Gantt Chart เปิดร้านแฟรนไชส์ ใน 90 วัน
Gantt chart แผนการดำเนินงาน หรือปฏิบัติงาน ที่เป็นแผนภูมิในรูปของกราฟ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะต้องใส่ลงไปใน “แผนธุรกิจ” หรือ Business Plan ก่อนจะเริ่มต้นทำแฟรนไชส์
เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน เนื่องจากสามารถแสดงข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการ กำหนดเวลา และผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของโครงการหรือกิจกรรมในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ช่วยให้การติดตามประเมินผลการดำเนินงานง่ายขึ้น
ภาพจาก bit.ly/3aQGbGM
Gantt chart ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1917 โดย Henry L. Gantt เพื่อใช้วางแผนเกี่ยวกับเวลา และแก้ปัญหาเรื่องการจัดตารางการทำงาน ผังจะแสดงถึงปริมาณงานและเวลาที่จะต้องใช้เพื่อทำงานนั้นให้ลุล่วง โดยวางงานตามลำดับการทำงาน ว่ามีงานไหนต้องทำเสร็จก่อน แล้วจึงจะเริ่มงานต่อไปได้
ภาพจาก bit.ly/3t6fvbk
Gantt Chart เป็นแผนภูมิประกอบด้วย แกนหลัก 2 แกน คือ แกนนอนแสดงถึงเวลาในการทำงานตลอดโครงการ ส่วนแกนตั้งแสดงถึงงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำ แท่งกราฟวางตัวในแนวนอนนั้น ความยาวของแท่งกราฟเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระยะเวลาในการทำงาน นั่นคือ ยิ่งกราฟยาวมาก แสดงว่า งานนั้นใช้เวลาทำนาน
ประโยชน์อื่นๆ ของ Gantt Chart
1.ปรับเปลี่ยนขนาดของการวางแผนได้ กล่าวคือ มีความเหมาะสมกับการวางแผนโครงการขนาดเล็ก การวางแผนภาพรวมโครงการขนาดใหญ่ หรือ มีการสร้างแผนงานขนาดเล็กภายใต้โครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น
2.ใช้ในการประสานงานระหว่างแผนก/หน่วยงาน เมื่อมี Gantt Chart อยู่ในมือคนละใบ ภาษาที่ใช้สื่อสารในการทำงาน ก็มักจะเป็นเรื่องเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงความคาดเคลื่อนของการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
3.เมื่อผู้ใช้งานได้นำ Gantt Chart มาปรับใช้ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอแล้ว ผู้ใช้งานจะสามารถเห็นรูปแบบของการเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำ ๆ ทำให้มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจวางแผนงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อาจเกิดการสังเกตเห็นปัญหาซ้ำๆ ในระหว่างเดือนมกราคม ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วพบต้นเหตุของปัญหา ก็สามารถวางแผนเพื่อลดผลกระทบของปัญหาได้ในการวางแผนครั้งต่อไป
4.Gantt Chart สามารถนำมาปรับใช้ให้เป็นไปในรูปแบบที่สามารถติดตามความก้าวหน้าของโครงการได้มากขึ้น วิธีที่นิยมที่สุด คือ การกำหนดสีที่ใช้สำหรับกราฟิกที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวสำหรับขั้นตอนที่ทำสำเร็จลุล่วงตามระยะเวลาที่วางแผนไว้ สีเหลืองสำหรับขั้นตอนที่กำลังดำเนินการ และ สีแดงสำหรับขั้นตอนที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามแผน หรือ ดำเนินการช้ากว่าแผนงานนั่นเอง
สร้างธุรกิจแฟรนไชส์ ใน 60 วัน
สำหรับการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ หรือทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะ 30 วัน หรือ 90 วัน เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการขนาดเล็ก หรือเจ้าของธุรกิจที่กำลังอยากขยายธุรกิจด้วยแฟรนไชส์
1.หาความรู้ระบบแฟรนไชส์ (1 วัน)
การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้และมีทีมงานที่มีความอดทน และมีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับดีพอสมควร เพราะการทำแฟรนไชส์เกี่ยวข้องกับการเงิน การตลาด ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิต่อเนื่อง การสนับสนุนแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ คู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ ฯลฯ หากไม่รู้เรื่องเหล่านี้ก็ทำแฟรนไชส์ไม่ได้
สำหรับใครที่อยากหาความรู้ในเรื่องแฟรนไชส์ สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ คอร์สเรียนขายดี
2.สร้างธุรกิจให้โดนใจลูกค้า (10 วัน)
ธุรกิจต้องโดนใจลูกค้าเสียก่อน ถ้าธุรกิจเรายังไม่ใช่สำหรับลูกค้า มันก็ยังคงไม่เพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้าน การที่จะขยายสาขาแฟรนไชส์ต่อไปได้นั้นเราต้องได้ใจของลูกค้าด้วย การสร้างธุรกิจที่ได้ใจลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทำได้ถูกต้องเราก็ไม่ต้องกลัวว่าต่อไปจะพลาด อย่าให้เราต้องเสียเวลาต้องกลับมาแก้ไขปัญหาภายหลัง คงไม่ใช่เรื่องสนุกเท่าไหร่
บริการ #รับเขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) คลิก https://bit.ly/3iRPavD
โทร : 02-1019187
3.จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (60 วัน)
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ การจดสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า (ตราสินค้า) เมื่อให้สัญญาแฟรนไชส์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ว สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า ก็จะถูกผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปใช้ดำเนินธุรกิจด้วย พร้อมกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี หรือมาตรฐานที่ดีของการให้บริการที่จะต้องควบคู่ไปพร้อมกับ การดำเนินธุรกิจดังกล่าวนั้นด้วย
บริการ #รับจดเครื่องหมายการค้า (Trade mark) คลิก https://bit.ly/3AUdqTU
โทร : 02-1019187
4.การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ (20 วัน)
การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำ ว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร หลายๆ อย่างจะได้จากร้านต้นแบบ แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์
5.วิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน (5 วัน)
ร้านต้นแบบจะเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้ ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย
6.การเขียนสัญญาแฟรนไชส์ (10 วัน)
เจ้าของธูรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ จะต้องมีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อเป็นแนวทางให้แฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นกฎปฏิบัติของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และห้ามทำอะไรบ้าง ใครไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็สามารรฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย เจ้าของธุรกิจอาจจะต้องจ้างทนาย หรือผู้เชี่ยวชาญในการร่างสัญญานี้ขึ้นมา
บริการ #รับร่างสัญญาแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3srrkKo
โทร : 02-1019187
7.ทำคู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ (10 วัน)
ระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีคู่มือการดำเนินธุรกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ คู่มือดังกล่าวจะเป็นไกด์หรือรูปแบบการบริหารธุรกิจ ที่คุณจะถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานให้แก่ผู้อื่น ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องปฏิบัติตามทุกอย่าง คู่มือนี้จะสามารถควบคุมให้การบริหารงานในระบบแฟรนไชส์ได้ง่ายและราบรื่นขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายแฟรนไชส์กี่สาขา ทุกสาขาก็จะยึดแนวทางการบริหารธุรกิจและบริการในรูปแบบเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน
8.การวางแผนด้านการตลาด (30 วัน)
การวางแผนการตลาดที่จะสนับสนุนการยอมรับตราสินค้าได้อย่างดี ทั้งด้านการสร้างตราธุรกิจ การสร้างลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค รองรับการขยายของธุรกิจที่มีสาขามากขึ้น การตลาดที่ว่านี้ จะต้องรวมถึงการนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนได้อย่างดี น่าสนใจมากพอ ผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราเองก็อาจจะ มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟรนไชส์ซีของเราต่อมาก็ได้
#ทำการตลาดและประชามสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
9.สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี (5 วัน)
เจ้าของกิจการที่จะสร้างแฟรนไชส์ ต้องมีการสร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ ทั้งการสนับสนุนก่อนเปิดร้าน และหลังเปิดร้าน โดยก่อนเปิดร้านจะเป็นการออกแบบตกแต่งร้าน การฝึกอบรมพนักงานทั้งในบริษัท และช่วงก่อนเปิดร้าน 4-5 วัน ส่วนการสนับสนุนหลังเปิดร้าน ก็จะเป็นการตรวจเยี่ยมเยี่ยมสาขาแฟรนไชส์ ว่าเดือนหนึ่งๆ จะออกไปตรวจกี่ครั้ง
ทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ซึ่งจริงๆ แล้วหลักการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่อยู่ๆ จะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์กันเลย คุณต้องทำการศึกษาระบบและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้
นอกจากจะสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียงในตลาดแล้ว ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สและผ่านอบรมการทำธุรกิจแฟรนไชส์จากสถาบันที่เกี่ยวข้อง หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่าง แผนการดำเนินงาน / ปฏิบัติงาน เปิดร้านแฟรนไชส์อาหาร (ระยะเวลา 90 วัน หรือ 12 สัปดาห์)
- #ขั้นตอนที่ 1 : การออกแบบ / ก่อสร้าง (สัปดาห์ที่ 1 – สัปดาห์ที่ 12)
- #ขั้นตอนที่ 2 : จัดหาเฟอร์นิเจอร์ / ตกแต่ง (สัปดาห์ที่ 3 – สัปดาห์ที่ 4) และ (สัปดาห์ที่ 11 – สัปดาห์ที่ 12)
- #ขั้นตอนที่ 3 : จัดหาเครื่องมือในครัว / อุปกรณ์จัดการต่างๆ ในร้าน (สัปดาห์ที่ 5 – สัปดาห์ที่ 6) และ (สัปดาห์ที่ 11)
- #ขั้นตอนที่ 4 : ทำห้องครัว / ห้องอาหาร (สัปดาห์ที่ 6) และ (สัปดาห์ที่ 11)
- #ขั้นตอนที่ 5 : จัดเตรียมแหล่งวัตถุดิบ / อุปกรณ์ออฟฟิศ (สัปดาห์ที่ 7 – สัปดาห์ที่ 8)
- #ขั้นตอนที่ 6 : รับสมัครพนักงาน / อบรมพนักงาน (สัปดาห์ที่ 6 – สัปดาห์ที่ 9)
- #ขั้นตอนที่ 7 : ประชาสัมพันธ์ / ทำการตลาด / โปรโมทร้าน (สัปดาห์ที่ 7 – สัปดาห์ที่ 12)
- #ขั้นตอนที่ 8 : เปิดร้าน (วันที่ 85 หลังสัปดาห์ที่ 12)
ได้เห็นตัวอย่างของ Gantt chart ข้างต้นไปแล้ว ลองวางโครงสร้างและทำเป็นกราฟ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้วางแผนตลอดจนผู้ปฏิบัติงานสามารถทราบถึงลำดับขั้นตอนการทำกิจกรรมต่างๆ กำหนดเวลาเวลาในการเริ่มทำกิจกรรม ตลอดจนสามารถใช้ประเมินประสิทธิภาพของการทำกิจกรรมต่างๆ ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆ ที่แสดงใน Gantt chart บางกิจกรรมไม่อาจเริ่มได้จนกว่ากิจกรรมบางกิจกรรมจะเสร็จสิ้น บางกิจกรรมสามารถเริ่มได้โดยที่กิจกรรมอื่นยังไม่เสร็จ และบางกิจกรรมสามารถเริ่มได้พร้อมกับกิจกรรมอื่นนั่นเอง
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3e4WvFN
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3nNGfMu