Idol School เวทีสร้าง ไอดอล คนใหม่ของเกาหลีใต้

เกมโชว์ยุคนี้เน้นเรียลลิตี้เป็นหลัก ดูแค่ในเมืองไทยก็มีแทบนับไม่ถ้วน ข้อดีของเรียลลิตี้เหล่านี้คือดึงอารมณ์คนดูให้อินไปกับการเล่นเรียลลิตี้ที่แฝงเรื่องการแสดงเข้าไปด้วย กระแสเรียลลิตี้จึงมีทั้งรักทั้งเกลียด ในเวทีโซเชี่ยลจะเห็นคอมเม้นต์และการแสดงความเห็นเผ็ดร้อนประหนึ่งแทบจะตบตีกันเลยก็มี

แต่นี่ก็คือการสร้างกระแสให้เรียลลิตี้นั้นน่าสนใจยิ่งขึ้นและไม่ใช่ในเมืองไทยเท่านั้น เกาหลีก็มีเหมือนกัน แต่ขึ้นชื่อว่าเกาหลีแล้วงานนี้ก็ต้องเน้นที่กระแสของ K-POP ที่เป็นจุดขายของประเทศเขาเลย หนึ่งในรายการที่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเป็นกระแสแรงทีเดียวคือ Idol School ที่นอกจากคนเกาหลีแข่งแล้วยังมีเด็กไทยเข้าร่วมเรียลลิตี้นี้ด้วยนะ

166

อุตสาหกรรมดนตรีจากแดนกิมจินั้นสร้างมูลค่าให้ประเทศมากถึง 4.7 พันล้านเหรียญต่อปี และแน่นอนว่าการเป็น ไอดอล คือหนึ่งในอาชีพที่ใฝ่ฝันของเด็กสาวทั้งหลาย เหตุนี้จึงมี เรียลลิตี้แนว Idol Survival มากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากค่าย YG มีรายการ Who is Next: WIN ส่วนของค่าย JYP ก็มีรายการ SIXTEEN ที่ให้เด็กฝึกในสังกัดมาแข่งขันความสามารถกันเพื่อเป็น ไอดอล วงใหม่

จนล่าสุดคือ Idol School ที่เริ่มออนแอร์มาตั้งแต่ 13 กรกฏาคม 2560 ตอนสุดท้ายของเรียลลิตี้ Idol School นี้จะออกอากาศในวันที่ 28 กันยายน 2560 รายการนี้ฉายทางช่อง Mnet ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นช่องโทรทัศน์ชั้นนำของเกาหลีใต้

167
สิ่งที่ทำให้รายการ Idol School นี้น่าติดตามเพราะรูปแบบรายการที่มีครูประจำชั้นในรายการที่เคยเป็น ไอดอล ในวง Super Junior มากว่า13 ปีนั้นคือ คิมฮีชอล หรือจางจินยองที่เป็นครูสอนร้องเพลงของค่าย SM และ พัคจุนฮี นักออกแบบท่าเต้นชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังวงเกิลกรุ๊ปอย่าง GFriend

ที่สำคัญรายการนี้ได้เปิดโอกาสให้สาวน้อยจากทุกประเทศได้เข้ามาแข่งขัน ขอแค่อย่างเดียวคือให้พูดเกาหลีใต้ได้เป็นพอ จากนั้นเขาก็จะทำการคัดเลือกให้เหลือเป็น 41 คน เพื่อเข้าร่วมรายการ Idol School ซึ่งงานนี้ก็มีสาวน้อยจากประเทศไทยอย่าง น้องนัตตี้ หรือ อาณัชญา สุพุทธิพงศ์ แห่งค่าย JYP Entertainment สังกัดดังของเกาหลี เข้าร่วมได้ และถึงแม้น้องนัตตี้จะไม่ได้เป็นผู้ชนะเลิศเพราะประกาศถอนตัวด้วยเหตุผลบางประการแต่ก็ถือว่า เป็นตัวอย่างการก้าวสู่ไอดอลเกาหลีให้เด็กไทยคนอื่นได้อย่างดี

168

รายการ Idol School นี้เหมือนเป็นโรงเรียนการฝึก ไอดอล ที่ใครทำได้ไม่ดีก็ต้องถูกโหวตให้ออกไปจนเหลือเป็น 9 คนสุดท้ายที่จะได้เป็นเกิร์ลกรุ๊ปวงใหม่ของเกาหลี โดยรวมระยะเวลาของรายการนี้คือ 11 สัปดาห์กิจกรรมที่ถ่ายทอดให้คนดูได้เห็นกันก็มีตั้งแต่การฝึกเต้น การรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมร่วมกัน การฝึกร้องเพลงต่างๆ เป็นต้น

169

หากเราดูรูปแบบรายการเรียลลิตี้แบบนี้ที่เมื่อก่อนในเมืองไทยก็มีเหมือนกันแต่เป็นเรียลลิตี้ที่ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศอย่างเช่นรายการ บิ๊กบราเธอร์ที่คนสนใจและติดตามดูกันทั่วบ้านทั่วเมือง หลังจากนั้นเรียลลิตี้แนวนี้ก็ออกแนวของAcademy กับการฝึกผู้เข้าแข่งขันในการร้องเพลงแล้วก็ให้ออกมาแสดงความสามารถจากนั้นก็เปิดโหวตให้คัดตัวออก

จนถึงเรียลลิตี้ขั้นต่อมาในยุคนี้อย่าง The Face ไทยแลนด์ ที่มีอินเนอร์ในการแสดงเข้าร่วมกับการแข่งขันจนบางครั้งดูท่าจะดุเดือดทั้งในเกมส์และนอกเกมส์ ก็นับเป็นการสร้างกระแสเกมส์โชว์แนวใหม่ที่ทำให้คนดูติดตามได้มากขึ้นด้วย

170
อย่างไรก็ตามหากเราดูตัวอย่างของ Idol School จากเกาหลีที่เอาจุดแข็งเรื่อง K-POP มาเป็นจุดขาย เมืองไทยก็มีจุดแข็งหลายอย่างแต่ก็ไม่เห็นว่าจะมีเรียลลิตี้ไหนจัดแข่งในแนวนี้บ้าง อย่างเช่นมีไหมที่เป็นเรียลลิตี้หาพระเอกลิเก หน้าใหม่ หรือเรียลลิตี้ ตามหานักร้องลูกทุ่ง อาจจะมีรายการที่คล้ายคลึงในแนวประกวดร้องเพลงของช่องทีวีดิจิตอลต่างๆ แต่ก็ยังไม่ได้อารมณ์ของเรียลลิตี้ที่แท้จริง งานนี้ก็ต้องลองติดตามดูต่อไปว่าอนาคตเรียลลิตี้ของเมืองไทยและต่างชาติจะมีอะไรที่น่าสนใจมากขึ้นในอนาคต

171
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก goo.gl/ccchNS

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด