Graphic Income แนวทางใหม่ หาเงินจากรูปวาด NFT
ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงแม้แต่การลงทุนตอนนี้กระแสของ Cryptocurrency เป็นกระแสฮิตที่มีอัตราเติบโตชัดเจนยกตัวอย่าง กระแสของ Bitcoin ที่เติบโตขึ้นถึง 300% ในปี 2020 หรือการใช้ระบบ Blockchain ที่ให้ความปลอดภัยที่มากกว่าระบบที่ใช้ในปัจจุบัน
แต่สิ่งที่ www.ThaiSMEsCenter.com สนใจคือเรื่องของการสร้างรายได้เราไม่ได้โฟกัสแค่กลุ่มนักลงทุนเท่านั้น ตอนนี้ถ้าเราเป็นกราฟฟิคดีไซน์ หรือมีผลงานศิลปะที่เคยออกแบบไว้ เราสามารถยกงานพวกนี้ออกมาขายในระบบที่เรียกว่า NFT (Non-Fungible Token) อาจสร้างรายได้ที่ดีให้กับเราเกินคาด
รู้จักหรือยัง? NFT (Non-Fungible Token)
ภาพจาก freepik.com
NFT หรือ Non-Fungible Token ซึ่งเป็น Cryptocurrency ประเภทหนึ่งที่รันอยู่บนระบบ Blockchain แต่ความพิเศษของ NFT คือ แต่ละ Token จะมีลักษะเฉพาะตัวที่ไม่มีอะไรสามารถมาทดแทน Token นี้ได้ ซึ่งคำว่า “Non-Fungible” หมายถึงสิ่งที่ไม่มีอะไรสามารถมาทดแทน หรือ แยกย่อยไปเป็นสิ่งอื่นๆไม่ได้ เช่น ภาพวาดของโมนาลิซ่า ถึงแม้จะมีคนวาดภาพตามให้เมือนขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่มาทดแทนตัวภาพวาดของจริงตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ได้เป็นต้น
ดังนั้น NFT ก็คืองานศิลปะในรูปแบบกายภาพ หรือ แบบดิจิทัล ที่นำมาแปลงเป็น NFT หรือ Non-Fungible Token แล้วลงขายกับผู้ให้บริการต่างๆที่เป็นแพลทฟอร์มสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนผลงานศิลปะที่อยู่ใน NFT Marketplace ได้โดยผู้ที่ถือสินทรัพย์นี้มีความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และ ตัวสินทรัพย์นั้นๆจะถูกเก็บรักษาไว้ในฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงสุดของระบบปฏิบัติการนี้
NFT จะสร้างรายได้ให้เราได้อย่างไร??
ภาพจาก https://bit.ly/3GLBsnU
หากเราเป็น Creator หรือผู้สร้างสรรค์ ก็สร้างผลงานดิจิทัลแล้วโพสท์ขายในตลาด ผลงานที่สามารถนำมาโพสท์ขายได้มีตั้งแต่ภาพวาด เพลง ของสะสม หรือแม้กระทั่งข้อความในทวิตเตอร์ ซึ่งผลงานทุกชิ้นต้องอยู่ในฟอร์แมทไฟล์แบบดิจิตอล เช่น JPG, GIF, MP3, MP4 เป็นต้น หากเรามีภาพวาดสีน้ำ สีน้ำมันบนแคนวาส เราก็ต้องทำการสแกนเพื่อให้กลายเป็นไฟล์ก่อนที่จะทำการโพสท์ขาย
ซึ่งการขายก็สามารถตั้งราคาแบบตายตัว หรือให้เป็นราคาประมูลได้เช่นกัน และการขายผลงานใน NFT Marketplace จะไม่ใช่การซื้อขายที่ถูกทำให้จบในครั้งเดียว เพราะหลังจากที่เจ้าของได้ขายผลงานให้บุคคลที่ 1 และได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว การที่บุคคลที่1นำผลงานที่ได้ซื้อไป ขายให้กับบุคคลที่2 เจ้าของผลงานเดิมก็จะได้ส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นจากการขายนั้นด้วย!! ทำให้เจ้าของผลงานได้รับผลตอบแทนที่ไม่รู้จบ แถมมีความปลอดภัยสูง ไม่มีใครสามารถลอกเลียนผลงานของเราแล้วเอาไปขายต่อได้
นอกจากนี้ยังมีการหารายได้ด้วยการเทรด NFT ซึ่งหากต้องการลงทุนในทรัพย์สินประเภทนี้ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของเจ้าของผลงานอย่างใกล้ชิด เพราะมูลค่าของแต่ละชิ้นงานมีความสัมพันธ์กับความเป็นที่รู้จักหรือความมีชื่อเสียงของผลงาน
ขั้นตอนเบื้องต้นเริ่มทำ NFT (Non-Fungible Token)
รายละเอียดของการทำ NFT (Non-Fungible Token) หากศึกษาพบว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากในที่นี้จะลองนำเสนอขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับมือใหม่ที่อยากลองทำ NFT (Non-Fungible Token
1.ต้องมีกระเป๋า Crypto Wallet โดยอาจติดตั้งเป็นส่วนขยายของเว็บบราวเซอร์ Chrome บน PC หรือ Notebook ได้
ภาพจาก https://bit.ly/3k0OBjt
2.เปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล กับ Exchange ที่ได้รับความนิยมอย่าง Binance หรือกับผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตจากทาง ก.ล.ต. เช่น Bitkub, Satang Pro, Kulap, Zipmex ฯลฯ จากนั้น ซื้อ และเติมเงิน Crypto สกุล Ethereum (ETH) ประมาณ 0.01 – 0.02 eth หรือราว 800-1,500 บาท เข้าไปในกระเป๋า Wallet MetaMask
3.เตรียมงานที่ต้องการจะนำมาแปลงเป็น NFT โดยหากเป็นไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลอยู่แล้ว เช่น PNG, GIF, WEBP, MP4 ก็สามารถนำมาใช้งานได้เลย แต่หากเป็นงานศิลปะที่วาดอยู่บนกระดาษ เฟรมผ้าใบ หรือวัสดุอื่น ก็สามารถใช้การสแกน หรือถ่ายรูป เพื่อให้งานนั้นกลายมาอยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล เช่น JPEG ได้
4.เมื่อเตรียมไฟล์งานพร้อมแล้วก็ เข้าไปที่เว็บไซต์ OpenSea หรือเว็บอื่นตามที่ต้องการ
ภาพจาก https://opensea.io/
5.กด “Connect Wallet” เพื่อเชื่อมกระเป๋า ในกรณีที่ต้องการเป็นเพียงแค่ ‘ผู้ซื้อ’ หรืออยากลองเริ่มเก็บสะสมงาน NFT ก็สามารถค้นหา หรือเลือกซื้องาน NFT ประเภทที่สนใจตามมูลค่าเงินที่เติมไปไว้ได้เลยทันที
6.ในกรณีที่ต้องการเป็น ‘ผู้ขาย’ ให้กดปุ่มสร้างงาน หรือ ‘Create’
7.เลือก รูปแบบการขาย โดยมี 2 แบบให้เลือก คือแบบราคาตายตัว (Fixed Price) ซึ่งสามารถกำหนดราคาขายตายตัวได้ และแบบประมูลอิสระ (Unlimited Auction) ซึ่งผู้ซื้อสามารถเสนอราคามาได้เรื่อย ๆ จนกว่าผู้ขายจะพอใจ
8.ใส่ชื่องาน , คำอธิบาย , ใส่ค่าตอบแทน หรือ % ส่วนแบ่งที่เราจะได้รับหากมีการขายงานชิ้นนี้ในครั้งถัด ๆ ไป รวมถึง ใส่คุณสมบัติ) ของงาน เช่น ขนาดภาพ, ไซส์ของตัวงานจริง ฯลฯ และกดสร้าง “Create item”
มีใครบ้างที่หันมาสร้างรายได้จาก NFT
มีคนในหลายวงการที่เริ่มหันมาสนใจสร้างรายได้จาก NFT โดยเฉพาะบรรดานักร้องนักแสดงและคนในวงการบันเทิงต่างๆ ส่วนหนึ่งเพราะ NFT สามารถแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างดี มาดูกันว่ามีใครที่สร้างรายได้จากช่องทางนี้บ้าง
ภาพจาก IG modernpod
1.“ป๊อด โมเดิร์นด็อก” ที่หันมาเอาดีกับงานศิลปะ โดยเขียนภาพขายตลาดศิลปะออนไลน์ NFT art และมีการจัดนิทรรศการภาพ เปิดสอนวาดภาพ ควบคู่กับการเป็นนักร้อง
ภาพจาก https://bit.ly/3CFTGoE
2.มีม ‘Disaster girl’ หรือ สาวน้อยแห่งหายนะ ต้นฉบับรูปภาพมีม ‘Disaster girl’ หรือ ‘สาวน้อยแห่งหายนะ’ ซึ่งเป็นรูปของเด็กหญิงอายุ 4 ขวบที่กำลังยืนแสยะยิ้มอยู่ โดยมีฉากหลังเป็นอาคารที่กำลังถูกไฟไหม้ ถูกประมูลผ่านตลาด NFT ในราคาถึง 473,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 14.7 ล้านบาท)
3.ทวีตแรกของโลกจาก ‘แจ็ก ดอร์ซีย์’ ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของทวิตเตอร์ ที่ทวีตไว้ตั้งแต่ปี 2549 ถูกนำมาประมูลขายผ่าน NFT ในราคาถึง 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 90 ล้านบาท)
ภาพจาก https://bit.ly/3CFTGoE
4.หน้าปกการ์ตูน ‘ขายหัวเราะ’ ฉบับแรกพร้อมลายเซ็นของ บก.วิธิต ในรูปแบบดิจิตอล ไฟล์ก็ถูกนักสะสมประมูลไปเมื่อเดือน เมษายน 2564 ที่ราคาสูงถึงราว 1.07 ล้านบาท
5.ติ๊ก ชีโร่ นำผลงานรูปวาดของตัวเองสู่ระบบของ Opensea และถูกประมูลไปที่ราคาราวๆ 20,000 บาท
6.ยังโอห์ม ศิลปินแร็ปเปอร์ชื่อดัง ได้นำผลงาน NFT ภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงให้นักสะสมได้ร่วมทำการประมูล และถูกปิดประมูลไปในราคาราว 150,000 บาท
ภาพจาก https://bit.ly/3CFTGoE
7.หรือในวงการกีฬาอย่างบาสเกตบอล NBA มีการเปิดประมูลช็อตทำคะแนนสวยๆ จากนักกีฬาดังๆ อย่าง เลบรอนด์ เจมส์ และไมเคิล จอร์แดน โดยมีมูลค่าที่ถูกประมูลสูงถึง 245,000 เหรียญสหรัฐฯ (7.6 ล้านบาท) ซึ่งเป็นมูลค่าเพียงแค่คลิปเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงผลงานของเราเป็น NFT จะมีค่าธรรมเนียม (Gas fee) ซึ่งในช่วงราคาสูงเราอาจปฏิเสธได้และค่อยทำในช่วงที่ค่าธรรมเนียมมีราคาถูกลง ทั้งนี้ NFT ได้กลายมาเป็นสินทรัพย์ดิจิตอลที่ได้ถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรม แทนสินค้าหรือผลงานหลายอย่าง
เช่น อุตสาหกรรมเกมส์ได้มีการนำมาใช้กับ item หรือการ์ดในเกมส์ ทำให้สามารถซื้อขายกันได้อย่างสะดวก หรือวงการเพลง ศิลปินนักร้องนักดนตรีสามารถนำผลงานตัวเองมาทำเป็น NFT ในรูปแบบต่างๆ ให้แฟนคลับสั่งซื้อ นอกจากนั้น NFT ยังสามารถนำไปใช้แทนบัตรคอนเสิร์ต คูปอง การ์ด ของสะสมต่างๆ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3o3lkWk
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)