Inside Franchise ตลาดแฟรนไชส์ในอินเดีย 2022
Inside Franchise ตลาดแฟรนไชส์ ในอินเดีย ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 หลายคนคงได้เห็นข่าวมหาเศรษฐีชาวอินเดียที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย “มูเกช อัมบานี” เตรียมเปิดร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven แห่งแรกในอินเดีย เป็นการทำข้อตกลงเพียง 2 วันหลังข้อตกลงของบริษัท Future Retail ที่เคยทำสัญญากับ 7-Eleven, Inc. เมื่อปี 2562 ได้สิ้นสุดลง
เพราะไม่สามารถเปิดร้านค้าหรือจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ได้ เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทรีไลแอนซ์ อินดรัสทรีส์ ของมูเกช อัมบานี มหาเศรษฐีอินเดีย เข้ามาแทนที่ ในเบื้องต้น ร้าน 7-Eleven แห่งแรกของอินเดียจะเปิดขึ้นที่ชานเมืองมุมไบ และจะขยายสาขาเพิ่มอีก
นั่นจึงทำให้หลายๆ คนมองการขยายแฟรนไชส์ในประเทศอินเดียมีความน่าสนใจ และมีโอกาสอีกมากสำหรับผู้ประกอบการแฟรนไชส์ของไทย วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ
ภาพรวมเศรษฐกิจอินเดีย
ภาพจาก https://bit.ly/3Hbndsy
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก รองลงมา คือ จีน ขณะที่อินเดียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก และมีการคาดการณ์อีกว่าภายในปี 2030 จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดโลกแทนที่สหรัฐอเมริกาที่ตกมาอยู่อันดับที่ 2 และอินเดียจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลกอีกด้วย
ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนประชากรจำนวนที่มากเป็นอันดับ 2 โครงสร้างกำลังแรงงาน ศักยภาพการผลิตที่หลากหลาย รวมไปถึงทักษะความรู้ความสามารถของคนอินเดีย เป็นต้น
ประชากรอินเดียที่มากกว่า 1,300 ล้านคนนั้นที่เป็นโอกาสและอุปสรรคและ ถือเป็นจำนวนมหาศาลและเป็นสิ่งที่เกินความสามารถของรัฐบาลอินเดียที่จะจัดสรรทรัพยากรหรืองบประมาณให้ประชากรได้อย่างทั่วถึง และถือเป็นอุปสรรคและความท้าทายสำคัญที่อินเดียจำเป็นออกแบบนโยบายที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับคนในสังคม
นอกจากธุรกิจอาหารแล้ว ธุรกิจที่มีแววว่าจะรุ่งในอินเดียก็คือ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม อันได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง สอดรับกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมหลักในอินเดีย และสินค้าในภาคการเกษตร เช่น น้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ตลาดแฟรนไชส์ในอินเดีย
ภาพจาก https://bit.ly/33QMHx3
การเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์กำลังได้รับความนิยมในบรรดาผู้ค้าปลีกในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของแฟชั่นไลฟ์สไตล์ ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เครือร้านอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ศูนย์ฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ การเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์เป็นหนทางหนึ่งที่บริษัทสามารถได้รับผลประโยชน์ในตลาดอันกว้างขวางของอินเดีย บวกกับการจำหน่ายในรูปแบบที่วัฒนธรรมอื่นไม่อาจเทียบได้
การทำแฟรนไชส์ถือเป็นลู่ทางหนึ่งที่ธุรกิจหลายแห่งจากทั่วโลกนิยมใช้ในการขยายธุรกิจในอินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ทั้งในแง่ของจำนวนประชากรและขนาดพื้นที่ ประกอบกับในช่วงก่อนหน้านี้ ทางการอินเดียยังไม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจค้าปลีก
ดังนั้น นักลงทุนต่างชาติจึงได้ใช้แฟรนไชส์เป็นช่องทางในการขยายตลาดในอินเดีย ซึ่งนอกจากจะสามารถเข้าถึงตลาดอินเดียแล้ว การขยายธุรกิจผ่านระบบแฟรนไชส์ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงให้แก่เจ้าของธุรกิจชาวต่างชาติอีกด้วย เนื่องจากไม่ต้องใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่เหมือนการเข้าไปลงทุนโดยตรง
อัตราการการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีของธุรกิจแฟรนไชส์ในอินเดียคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และยังคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมด้านแฟรนไชส์จะสร้างงานให้แก่ผู้คนอีก 11 ล้านคนในปี ค.ศ.2017 ดังนั้นธุรกิจแฟรนไชส์จึงเป็นกลยุทธ์นโยบายที่ไม่ได้รับประกันแค่เฉพาะการเติบโตสำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ แต่ยังรวมไปถึงผู้ประกอบการแฟรนไชส์อีกด้วย
การเปิดแฟรนไชส์ในอินเดีย
ภาพจาก https://bit.ly/3gbchit
มีรายงานข้อมูลว่า รัฐบาลอินเดียอนุญาตให้ผู้ขายแฟรนไชส์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee) จากผู้ซื้อแฟรนไชส์เพียงครั้งเดียว คือตอนเริ่มเปิดดำเนินการ โดยเรียกเก็บสูงสุดได้ไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเก็บค่า Royalty Fee สูงสุดได้ไม่เกิน 5% ของยอดขายต่อเดือน แต่ถ้าในกรณีที่มีการเก็บค่า Royalty Fee มากกว่า 5% จะต้องได้รับอนุมัติจากธนาคารกลางอินเดียก่อน ทั้งนี้ การเปิดแฟรนไชส์แต่ละแห่งในอินเดียโดยทั่วไปจะใช้เงินลงทุนราว 10,000-40,000 ดอลลาร์สหรัฐ นั่นจึเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์จากประเทศไทย
ปัจจุบันมีธุรกิจของไทยบางประเภท อาทิ ธุรกิจด้านการศึกษา เช่น สมาร์ท เบรน ซึ่งเป็นแฟรนไชส์เลขคณิตคิดเร็ว ได้ขยายตลาดในอินเดียผ่านระบบแฟรนไชส์แล้ว นอกจากนี้ ยังมีสินค้าและบริการอีกหลายประเภทของไทยที่มีศักยภาพในตลาดอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านความงามและสุขภาพ อาหารแช่แข็ง ร้านอาหารไทยร้านสะดวกซื้อ การก่อสร้าง เครื่องยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น
และยังมีแฟรนไชส์ร้าน “ไอซ์ฟรอส ดีเซิร์ท คาเฟ่” (ICE FROST DESSERT CAFÉ) ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านบิงซู หรือ “น้ำแข็งไสสไตล์เกาหลี” ของผู้ประกอบการคนไทย ที่ได้ตกลงร่วมธุรกิจกับนักลงทุนชาวอินเดีย โดยเปิดร้านต้นแบบสาขาแรกที่เมือง Mumbai (มุมไบ) ภายใต้แบรนด์ ICE FROST เมื่อกลางปี 2562
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากขยายแฟรนไชส์ในตลาดอินเดียควรคำนึงถึงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเลือกหุ้นส่วนทางธุรกิจที่เหมาะสม ซึ่งควรจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจในตลาดท้องถิ่น และมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันเพื่อให้สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ในระยะยาว นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปทำธุรกิจในอินเดีย ควรต้องศึกษาระบบภาษีและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ
รวมทั้งต้องทราบถึงความต้องการและเข้าถึงรสนิยมของผู้บริโภคท้องถิ่นด้วย เพื่อประโยชน์ต่อความสำเร็จของธุรกิจ ทั้งนี้ การเข้าร่วมงานแสดงแฟรนไชส์ในอินเดียที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในกรุงนิวเดลี ก็อาจช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่ธุรกิจที่ต้องการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไปยังตลาดแห่งนี้
แฟรนไชส์ที่มีโอกาสในอินเดีย
ภาพจาก https://bit.ly/3o7Kggd
สำหรับธุรกิจสินค้าและบริการแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพและสามารถขยายการลงทุนในอินเดีย ได้แก่ เครื่องยนต์และชิ้นส่วน ธุรกิจก่อสร้าง อาหารแช่แข็ง ท่องเที่ยว ธุรกิจสุขภาพและความงาม ร้านอาหาร การศึกษา บันเทิง และร้านสะดวกซื้อ โดยนักธุรกิจที่สนใจทำแฟรนไชส์ในอินเดียจะต้องเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นในอินเดียให้ชัดเจน
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ANcEtq
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)