายใต้ระบบแฟรนไชส์ โดยบริษัทเป็นผู้ถือครองที่ดิน อาคาร และสัญญาเช่าระยะยาวไว้เอง ส่วนผู้ซื้อแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศจะต้องจ่ายในส่วนแบ่งรายได้ ค่าเช่า อุปกรณ์ ป้าย ที่นั่งทานอาหาร
และการตกแต่งร้านค้า โดยที่ผ่านมาก่อนการระบาดโควิด-19 เชนร้านแมคโดนัลด์ได้รับผลตอบแทนสูงมาก และแฟรนไชส์ซีต่างมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทจะช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีเพิ่มยอดขายด้วยการพัฒนาจุดขายระบบและฮาร์ดแวร์
สำหรับใครที่อยากซื้อแฟรนไชส์แมคโดนัลด์ หรือเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศ จะต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงสัญญาแฟรนไชส์ประมาณ 20-25 ปี และจะต้องควบคุมรักษามาตรฐานรสชาติอาหาร รวมถึงระบบต่างๆ ภายในร้านให้เหมือนกับประสบการณ์ความสำเร็จของแมคโดนัลด์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว
ภาพจาก bit.ly/3ccv4Jx
โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์จะจ่ายค่าลิขสิทธิ์จากเปอร์เซ็นต์การขาย โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 5-16% เช่นเดียวกับค่าเช่าพื้นที่และอาคารให้กับแมคโดนัลด์เพื่อรับสิทธิ์ในการดำเนินงาน
ในบางพื้นที่หรือบางประเทศผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องมีใบอนุญาตการพัฒนาธุรกิจ สำหรับทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจและจัดหาเงินทุน ตลอดจนการเปิดสาขาร้านอาหารใหม่ โดยที่ McDonald’s จะไม่ลงทุนใดๆ ถือเป็นข้อตกลงทั่วไปในพื้นที่ เช่น จีนและญี่ปุ่น
นั่นคือวิธีที่ McDonald’s ดำเนินการและสร้างรายได้ โครงสร้างทั้งหมดที่ช่วยให้แมคโดนัลด์สามารถรักษาอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่สูงกว่า 30% และอัตรา Conversion ของ FCF มากกว่า 90% ณ ปี 2019
โครงสร้างดังกล่าวหมายความว่า รายได้ของบริษัทแมคโดนัลด์ ประกอบด้วยค่าธรรมเนียม และค่าลิขสิทธิ์จากแฟรนไชส์ซีเป็นหลักเช่นเดียวกับรายได้จำนวนเล็กน้อยจากการขายของร้านอาหารที่บริษัทดำเนินการเอง
แมคโดนัลด์…ราชาอสังหาริมทรัพย์ตัวยงของโลก
ภาพจาก bit.ly/2YgID2H
ก่อนอื่นขอเรียนว่า ต้นแบบของการขายแฟรนไชส์ของ McDonald’s ได้สร้างรูปแบบพิเศษที่ไม่เหมือนใคร กล่าวคือ เวลาจะขายแฟรนไชส์ให้ใคร McDonald’s จะเป็นเจ้าของที่ดินผืนนั้น แล้วเก็บค่าเช่าต่อจากผู้ซื้อแฟรนไชส์อีกต่อหนึ่ง ยิ่งร้านนั้นเติบโตเท่าใด ค่าเช่าที่เก็บก็จะแปรผันตามไปด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า… McDonald’s นั้นอยู่ในธุรกิจ “อสังหาริมทรัพย์” ก็ได้
ที่ผ่านมาหลายคนอาจรู้เพียงว่า ธุรกิจหลักของ McDonald’s ไม่ใช่การขายแฮมเบอร์เกอร์ หรือเฟรนช์ฟรายส์อย่างเดียว แต่เบื้องหลังแล้ว คือ เจ้าของธุรกิจสังหาริมทรัพย์ตัวยงของโลก
ย้อนกลับไปดูรายได้ของ McDonald’s ย้อนกลับไปในปี 2015 นั้นมียอดอยู่ที่ 25,413 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีรายได้ที่บริษัทเป็นคนดำเนินการ 16,488 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยอดขายจากแฟรนไชส์ 8,925 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แต่ถ้าดูชัดๆ จะเห็นว่า “แฟรนไชส์” สามารถทำรายได้ เพียงแค่ 1/3 ของรายได้ทั้งหมด แต่ถ้ามาดูกำไรในแต่ละส่วนจะเห็นว่า กำไรจากสาขาที่ดำเนินการโดย McDonald’s นั้น มีค่าใช้จ่ายตั้ง 13,977 ล้านดอลลาร์
ขณะที่กำไรจากสาขาแฟรนไชส์มีค่าใช้จ่ายเพียง 1,647 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ส่วนที่เหลือคือเงินเข้ากระเป๋า 7,278 ล้านดอลลาร์ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ประมาณ 74% ถือว่าเป็นสัดส่วนที่มาก
Ray Kroc
ภาพจาก bit.ly/2YfjncY
ไหมว่า เงินส่วนนี้ คือ เงินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยจุดเริ่มต้นของเรื่องมาจาก อดีต CFO ของ McDonald’s Harry J. Sonneborn ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือ Ray Kroc โดยเปลี่ยน McDonald’s ให้เป็นเครื่องจักรผลิตเงินจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และมีอำนาจเหนือ 2 พี่น้องแบบเห็นๆ
Harry J. Sonneborn เคยพูดไว้ว่า “จริงๆ แล้วเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจอาหาร แต่เราทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ต่างหาก เหตุผลเดียวที่เราขายแฮมเบอร์เกอร์ในราคา 15 เซนต์ ก็เพราะมันคือ สิ่งที่สร้างกำไรได้ดีที่สุด เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (ผู้เช่า) สามารถจ่ายค่าเช่าให้เราได้ยังไงละ”
ข้อได้เปรียบด้านขนาดของบริษัทได้แปลเป็นอาหารราคาถูกสำหรับลูกค้า ซึ่งทำให้อาหารของแมคโดนัลด์กลายเป็นอาหารหลักหรือเป็นอาหารที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงได้ และได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน
หลังจากทั้งคู่ ก็พากันเปิดบริษัท ชื่อ Franchise Realty Corp. เป็นเจ้าของที่ดินของผู้ถือแฟรชไชส์อีกทีหนึ่ง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดิน หรือ ทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน รวมทั้งสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย จึงเป็นข้อสรุปได้เลยว่า Ray Croc เป็นเจ้าของที่ดิน ร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ดบนที่ดินของเขาด้วยนั่นเอง
จะเห็นว่า กำไรทั้งหมดที่ได้จากแฟรนไชส์ มาจาก 2 รูปแบบ ได้แก่ ค่าส่วนแบ่งแฟรนไชส์ 4 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่านั้นจากยอดขาย และค่าเช่าที่ดินของ McDonald’s นั่นเอง ซึ่งค่าเช่าที่นี้ไม่ได้ตายตัว มีการจัดการบวกเพิ่มจากราคาค่าเช่าทั่วไปอีก ซึ่งรายได้จากค่าเช่าที่ดินของแฟรนไชส์ คิดเป็นสัดส่วน 65% ของรายได้จากแฟรนไชส์ทั้งหมด
จึงไม่แปลกที่ปัจจุบัน McDonald’s ได้เติบโตเป็นหนึ่งในเครือข่ายร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีลูกค้าเฉลี่ยมากกว่า 70 ล้านคนต่อวัน มีสาขาทั้งหมดถึง 38,500 สาขา ใน 119 ประเทศทั่วโลก มีแฟรนไชส์ซีถึง 93%
แมคโดนัลด์…มุ่งสู่ร้านอาหารดิจิทัล
ภาพจาก bit.ly/2NEyrim
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แมคโดนัลด์ได้พัฒนาร้านอาหารไปสู่ดิจิทัลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ยิ่งการระบาดโควิด-19 ร้านในรูปแบบดิจิทัลจะได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการสั่งซื้อด้วยตนเองผ่านคีออสก์ และแอปพลิเคชั่น ตลอดจนเปิดร้านในรูปแบบฟู้ดทรัคริมทาง
รวมถึงการออกแบบร้านค้าที่ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์การออกแบบใหม่ดังกล่าวประสบความสำเร็จมาแล้ว เราสามารถเห็นสิ่งนี้ได้จากการดูยอดขายที่เพิ่มขึ้นปีต่อปี การปรับปรุงมาร์จิ้นและสิ่งอื่นๆ ซึ่งทำให้แมคโดนัลด์เป็นบริษัทที่น่าสนใจมากขึ้น
ภาพจาก bit.ly/2MtS9fW
ทั้งนี้ หากมองภาพโดยรวมของแฟรนไชส์แมคโดนัลด์ก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 ถือเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจไปในทิศทางที่ถูกต้องและแข็งแกร่ง โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่น่าประทับใจ มีผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ดี 2.2-2.8% และประเพณีการจ่ายเงินปันผลที่น่าประทับใจตลอดช่วง 45-46 ปี ซึ่งผลักดันอย่างช้าๆ ต่อความเป็นไปได้ในการเป็นราชาแห่งเงินปันผล
การระบาดโควิด-19 กระทบแมคโดนัลด์ อย่างไร?
ภาพจาก PYMNTS.com
นับตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2563 มูลค่าของแมคโดนัลด์ลดลงไปกว่า 332,143 ล้านบาท เพราะว่าคนออกจากบ้านทานอาหารกันน้อยลง ในขณะที่ร้านอาหารจำเป็นต้องมีหน้าร้าน จ่ายค่าเช่า จ่ายค่าพนักงาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แมคโดนัลด์ดำเนินกิจการร้านอาหารด้วยตัวเอง และขายแฟรนไชส์ไปด้วย
แมคโดนัลด์มีสาขาทั้งหมด 38,500 สาขาทั่วโลกในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก แบ่งเป็นร้านที่ดำเนินกิจการเองเพียง 2,770 สาขา คิดเป็น 7% และเป็นสาขาแฟรนไชส์จำนวน 35,085 สาขา คิดเป็น 93%
แมคโดนัลด์มีรายได้รวม 661,817 ล้านบาท ซึ่งมาจากยอดขายที่ดำเนินกิจการเอง 315,270 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมจากการขายแฟรนไชส์ ค่าลิขสิทธิ์ และบริษัทในเครือต่างประเทศ 346,547 ล้านบาท
ภาพจาก bit.ly/3ooyfAp
หากมองรายได้ที่หายไปของแมคโดนัลด์ ซึ่งโดยทั่วไปทางบริษัทจะเป็นผู้ถือครองที่ดิน อาคาร และสัญญาเช่าระยะยาวไว้เอง ส่วนผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายในส่วนแบ่งรายได้ ค่าเช่า อุปกรณ์ ป้าย ที่นั่งทานอาหาร และการตกแต่งร้านค้า
จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นได้ว่าตัวแมคโดนัลด์อาจจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากส่วนแบ่งรายได้ที่น้อยลง แต่โดยรวมภาระหนักจะไปตกอยู่ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์มากกว่า ทำให้สาขาแฟรนไชส์ต่างๆ ต้องแบกรับภาระ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
แหล่งข้อมูลจาก https://bit.ly/3a4pJS5
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iTx0Z0