“Hanaya” ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าแรกในเมืองไทย รายได้กว่า 30 ล้านบาทต่อปี
ถ้าร้านอาหารสักแห่งจะยืนหยัดได้กว่า 83 ปี www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าจะต้องมีเอกลักษณ์และการรักษาคุณภาพในสินค้าและบริการเป็นอย่างมาก และยิ่งเป็น ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่ทุกวันนี้มีเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ร้าน Hanaya ถือว่าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าแรกในเมืองไทย
เป็นต้นตำหรับตั้งแต่ยุคที่คำว่าอาหารญี่ปุ่นคนไทยยังไม่รู้จักและคุ้นเคย มาถึงวันนี้อาหารญี่ปุ่นแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตใครหลายคนแต่ร้าน Hanaya ก็ยังเปิดดำเนินกิจการที่สำคัญเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อปีสูงมาก เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจให้คนที่อยากทำร้านอาหารได้ควรเรียนรู้ไว้
จากคาโกชิมะสู่ร้าน Hanaya ย่านบางรัก
แน่นอนว่าความเป็นอาหารญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งก็ต้องเป็นคนญี่ปุ่น ซึ่งร้าน Hanaya ที่ถือเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งแรกในเมืองไทยก่อตั้งเมื่อปี 2482 โดยตระกูลวาตานูกิ ที่ภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเมืองคาโกชิมะ ซึ่งเป็นเมืองทางตอนใต้ของญี่ปุ่น มีจุดเด่นคือเรื่องอาหารที่มีรสชาติตามแบบฉบับญี่ปุ่นมาก และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตระกูลวาตานูกิได้ย้ายจากคาโกชิมะมาอยู่เมืองไทย บริเวณย่านสี่พระยา ที่เลือกเอาทำเลในย่านนี้เพราะมีคนต่างชาติจำนวนมาก และมาบริษัทต่างๆ เรียกว่าเป็นย่านใจกลางเมืองที่สำคัญ แน่นอนว่าเมื่อเป็นย่านเศรษฐกิจก็ต้องมีคนพลุกพล่านรวมถึงมีชาวญี่ปุ่นอยู่ในพื้นที่นี้มากด้วย
อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญของการตั้งร้าน Hanaya ในย่านนี้เพราะต้องการให้คนญี่ปุ่นในพื้นที่ซึ่งมีจำนวนมากได้มีโอกาสได้กินอาหารญี่ปุ่นที่รสชาติเหมือนต้นตำหรับ เพราะเชื่อว่าคนญี่ปุ่นในเมืองไทยหลายคนต้องคิดถึงบ้าน และอาหารเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนญี่ปุ่นในเมืองไทยรู้สึกเหมือนได้กลับบ้านและยังเป็นร้านอาหารที่ให้คนต่างชาติเลือกรับประทานได้ตามความพอใจด้วย ซึ่งสัญลักษณ์ของร้านเป็นรูปดอกไม้ ซึ่งมาจากคำว่า “ฮะนะ” ที่เป็นคำในชื่อร้านด้วย
รวมกลยุทธ์ร้าน Hanaya สร้างธุรกิจสู่ความสำเร็จ
การตกแต่งร้าน Hanaya เน้นความเรียบง่ายสไตล์ญี่ปุ่นแท้ รับลูกค้าได้กว่า 230 คน รวมห้องส่วนตัวเล็กใหญ่ถึง 8 ห้องและยังมีเคาน์เตอร์ซูชิที่รับลูกค้าได้อีกด้วย เมนูของ Hanaya มีความหลากหลายเช่น รากบัวทอด , หนังปลาแซลมอนทอดกรอบ , ลูกชิ้นปลาหรือเนื้อปลาสับห่อใบโอบะย่าง , ผักเกล็ดหิมะ , หัวไชเท้าดองรมควัน , ไข่ตุ๋นหน้าปูซูไว หอยเป๋าฮื้อนึ่งสาเก เป็นต้น
นอกจากนี้ทางร้านยังมีกลยุทธ์การตลาดอีกหลากหลายที่ทำให้กลายเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่คนรู้จักอย่างดี มีลูกค้าแวะเวียนไปใช้บริการ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจำนวนมาก รูปแบบการตลาดที่น่าสนใจได้แก่
1. Hanaya ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
แต่มีสิ่งที่ส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่นจนลูกค้าที่เคยกินเมื่อวัยเด็กก็ยังกลับมากินในวัยเกษียณ นั่นก็คือ การทำให้ลูกค้า ‘กินแล้วมีความสุข กินแล้วสบายกระเป๋า’
2. การใช้วัตถุดิบไทย ในเมนูอาหารญี่ปุ่น
โดยเลือกวัตถุดิบตามฤดูกาล เน้นไปที่คุณภาพของวัตถุดิบ และวิธีการทำก็เป็นไปตามแบบฉบับญี่ปุ่นทุกอย่าง ทำให้อาหารยังคงมีความอร่อย สดใหม่ และไม่คาว ซึ่งไม่ต่างอะไรจากต้นตำรับของอาหารญี่ปุ่น แม้จะใช้วัตถุดิบไทย
3.รักษาเมนูที่เป็นสูตรดั้งเดิมของ Hanaya ไว้
เพราะ Hanaya ถือว่าความเป็นออริจินัลนั้น ถือเป็นหนึ่งในสูตรที่มัดใจลูกค้าเดิมไว้ได้แต่ในขณะที่รักษาของเดิมก็ไม่หยุดพัฒนาสิ่งใหม่ ควบคู่ไปด้วย ทำให้ปัจจุบันมีเมนูอาหารที่หลากหลายครบทุกความต้องการของลูกค้า
4.ร้านอาหารญี่ปุ่นแบบรวมจบครบทุกความต้องการ
จุดแตกต่างคือร้านอาหารญี่ปุ่นยุคนี้แยกประเภทกันชัดเจน อย่างร้านราเมนขายบะหมี่ญี่ปุ่น ร้านเกียวด้งขายข้าวหน้าเนื้อต่างๆ หรืออิซากายะที่วางตัวเองเป็นร้านเหล้าที่ขายอาหารญี่ปุ่น แต่ Hanaya ได้รวมทุกความหลากหลายมาไว้ในที่เดียวมีทุกเมนูที่ลูกค้าต้องการ
5.รักษาลูกค้าเก่าเพื่อสร้างลูกค้าใหม่
สิ่งที่ทำให้ Hanaya เติบโตเพราะคุณภาพบริการที่ดี การสร้างความประทับใจให้ลูกค้า หลักการของ Hanaya คือสนิทกับลูกค้าให้มากที่สุดให้รู้สึกเหมือนเป็นครอบครัว บางคนมากินตั้งแต่สมัยพ่อแม่ โตขึ้นก็พาครอบครัวลูกเมีย ภรรยามาทาน บางคนก็จ้างให้ไปจัดโต๊ะในงานเลี้ยงต่างๆ เป็นต้น
รายได้ร้าน Hanaya ไม่ธรรมดาเกินกว่า 30 ล้านบาท/ปี
ภาพจาก www.facebook.com/Hanaya1976/
ในความเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่เน้นใช้วัตถุดิบคุณภาพดี บริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ย่อมต้องมีต้นทุนที่สูง แต่ถึงกระนั้นร้าน Hanaya ก็ยังเติบโตและมีลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากรายได้ในปี 2562 มีรายได้รวม 42.4 ล้านบาท แม้ในช่วงที่การแพร่ระบาดโควิดร้าน Hanaya แม้รายได้จะลดลงแต่ก็ยังกวาดรายได้ในปี 2563 รวมกว่า 35.4 ล้านบาท
ทั้งนี้เรื่องการบริหารจัดการและวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก ยิ่งในปัจจุบันสังคมยุคใหม่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก ร้าน Hanaya เองก็ปรับตัวตามกระแสสังคมที่เปลี่ยนไปแต่สิ่งที่ยังคงเดิมคือเอกลักษณ์เรื่องรสชาติ การบริการ ที่ต้องสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในทุกยุคสมัย
ถือเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาจากร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งแรกในประเทศไทยที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ก็ยังรักษามาตรฐานและดำเนินกิจการให้เติบโตต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใครที่คิดอยากมีร้านอาหารจึงควรเรียนรู้และศึกษาแนวทางเหล่านี้เพื่อนำไปปรับใช้กับธุรกิจร้านอาหารให้เติบโตและสร้างกำไรได้ในทุกยุคสมัย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3dGx3sM
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)