Inside แบรนด์…มาม่า
หากเอ่ยชื่อ…บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเมืองไทย เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง “มาม่า” มากกว่า ยำยำ หรือ ไวไว ซึ่ง มาม่า ผลิตโดย บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จำหน่ายโดย บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด
บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) (“TF”) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ด้วยทุนจดทะเบียน 6 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ ของใต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิต
และบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในด้านการตลาดและการจำหน่ายสินค้า โดย มาม่า มีสำนักงานใหญ่แห่งแรก ตั้งอยู่ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และโรงงานแห่งแรก ตั้งอยู่ที่เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
มาม่า ถือว่าเป็นแบรนด์ที่แมส คือ มีกลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม แต่ก็พยายามที่จะใช้แต่ละรสชาติเข้ามาเจาะกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะใน 2 รสชาติ ที่เป็นรสชาติหลักของตลาดคือ ต้มยำกุ้ง และ รสหมูสับ
แต่รู้หรือไม่ว่า “มาม่า” ออกผลิตภัณฑ์มาตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันมีมากกว่า 40 รสชาติ โดยผลิตภัณฑ์แรกคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสซุปไก่ แล้วรายได้
และเรื่องราวของ “มาม่า” ทำไมถึงเป็นเจ้าตลาด ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจเมืองไทย เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้ทราบกันครับ
มาม่าดัชนีชี้วัดราคาบะหมี่สำเร็จรูป
ภาพจาก bit.ly/2KwFnKq
ภาพรวมของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปี 2562 มีรายงานว่าจะเติบโต 6% คิดเป็นมูลค่า 20,000 ล้านบาท ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด แต่ “มาม่า” กลับมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นกว่า 3% ถือเป็นการเติบโตมากที่สุดในรอบ 3 ปี
และยังคงครองความเป็นผู้นำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 51% โดยในช่วงครึ่งปีแรกมียอดขายรวม 4,600 ล้านบาท เติบโตจากครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมากว่า 11.6% จากเดิมตั้งเป้าหมายยอดขายเติบโตไว้ 5%
มาม่า ดำเนินธุรกิจมากว่า 47 ปี ถือเป็นเจ้าตลาดมาโดยตลอด แม้ว่าจะมาทีหลังยำยำ และไวไว แต่มาม่ามีเป้าหมายคือการ “รักษาแชร์” จึงทำให้ปี 2562 คาดว่าจะเติบโตถึง 6%
ภาพจาก bit.ly/2TuUJBU
นอกจากเรื่องแบรนด์ ที่ถือว่าเป็นแต้มต่อของ “มาม่า” แล้ว ช่องทางการจัดจำหน่ายก็น่าจะเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งของ “มาม่า” ภายใต้บริษัทสหพัฒนพิบูล เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่า นอกจากเรื่องแบรนด์แล้ว
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค คงหนีไม่พ้นเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายนั่นเอง ทุกร้านค้าต้องมีมาม่าวางจำหน่าย แต่สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ ความเป็นผู้นำตลาดของมาม่า ทำให้กลายมาเป็นตัวกำหนดเกมการแข่งขันในหลายๆ ด้าน
โดยเฉพาะกับเรื่องของการกำหนดโครงสร้างด้านราคาที่หลายๆ ครั้ง เรามักจะได้ยินว่า หากมาม่า ไม่มีการขยับราคาขายปลีกขึ้น ก็ไม่มีแบรนด์ไหนที่กล้าจะขยับราคาขึ้นก่อน ดังนั้น เรื่องของการขึ้นราคาของมาม่าแต่ช่วงเวลานั้น
ภาพจาก bit.ly/2OWbOpT
มีผลต่อภาพรวมในเรื่องของราคาในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จของเมืองไทย ทำให้แบรนด์อื่นๆ ไม่สามารถขยับตัวในเรื่องของการปรับราคา แม้จะมีต้นทุนสูงขึ้นก็ตาม เนื่องจาก มาม่า เป็นแบรนด์ที่เข้ามากำหนดเกมการแข่งขันในตลาดนั่นเอง
เพราะด้วยเหตุผลของการที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าที่เป็นแมส จึงมีเรื่องของ Economy of Scale เข้ามาเกี่ยวข้อง และส่วนหนึ่งจะมีเรื่องราคาเข้ามาเป็นตัวควบคุม การปรับราคาแต่ละครั้งจึงเป็นเรื่องใหญ่ของผู้บริโภคชาวไทย
และจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างของตลาด ที่ผ่านมาเราจึงเห็นการปรับราคาไม่บ่อยครั้งนัก แม้จะมีเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลาก็ตาม แต่มาม่าก็พยายามที่จะไม่ปรับราคา หากยังสามารถแบกรับต้นทุนได้
ผลิตภัณฑ์มาม่าอดีตถึงปัจจุบัน
ภาพจาก bit.ly/2ZZiIf6
- รสครบรส (ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- รสซุปไก่ (พ.ศ. 2516 / พ.ศ. 2543 / พ.ศ. 2552)
- โปรตีนไข่ (ไม่มีข้อมูล / พ.ศ. 2552)
- รสหมูสับ (พ.ศ. 2518)
- รสต้มยำกุ้ง (พ.ศ. 2523)
- รสเป็ดพะโล้ (พ.ศ. 2537)
- รสเย็นตาโฟ (พ.ศ. 2536 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- รสผัดขี้เมาแห้ง (พ.ศ. 2539)
- รสข้าวซอย (พ.ศ. 2542 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- รสต้มข่าไก่ (ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- รสแกงป่า (พ.ศ. 2540 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- โจ๊กมาม่าเซเลอร์มูน (พ.ศ. 2540 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
ภาพจาก bit.ly/2H3UKIc
- มาม่าโดราเอมอน (พ.ศ. 2542 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- รสหมูน้ำตก (พ.ศ. 2543)
- รสหมูต้มยำ (พ.ศ. 2544)
- รสโป๊ะแตก (พ.ศ. 2544 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- บะหมี่หยกเป็ดย่างแห้ง (พ.ศ. 2545 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- รสต้มยำกุ้งน้ำข้น (พ.ศ. 2545)
- รสต้มยำเส้นชาเขียว (พ.ศ. 2547 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- โฮลวีตรสหมูพริกไทยดำ (พ.ศ. 2548 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- มาม่า ก้านกล้วย (พ.ศ. 2550 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- รสต้มแซบ (พ.ศ. 2550)
- โอเรียนทัลคิตเชน รสหมี่โกเรง (พ.ศ. 2550)
- โอเรียนทัลคิตเชน รสฮอตแอนด์สไปซี (พ.ศ. 2550)
- โอเรียนทัลคิตเชน รสโคเรียนสไปซ์ (พ.ศ. 2550)
- โอเรียนทัลคิตเชน รสสไปซี่ซีฟู้ด (พ.ศ. 2550 / เฉพาะแบบถ้วย)
- รสเห็ดหอมเจ (พ.ศ. 2551)
- รสต้มยำเจ (พ.ศ. 2551)
- ซูเปอร์โบวล์ รสต้มยำขาหมู (พ.ศ. 2551 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- ซูเปอร์โบวล์ รสแกงกะหรี่หมู (พ.ศ. 2551 / ปัจจุบันเลิกขายไปแล้ว)
- รสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ (พ.ศ. 2553)
- รสต้มยำกุ้งน้ำข้นบิ๊กแพ็ค (พ.ศ. 2554)
- รสหมูสับต้มยำน้ำข้น (พ.ศ. 2554)
- รสแกงเขียวหวานไก่ (พ.ศ. 2555)
- รสสไปซี่ชีส (พ.ศ. 2556 / เฉพาะแบบถ้วย)
- รสต้มยำกุ้งเอ็กซ์ตรีม (พ.ศ. 2556 / เฉพาะแบบถ้วย)
- มาม่าโจ๊กคัพ (ไม่ทราบพ.ศ./ เฉพาะแบบถ้วย)
- ซูเปอร์โบวล์ รสมัสมั่นไก่ (พ.ศ. 2559)
- รสผัดกระเพรา (พ.ศ. 2560)
- รสผัดไข่เค็ม (พ.ศ. 2561)
ภาพจาก bit.ly/2OVi54X
ปัจจุบัน เพรซิเดนท์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทฯ ประกอบธุรกิจด้านผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูป ประเภทเส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ ก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูป โจ๊ก ข้าวต้ม
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากข้าวเป็นหลัก และวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป จำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า MAMA, MAMY, PAPA, PAMA, HANDI RICE และ PRESIDENT RICE เป็นต้น
รายได้ของ มาม่า
ภาพจาก bit.ly/302bYNt
บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของผลิตภัณฑ์ (มาม่า) มีรายได้ที่ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ล่าสุด
- ปี 2560 รายได้ 2,790,780,010.00 บาท กำไร 480,931,677.00 บาท
- ปี 2561 รายได้ 13,252,371,157.00 บาท กำไร 2,582,095,114.00 บาท
สังเกตหรือไม่ว่า ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดี หรือไม่ดี “มาม่า” ก็ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุด กลายเป็นสินค้าหนึ่งที่ผู้บริโภคชาวไทยจะต้องนึกถึง ไม่ว่าจะช่วงต้นเดือน กลางเดือน หรือปลายเดือน จึงไม่แปลกที่รายได้ปีล่าสุด (2561) ของมาม่า จะสูงถึง 1.3 หมื่นล้านบาท นับว่าเป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดี
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
แหล่งข้อมูลจาก
อ้างอิงจาก https://bit.ly/39ou4Ak