Inside Franchise ตลาดแฟรนไชส์ ในเวียดนาม 2022

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะในเวียดนามที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเริ่มมีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ในเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2533

โดยแบรนด์อาหารฟาสต์ฟู้ด ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง Texas Chicken, KFC, Lotteria และ Jollibee การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูล Inside Franchise ตลาดแฟรนไชส์ ในเวียดนาม 2022 มานำเสนอให้ทราบ

ภาพรวมและแนวโน้มการเติบโตของตลาดแฟรนไชส์

Inside Franchise ตลาด

ภาพจาก bit.ly/2SakkmX

ประเทศเวียดนามเปรียบเสมือนมังกรตัวเล็กๆ ที่กำลังก้าวกระโดด ทั้งระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาองค์รวมของทั้งประเทศ ประเทศเวียดนามได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน การที่มีการก้าวกระโดดครั้งนี้ ก็เป็นอิทธิพลแนวคิดการปกครองตามอย่างแบบจีนนั่นเอง และด้วยประสิทธิภาพของคน และขนาดประเทศที่เทียบกับประเทศไทยแล้ว มีสัดส่วนพียง 60% เมื่อเทียบกันในเชิงพื้นที่ แต่ประชากรที่มากกว่ารวมแล้วไม่น้อยกว่า 86 ล้านคนนั้น

ทำให้เวียดนามการสร้างศักยภาพได้อย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมาเวียดนามพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการค้าสากล และเริ่มเข้าสู่การทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ประเทศเวียดนามมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วตามจีนอย่างติดๆ แม้ว่าจะประเทศเล็กกว่าก็ตาม ขณะนี้ประชากรในเวียดนามมีประมาณ 82 ล้านคน และประชากรส่วนใหญ่มีอายุน้อย และอยู่ในวัยทำงาน ช่วงอายุระหว่าง 15-45 ปี ที่เป็นกลุ่มหลักของประเทศมีถึง 49% ของสัดส่วนประชากรทั้งหมด

รูปโฉมของประเทศเวียดนามดูจะทันสมัยกว่าจีน และมีระบบการปกครองที่ยืดหยุ่นกว่า นักธุรกิจจากประเทศไทยสามารถเดินทางเข้าประเทศเวียดนามได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า การเดินทางสะดวก คนเวียดนามเป็นคนขยันและอดทนสูง

รวมทั้งเป็นนักลงทุนมีความเป็นเถ้าแก่สูงเหมือนคนจีน ทำให้การขยายตัวของรายได้ประชากรสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราของ GP ของเวียดนามนั้นมากกว่า 7% ติดต่อกันสามปีมาแล้ว และก็ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นการลงทุนในเวียดนาม ก็ดูเหมือนว่าจะเสี่ยงน้อยกว่าการขยายธุรกิจสู่ประเทศจีน

คนเวียดนามส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เป็นคนมีเชื้อสายจากจีนเหมือนคนไทย โดยทั่วไปแล้วในเวียดนามจะเป็นสังคมเดิมที่เน้นเกษตรกรรม ความเป็นอยู่เหมือนกับประเทศไทย ถ้าเอาคนเวียดนามมายืนคู่กับคนไทย ก็แทบจะแยกกันไม่ออก คนเวียดนามกับคนไทยเป็นเพื่อนกันได้เร็วกว่ากรณีคนไทยกับคนเอเชียที่พูดจีนได้ เนื่องจากการยอมรับมีมากกว่า

สินค้าหลายตัวของไทยมีการขยายงาน ทั้งการสร้างโรงงาน ขายสินค้าเข้าไปในประเทศเวียดนาม ทั้งที่ทำอย่างถูกต้องและการผ่านเข้าไปทางชายแดน โดยสามารถผ่านจากเส้นทางของลาว หรือกัมพูชา ด้วยวิธีนี้ทำให้คนเวียดนาม กินบะหมี่สำเร็จรูปของไทย ใช้แก๊สหุงต้มตราปิคนิค รู้จักสบู่ยาสีฟันที่ผลิตจากไทย

ดูหนังละครทีวีของไทย มีเพลงไทยให้ฟัง การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไป โฮจิมินห์ หรือ ฮานอยนั้นไม่ไกล การติดต่อสื่อสารสะดวก อีกไม่นานคงจะมีร้านอาหาร หรือร้านค้าต่างๆ ของไทยขยายเข้าไปสู่เวียดนาม และแน่นอนที่สุดว่า ตลาดเวียดนามคือ ตลาดสำคัญอีกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

โฮจิมินห์ หรือ เมืองไซง่อนวันนี้ มีการพัฒนาธุรกิจแบบรวดเร็วมาก มีจำนวนนักท่องเที่ยวพร้อมใจเข้าไปลงทุนเกือบทุกด้าน ในแต่ละปีมีมูลค่าโครงการลงทุนไม่น้อยกว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาการเช่าหรือการซื้อที่ดินแพงมาก การค้าขายกระจายตัวรวดเร็วในทุกรูปแบบ และโรงแรม ระดับดียังมีไม่เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยว

โดยทั่วไปแล้วบ้านเมืองของเวียดนามยังมีความเจริญที่ห่างจากไทยอยู่บ้าง เมืองโฮจิมินห์เป็นส่วนตอนใต้ของประเทศ ส่วนเมืองหลักตอนเหนือ คือ เมืองฮานอย ตลาดเวียดนามกับคนไทยนั้นถือว่าเข้าใจกัน อาหารการกินใกล้เคียงกัน และชอบรสชาติของกันและกัน คนเวียดนามคุ้นเคยกับสินค้าไทย ดาราไทย และแฟชั่นต่างๆ ของประเทศไทย และสำหรับธุรกิจด้านแฟรนไซส์แล้วนั้น ในเวียดนามมีหลายธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น ธุรกิจด้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจด้านรถยนต์ การขยายช่องทางกระจายสินค้าบริโภค ด้านอสังหาริมทรัพย์ แม้กระทั่งธุรกิจด้านการศึกษา ศูนย์ติววิชาต่างๆ

ระบบแฟรนไขส์ในเวียดนาม

27

ภาพจาก bit.ly/3hBiaYk

ปัจจุบันเวียดนามมีธุรกิจแฟรนไชส์ไม่น้อยกว่า 40 ธุรกิจ ทั้งที่เป็นของในประเทศที่พัฒนาขึ้นมาเอง และที่มาจากต่างประเทศและเข้าไปขยายงานในเวียดนาม การเติบโตของเวียดนามทางการค้าขายเชิงสาขากลายเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยเสริมศักยภาพให้แก่เวียดนาม ตัวอย่างร้านแฟรนไชส์ขายก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของประเทศ คือ เฝอ ร้านแฟรนไชส์นี้ใช้ชื่อว่า เฝอ 24 หรือ PHO24 ที่เปิดอยู่ให้เห็นพอสมควร ร้านนี้มีสาขาไม่น้อยกว่า 20 สาขา และเปิดขายก๋วยเตี๋ยวยวนตลอดทั้งวัน เป็นร้านที่ดูดีและวางระบบได้สมบูรณ์พร้อมที่

จะเป็นแฟรนไชส์ขยายไปต่างประเทศได้ สิ่งที่น่าสนใจ คือ วิธีการของการควบคุมคุณภาพและการสร้างร้านให้มีขนาดใหญ่พอสมควร สร้างรายได้ให้แฟรนไชส์มากกว่าที่จะทำให้เป็นระบบรถเข็น ซึ่งถ้าอย่างนั้นการจะขยายตัวได้ก็จะมีน้อยลง วันนี้โฮจิมินห์มีทั้งบิ๊กซี และเมทโทร เข้าไปเปิดไม่น้อยกว่า 3 สาขา ทำให้ภาครัฐของเวียดนามต้องเร่งจัดทำมาตรการและกระบวนการปกป้องธุรกิจของคนในประเทศอย่างต่อเนื่อง

แฟรนไชส์ท้องถิ่นเวียดนามท้ารบแบรนด์ต่างชาติ

26

ภาพจาก bit.ly/3ym1tpD

นอกจากแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศแล้ว ยังมีแบรนด์แฟรนไชส์ท้องถิ่นของเวียดนาม ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นรายแรกๆ และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในเวียดนาม อาทิ Trung Nguyen (แบรนด์สินค้ากาแฟและร้านกาแฟ), Pho 24 (แบรนด์ร้านอาหารประเภทเส้น) และ Pho 2000 (แบรนด์ร้านอาหารประเภทเส้น) และร้านเสื้อผ้า Maxx เป็นต้น

จากข้อมูลของสมาคมแฟรนไชส์นานาชาติพบว่า ปัจจุบันเวียดนามมีการขยายตัวของธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ในอันดับที่ 9 จาก 12 อันดับของตลาดที่มีการอัตราการขยายตัวสูงสุดในธุรกิจดังกล่าว

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม (The Ministry of Industry and Trade : MOIT) ให้ข้อมูลว่า ในปี 2561 มีแบรนด์จากต่างประเทศกว่า 213 แบรนด์ ที่มีการจดทะเบียนธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามในหลายประเภทธุรกิจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ เบเกอรี่ ร้านกาแฟ ร้านอาหารร้านขายยา และธุรกิจบริการด้านความงาม ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 ของธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

ซึ่งครอบคลุมร้านอาหาร ร้าน Fast food เบเกอรี่ และเครื่องดื่ม โดยแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย ญี่ปุ่น ฮ่องกง แคนาดา และฟิลิปปินส์

สาเหตุที่แบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศเป็นที่นิยมในประเทศเวียดนาม เนื่องจากผู้บริโภคชาวเวียดนาม เชื่อว่าแบรนด์จากต่างประเทศมีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ และภาพลักษณ์ที่ดี ทำให้ผู้บริโภคชาวเวียดนามหันมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการจากแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศดังกล่าวอย่างรวดเร็ว

กฎหมายแฟรนไชล์เวียดนาม

25

ภาพจาก bit.ly/3oC3ZUw

กฎหมายพาณิชย์ (Commercial Law) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 เป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศเวียดนามที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ ต่อมารัฐบาลเวียดนาม ได้ออกประกาศลงวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006 (Decree 35/2006/ND -CP) เพื่อกำหนดรายละเอียดการบังคับใช้กฎหมายพาณิชย์ที่เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์

ภายใต้กฎหมายของประเทศเวียดนาม Ministry of Trade หรือ Department of Trade จะเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ โดยการให้สิทธิแฟรนไชส์ไม่ว่าจะเป็นกรณีแฟรนไชส์จากต่างชาติ หรือของประเทศเวียดนามเอง จะต้องจดทะเบียนต่อหน่วยงานราชการอย่างช้าไม่เกิน 15 วันทำการ นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาแฟรนไชส์ หน่วยงานราชการจะรับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ภายใน 5 วันทำการ

เมื่อได้รับเอกสารการจดทะเบียนที่ครบถ้วน และการให้สิทธิแก่แฟรนไชส์ซีใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของเฟรนไชส์ซอร์นั้น จะต้องแยกทำเป็นสัญญาอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาแฟรนไชส์ และต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ธุรกิจแเฟรนไชส์ที่จะจดทะเบียนในประเทศเวียดนามได้นั้น จะต้องดำเนินธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และกรณีให้สิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์แก่คนเวียดนาม ซับแฟรนไซส์ซอร์จะให้สิทธิช่วงในประเทศเวียดนามได้ต่อเมื่อได้ดำเนินธุรกิจนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีเช่นกัน

สำหรับสัญญาแฟรนไขส์จะต้องทำขึ้นในภาษาเวียดนาม เว้นแต่แฟรนไขส์ต่างประเทศ คู่สัญญาอาจทำสัญญาในภาษาอื่นได้ ตามกฎหมายสัญญาแฟรนไชส์อาจมีเงื่อนไขเกี่ยวกับราบละเอียดของสิทธิแฟรนไชส์ สิทธิและหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ตอบแทน ค่าสิทธิ และวิธีการชำระค่าตอบแทน อายุสัญญา

การต่ออายุสัญญา การบอกเลิกสัญญา หรือการระงับข้อพิพาทรายละเอียดของเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญา ตลอดจนอัตราค่าสิทธินั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ แต่ให้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างคู่สัญญา โดยแฟรนไชส์ซอร์ต้องส่งร่างสัญญา รวมทั้งรายละเอียดของธุรกิจแฟรนไซส์ให้แฟรนไชส์ซีล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันทำสัญญา

แฟรนไชส์ซอร์ที่ประสงค์จะเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศเวียดนาม อาจเลือกรูปแบบการลงทุนได้หลายรูปแบบ คือ สัญญาร่วมลงทุนกับนักธุรกิจเวียดนาม (Business Co-operation Contract) กิจการร่วมทุนกับนักธุรกิจเวียดนาม (loint Venture) หรือแฟรนไชส์ซอร์ลงทุนเองทั้งหมด (Wholly Foreign-own Enterprise) การลงทุนเองทั้งหมดแฟรนไชส์ซอร์จะมีอิสระในการบริหารงานอย่างเต็มที่ แต่บางกิจการรัฐบาลเวียดนามยังไม่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุนเองทั้งหมด

โดยเฉพาะในสาขาบริการ เช่น ร้านอาหาร ดังนั้น ในกรณีนี้แฟรนไชส์ชอร์จะต้องหาคู่สัญญาที่เป็นนักธุรกิจชาวเวียดนาม ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย จะต้องระมัดระวังในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะเครื่องหมายการค้า รวมทั้งต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการค้า

ผู้บริโภคเวียดนามนิยมซื้ออาหารและเครื่องดื่มมากสุด

24

ภาพจาก bit.ly/2SXIRMx

นอกจากนี้ จากข้อมูลของเครือข่ายธุรกิจสหภาพยุโรป-เวียดนาม พบว่าแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มในเวียดนามมีการเติบโตอย่างมาก โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของยอดขาย ระหว่างปี 2017-2021 เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 11.3 ต่อปี โดยในปี 2561 มีมูลค่าเกือบ 29.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้พบว่า รายได้ภาคครัวเรือนของชาวเวียดนามกว่าร้อยละ 20 ถูกใช้ไปกับการซื้ออาหารและเครื่องดื่ม

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ประมาณการว่าค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของคนเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และคาดว่าเวียดนามจะอยู่ 1 ใน 3 อันดับของภูมิภาคอาเซียนที่มีอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุดในปี 2020

และ Business Monitor International (BMI) ยังชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งมากขึ้นในเอเชีย โดยคาดว่าจะมีการเติบโตในระหว่างปี 2559-2562 สูงถึงร้อยละ 16.1

การเติบโตแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศในเวียดนาม

23

ภาพจาก bit.ly/33U3Dz1

ธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ในเวียดนามอยู่ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะแบรนด์แฟรนไชส์เบอร์เกอร์ ไก่ทอด และพิซซ่าระดับนานาชาติ ขณะเดียวกันเวียดนามยังเป็นอีกหนึ่งตลาด ในการเติบโตของตลาดกาแฟในเอเชีย Coffee Bean & Tea Leaf โดยได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี และ Coffee’s New Orleans ของ PJ ได้เปิดตัวในโฮจิมินห์ซิตี้ (ไซ่ง่อน) แฟรนไชส์ด้านการศึกษามีมูลค่าสูง ทั้งในด้านการฝึกอบรม ด้านการจัดการ และด้านการศึกษาของเด็ก

สำหรับแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศในเวียดนาม เช่น KFC, Pizza Hut, Lotteria, Jollibee, McDonald; s, เบอร์เกอร์คิง, โดมิโน, สตาร์บัคส์, แดรี่ควีน, บริษัท เดอะพิซซ่าคอมปะนี, บาสกิ้น – ร็อบบินส์, 7-Eleven, Circle K, GS25 และอีกมากมาย โดยแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มาจาก ไต้หวัน, เกาหลี, สิงคโปร์, มาเลเซีย, และประเทศอื่น ๆ

สามารถพบได้ในสองเมืองหลักของเวียดนาม, โฮจิมินห์ซิตี้ (เมืองหลวงการค้า) และฮานอย (เมืองหลวงของประเทศ) แฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดยังคงถูกครอบงำ โดยแบรนด์ QSR เช่น KFC, Lotteria, Jollibee, Domino’s, McDonald’s และแบรนด์ท้องถิ่นและต่างประเทศจำนวนมากในภาคนี้

ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม

22

ภาพจาก bit.ly/3f15uIy

1. เวียดนามมีสัดส่วนประชากรวัยหนุ่มสาวที่ค่อนข้างสูง ประชากรร้อยละ 65 มีอายุต่ำกว่า 30 ปี และประชากรกลุ่มดังกล่าว ร้อยละ 37 อาศัยในเขตเมือง โดยมีรายได้ต่อหัว (GDP per Capita) ประมาณ 2,150 เหรียญสหรัฐต่อปี และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

2. เวียดนามมีการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางค่อนข้างมาก ปัจจุบันมีกลุ่มชนชั้นกลางในเวียดนามกว่า 12 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 44 ล้านคนในปี 2020 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ และนิยมสินค้าที่มีคุณภาพดี ทำให้แนวโน้มร้านค้าประเภทซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้า จะได้รับความนิยมอย่างมากในอนาคต

โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อย่างโฮจิมินห์และฮานอย ซึ่งมีชนชั้นกลางจำนวนมาก ขณะที่เมืองรองลงมา อย่างดานัง ไฮฟอง, และเกิ่นเทอ กำลังมีการเติบโตของชนชั้นกลางเช่นกัน อีกทั้งพบว่าผู้บริโภคในชนบทมีแนวโน้มชื่นชอบทดลองแบรนด์ใหม่ๆ มากขึ้น จากข้อมูลของสมาคมผู้ค้าปลีกเวียดนาม พบว่า ร้อยละ 77 มีผู้บริโภคในชนบทที่ต้องการลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และร้อยละ 95 รู้สึกชื่นชอบสินค้าที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย

3. การอนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ในเวียดนามได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552

4. การเติบโตของธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะในเมืองสำคัญของเวียดนาม อย่างโฮจิมินห์ ฮานอย ดานัง เกิ่นเทอ ไฮฟอง และ ญาจาง ทำให้มีช่องทางใหม่ๆ ในการขยายธุรกิจ

5. การจัดงานแสดงสินค้าต่างๆ ในประเทศเวียดนาม เป็นโอกาสทางธุรกิจของแฟรนไชส์สำหรับ Franchisor ในการหาผู้ร่วมลงทุน แ ล ะ Franchisee ในการหาช่องทางธุรกิจใหม่ๆ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

21

ภาพจาก bit.ly/33Ts5QW

แนวทางการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น จะต้องมีการพัฒนาทั้งภาคเอกชน และการสานสัมพันธ์ด้านการเมืองระหว่างประเทศเป็นหลัก การสร้างความร่วมมือในเขตการค้าด้านนี้ จะช่วยส่งเสริมระบบการค้าระหว่างกันมากขึ้น ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีศักยภาพที่จะขยายตัวสู่ตลาดเวียดนามอย่างมาก การร่วมมือแลกเปลี่ยนแนวความคิดด้านการดำเนินธุรกิจนี้จะเป็นรากฐานสำคัญการสร้างความร่วมมือด้านการค้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นการแข่งขันการขยายธุรกิจระดับประเทศ ปัจจุบันเกาหลีเป็นกลุ่มที่เน้นการขยายในเขตพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งเสริมภาครัฐเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างระบบรากฐานให้ธุรกิจทุกขนาดเติบโตเข้าสู่เวียดนามได้

ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีศักยภาพที่จะขยายตัวสู่ตลาดเวียดนามอย่างมาก และจำนวนประชากรกว่า 80 ล้านคน ผู้ซึ่งมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น เป็นเป้าหมายสำคัญที่สู้ประกอบการ

แฟรนไชส์ไทยต้องการเข้าไปขยายตลาดในเวียดนาม ปัจจุบันชาวเกาหลีเป็นกลุ่มนักธุรกิจหลักที่เน้นทำการขยายธุรกิจเข้าสู่เวียดนามอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งเสริมจากภาครัฐเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างระบบรากฐานให้ธุรกิจทุกขนาดเติบโตเข้าสู่เวียดนามได้ ปัจจุบันนี้เวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมาก เพราะแนวทางของประเทศในการปรับโครงสร้างจากระบบสังคมนิยมเป็นระบบตลาดเสรี ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างก้าวกระโดด

20

ภาพจาก bit.ly/3eZAecO

ในการขยายธุรกิจสู่เวียดนามนั้น ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยคงยังต้องศึกษารายละเอียดด้านสภาวะทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในเวียดนาม โดยเฉพาะด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อาจไม่ค่อยชัดเจนและสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ยังมีกฎระเบียบบางอย่างซึ่งปฏิบัติไม่เหมือนกัน ระหว่างคนเวียดนามและชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน เช่น การจ่ายค่าแรงขั้นต่ำของผู้ว่าจ้างชาวต่างชาติจะต้องสูงกว่าผู้ว่าจ้างชาวเวียดนาม ทำให้ต้นทุนของสินค้าสูงขึ้น ระบบการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่างชาวเวียดนามและชาวต่างชาติก็มีความแตกต่างกัน

การขยายธุรกิจสู่ประเทศเวียดนาม ควรลงทุนเองจะดีกว่าการร่วมทุน เพราะมีหลายตัวอย่างที่นักธุรกิจไทยเป็นผู้ลงทุนและคนเวียดนามให้ใช้ที่ดินนั้นไม่ประสบความสำเร็จ และมีปัญหากับหุ้นส่วนชาวเวียดนาม เนื่องมาจากอุปสรรคความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและปรัชญาการทำงานและดำเนินชีวิต

ผู้ประกอบการแฟรนไซส์ไทยควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการให้สิทธิซาวเวียดนามเป็น Master Franchise เนื่องจากเวียดนามเป็นประเทศในแนวยาว การดูแลหรือขยายตลาดให้ครอบคลุมทั้งประเทศ อาจทำได้ยาก ดังนั้น ควรพิจารณาการให้สิทธิเป็น Area Franchise ก่อน โดยอาจแบ่งเป็นบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง หรือภาคใต้ และก่อนการเข้าไปขยายธุรกิจในเวียดนาม ควรดำเนินการเรื่องการสิทธิบัตรให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการลอกเลียนแบบสินค้า

ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ใช่แนวคิดธุรกิจรูปแบบใหม่ในประเทศเวียดนามอีกต่อไป ขณะนี้แบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่ๆ ของสหรัฐอเมริกามีจำนวนมาก และเวียดนามก็ได้พัฒนาแบรนด์แฟรนไชส์ของตนเองแข่งขันในตลาดด้วย ที่สำคัญเวียดนามกำลังอยู่ระหว่างการผ่อนคลายกฎหมายและกฎเกณฑ์แฟรนไชส์ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ และนี่คือ Inside Franchise ตลาด แฟรนไชส์ ในเวียดนาม2022


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3eZPIOe

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช