Inside Franchise ตลาดแฟรนไชส์ ในกัมพูชา 2022

ปัจจุบันธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์กำลังเป็นที่นิยมมากในกัมพูชา สะท้อนจากธุรกิจแฟรนไชส์ของต่างประเทศที่ต่างทยอยขยายธุรกิจเข้ามาในกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง

โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประกอบกับชาวกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เปิดรับการบริโภครูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น

จึงทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในตลาดกัมพูชา ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทยในการเข้าไปทำตลาดในกัมพูชา

เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และคุ้นเคยกับการให้บริการในรูปแบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี ส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นโอกาส ที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทยในการรุกตลาดกัมพูชา

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอแนวโน้มตลาดแฟรนไชส์ในประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยขยายตลาดไปยังกัมพูชา หลังจากโควิด-19 คลี่คลายครับ

ภาพรวมและแนวโน้มการเติบโตของตลาด

Inside Franchise

ภาพจาก bit.ly/2Sid3BW

เรียกได้ว่าในช่วง 2-3 ปีมานี้ เป็นยุคเฟื่องฟูของธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชา มีทั้งนักลงทุนกัมพูชาลงทุนสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นมาเอง รวมถึงการซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์จากประเทศไทย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมในกัมพูชา มาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศ

โดยเฉพาะแฟรนไชส์จากประเทศไทยได้มีการควบคุมคุณภาพ และให้บริการด้วยมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคชาวกัมพูชาในเขตเมือง ที่มีความคาดหวังในสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเป็นอย่างดี

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคชาวกัมพูชาที่เป็นคนรุ่นใหม่ วัยทำงานอายุไม่เกิน 35 ปี ที่มีจำนวนราวๆ กว่า 60-70% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ได้เปิดรับการบริโภครูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปเยือนกัมพูชา ซึ่งมีจำนวนกว่า 5 ล้านคนต่อปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจนี้

66

ภาพจาก bit.ly/3fDUQXp

เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และคุ้นเคยกับการให้บริการในรูปแบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี ส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นโอกาส ที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทยในการรุกตลาดกัมพูชา

สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศกัมพูชา ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย อาหารจานด่วน ปิ้งย่าง รวมถึงกาแฟ ซึ่งมีหลากหลายแบรนด์ในกัมพูชา เพราะชาวกัมพูชานิยมสังสรรค์ รวมทั้งนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น อีกทั้งการบริโภคอาหารของชาวกัมพูชามีความคล้ายคลึงกับไทย

โดยมูลค่าตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ที่เข้าไปเปิดตลาดในประเทศกัมพูชา คิดเป็นมูลค่าประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังไม่นับรวมธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นแบรนด์ของกัมพูชาและประเทศอื่นๆ

ขณะที่ธุรกิจที่เป็นแบรนด์แฟรนไชส์ของกัมพูชา ผู้ประกอบการก็ได้มีการวางแผนที่จะขยายสาขาไปต่างประเทศด้วยเช่นกัน เช่น พม่า ไทย ลาว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเช่นเดียวกัน

ระบบแฟรนไชส์ในกัมพูชา

65

ภาพจาก bit.ly/2Ta7B4n

ธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชานั้นยังไม่เด่นชัดนัก มีแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้าไปเป็นตัวหลักใน การขยายธุรกิจ เช่น แฟรนไชส์จากเกาหลี หรือ ฝรั่งเศส ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นของสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น เคเอฟซี พิซซ่าฮัท ก็ยังเป็นธุรกิจที่กระจุกตัวในเมืองใหญ่ การพัฒนาแฟรนไชส์ของประเทศกัมพูชาเองก็ยังไม่มีการส่งเสริมจากภาครัฐเต็มที่นัก

เนื่องจากระบบธุรกิจของประเทศยังเน้นไปในรูปแบบพื้นฐาน คือ การสร้างตัวแทน การนำเข้าและส่งออกสินค้า การขยายธุรกิจแบบการสร้างระบบสัมปทาน มากกว่าจะสร้างรูปแบบการบริหารในแบบแฟรนไชส์ โดย รามยังใช้รูปแบบการค้าทั่วไปเป็นหลัก

สำหรับกฎหมายกฎระเบียบแฟรนไชส์ในกัมพูชายังเปิดกว้าง การทำสัญญาในธุรกิจแฟรนไชส์ ยังขึ้นกับรูปแบบกฎหมายทั่วไป ความรู้ในการจัดการระบบแฟรนไชส์ยังไม่เป็นที่รับรู้กว้างขวางมากนัก ในขณะเดียวกันสถาบันอย่างเช่น สมาคมแฟรนไชส์ของประเทศกัมพูชา ก็ยังไม่มีการพัฒนา

กฎหมายแฟรนไชส์กัมพูชา

64

ภาพจาก bit.ly/3v7pQWf

ประเทศกัมพูชาไม่มีกฎหมายในการควบคุมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะ การดำเนิน ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจของคนกัมพูชา หรือต่างชาติ จะอยู่ภายใต้กฎหมายที่ เรียกว่า “Law on the Commercial Regulations and the Commerce Register” ซึ่งรัฐสภากัมพูชาเห็นชอบ กฎหมายดังกล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1995

ตามกฎหมายดังกล่าว “กิจกรรมทางธุรกิจ” (Act of commerce) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวกับการ ซื้อ หรือจำหน่ายสินค้าหรือบริการตามปกติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนหรือแสวงหากำไรใน ประเทศกัมพูชา

แฟรนไชส์ซอร์ ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่เข้าไปทำธุรกิจ แฟรนไชส์ ในประเทศกัมพูชา โดยมีถิ่น ที่อยู่ สำนักงานสาขา บริษัทลูก (Subsidiary) หรือตัวแทนใน ประเทศกัมพูชา จะต้องจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce) โดยมีรายละเอียด เกี่ยวกับ ชื่อ ทุน สถานที่ตั้งสำนักงาน ชื่อกรรมการ ชื่อผู้ถือหุ้น และรายละเอียดการถือหุ้น รายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า

หรือลิขสิทธิ์ที่เป็น แฟรนไชส์ชอร์ รวมตลอดถึงคำพิพากษาที่เป็นคุณ หรือเป็นโพยมต่อแฟรนไชส์ซอร์นั้น และต้องย่อ รายละเอียดการจดทะเบียนนำไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของประเทศกัมพูชาด้วย แต่คนต่างชาติจะ ถือครองที่ดินไม่ได้ยกเว้นการเช่า หรือได้รับสัมปทาน

ภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศกัมพูชา (Law Concerning Marks Trade Names and Acts of Unfair Competition , 2002) เครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์ซอร์จะได้รับความคุ้มครองเมื่อ จดทะเบียนเครื่องหมายของตนต่อกระทรวงพาณิชย์ของประเทศกัมพูชา(Article5) โดยจะมีอายุการคุ้ม ครอง 10 ปี และต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี (Article 12)

และการอนุญาตให้แฟรนไชส์ชีใช้สิทธิ์ใน เครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ ก็จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ (Article 52) โดยในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ จะต้องระบุเงื่อนไขที่ให้แฟรนไชส์ซอร์มีอำนาจควบคุมคุณภาพของสินค้าหรือ บริการที่ใช้เครื่องหมายดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย มีเช่นนั้นแล้วจะถือว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้ สิทธิ์ไม่มีผลบังคับ (Article 19)

การละเมิดเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศกัมพูชานั้นจะมีโทษปรับตั้งแต่ 1-20 ล้าน เรียล (Rell) และจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ (Article 64)

แฟรนไชส์ซอร์ที่สนใจจะทำธุรกิจแฟรนไซส์ในประเทศกัมพูชาจะต้องมีความรอบคอบเนื่องจาก กฎระเบียบของประเทศกัมพูชามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ค่าเงินเรียลขาดเสถียรภาพส่วนใหญ่จึงนิยมใช้เงิน เหรียญสหรัฐ หรือเงินบาทไทย และการนำเข้าสินค้า หรือวัตถุดิบอาจมีความยุ่งยาก เนื่องจากต้องผ่านการ ตรวจสอบจากบริษัท SGS ซึ่งตั้งขึ้นโดยกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาเพื่อตรวจสอบคุณภาพสินค้าและ ประเมินพิกัดอัตราภาษีศุลกากร

รูปแบบการขายแฟรนไชส์ที่เหมาะสมในกัมพูชา

63

ภาพจาก bit.ly/3fbUnwJ

1.รูปแบบ Master Franchise

เป็นรูปแบบที่นิยมในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ รวมทั้งกัมพูชา โดยผู้ประกอบการไทยมักนิยมขาย Master Franchise ให้นักธุรกิจท้องถิ่นหรือนักธุรกิจไทยที่มีความเชี่ยวชาญในกัมพูชา เนื่องจากสามารถปิดจุดอ่อนของการไม่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศที่จะเข้าไปลงทุนและไม่ชำนาญในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการลงทุน

นอกจากนี้ นักธุรกิจท้องถิ่นยังมีสายสัมพันธ์กับนักธุรกิจรายอื่นที่มีศักยภาพในการมาซื้อ Sub-Franchise ไปลงทุนอีกทอดหนึ่ง และยังดูแล Sub-Franchise ในพื้นที่ได้ใกล้ชิดมากกว่า โดยลักษณะสัญญาการขายแบบ Master Franchise จะระบุจำนวนสาขาแฟรนไชส์ที่ผู้ได้รับ Master Franchise ต้องขยายให้ได้ตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น จุดเสี่ยงสำคัญของการขายแฟรนไชส์ในรูปแบบนี้ จึงเป็นการเลือกผู้ซื้อ Master Franchise เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ที่มีต่อแบรนด์ให้กับผู้บริโภคในวงกว้าง

2.รูปแบบ Direct Franchise

เป็นการขายสิทธิ์แฟรนไชส์ตรงแก่นักลงทุนแต่ละรายไปโดยรูปแบบดังกล่าวเหมาะสำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ที่มีความพร้อมในการเข้าไปศึกษา สำรวจพื้นที่และพฤติกรรมเชิงลึกของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย รวมถึงทำการตลาดและดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์ในกัมพูชาเอง ซึ่งมีข้อดีคือเจ้าของแฟรนไชส์สามารถรักษามาตรฐานแฟรนไชส์ได้ เพราะต้องควบคุมการดำเนินงานเอง แต่อาจมีขั้นตอนการดำเนินงานมากขึ้นและขยายแฟรนไชส์ได้ช้ากว่ารูปแบบ Master Franchise

หลักการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ในกัมพูชา

62

ภาพจาก bit.ly/3f5PYew

1.กรณีการขายแฟรนไชส์แบบ Master Franchise ควรคัดเลือก Master Franchise ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำการตลาดในพื้นที่ ซึ่งจะสามารถช่วยประชาสัมพันธ์แบรนด์และเจาะตลาดได้ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมทั้งควรเลือก Master Franchise ที่มีความสามารถในด้านบริหารจัดการและดูแลการดำเนินงานของ Sub-Franchise ให้ได้มาตรฐานตามที่ต้องการ

2.กรณีการขายแฟรนไชส์แบบ Direct Franchise ควรคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีความตั้งใจจริงในการทำธุรกิจ และเข้าใจระบบแฟรนไชส์ มากกว่าการมุ่งขายแฟรนไชส์ให้ได้จำนวนมาก และอาจต้องปฏิเสธผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ที่คุณสมบัติไม่เหมาะสม เพราะหากผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ใส่ใจรักษาคุณภาพสินค้าและบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ย่อมส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงแบรนด์และผู้ประกอบการรายอื่นที่ขายสินค้า/บริการภายใต้แฟรนไชส์เดียวกัน

รูปแบบการขยายแฟรนไชส์ในกัมพูชา

61

ภาพจาก bit.ly/34h1iOV

สำหรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ หรือขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชา ส่วนใหญ่จะนิยมลงทุนหรือขยายสาขาในรูปแบบ ให้นักลงทุนซื้อสิทธิแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาในกัมพูชา โดยนักลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนต่างชาติและท้องถิ่นผสมผสานกัน ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์หรือเคยทำธุรกิจในกัมพูชามาก่อน

ซึ่งวิธีการแบบนี้เจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ ได้ดีกว่าการขายสิทธิแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นโดยตรง อาทิ กลุ่ม RMA Group ที่จดทะเบียนในไทย ซึ่งรุกตลาดแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มในกัมพูชาผ่าน Express Food Group (EFG) โดยใช้รูปแบบการซื้อสิทธิแฟรนไชส์จากต่างประเทศ

อาทิ The Pizza Company (ไทย) Swensen’s (สหรัฐฯ) BBQ Chicken (เกาหลีใต้) Dairy Queen (สหรัฐฯ) และ Costa Coffee (สหราชอาณาจักร) เพื่อดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชา ขณะที่ QSR Brands Bhd ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์อาหารจานด่วนรายใหญ่จากมาเลเซีย ใช้รูปแบบการร่วมทุนกับ Royal Group of Companies Ltd. (RGC) ของกัมพูชา และ Rightlink Corporation Ltd.(RCL) ของฮ่องกง เพื่อดำเนินกิจการแฟรนไชส์ KFC ในกัมพูชาภายใต้ Kampuchea Food Corporation เป็นต้น

60

ภาพจาก bit.ly/3fbQIyZ

หรือแม้แต่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มอบสิทธิมาสเตอร์แฟรนไชส์ (Master Franchise) ร้านกาแฟอินทนิลในประเทศกัมพูชา ให้แก่บริษัท อาร์ซีจี รีเทล (กัมพูชา) จำกัด ขยายสาขาในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาได้เปิดบริการร้านกาแฟอินทนิลในรูปแบบ แฟล็กชิพสโตร์ (Flagship Store) ณ กรุงพนมเปญ ไปเมื่อไตรมาสแรกของปี 2561

ทั้งนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่ได้เข้าไปเปิดตลาดในกัมพูชาก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่เป็น ธุรกิจอาหาร กาแฟ และธุรกิจความงาม โดยเฉพาะธุรกิจกาแฟกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวกัมพูชา เช่น กาแฟอเมซอน แบล็คแคนยอน อินทนิล และอื่นๆ

นั่นจึงเป็นโอกาสทอง! ของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม!


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wwVexs

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช