“G Power” แฟรนไชส์ “EV Charger” สุดคุ้ม กำไรขั้นต่ำกว่า 27,000/ เดือน ทำเลยิ่งดี รายได้ยิ่งเพิ่ม!

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าทุนจดทะเบียนธุรกิจสถานีชาร์จ (EV Charging Station) ในประเทศไทยมีมูลค่ารวม 31,758.46 ล้านบาท สอดคล้องกับการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ตัวเลขในปี 2023 ที่ผ่านมามียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้ามากถึง 89,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ถึง 648% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 คันในสิ้นปี 2024นั่ นหมายถึงความต้องการสถานีชาร์จย่อมเติบโตตามไปด้วย

ในขณะที่ปัจจุบันนี้สัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าต่อจำนวนหัวชาร์จมีค่าเฉลี่ยประมาณ 16.5 คันต่อ 1 หัวชาร์จ ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการ คาดการณ์ว่าความต้องการสถานีชาร์จนั้นต้องการกว่า15,000 หัวชาร์จแล้ว แต่ในตอนนี้มีจุดชาร์จรวมกัน 9,693 หัวชาร์จเท่านั้น น้อยกว่าความต้องการจริงราว 35%

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นภาพชัดเจนว่า EV Charger เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่คุ้มค่าในยุคนี้แน่ แต่เชื่อได้เลยว่ามีหลายคนกล้าๆ กลัวๆ หรือไม่รู้จะเริ่มยังไง ที่สำคัญบางคนมองไม่ออกถึงตัวเลขรายได้จากธุรกิจที่นี้ที่ขอบอกว่า “ดีมาก” ขอแค่มั่นใจและกล้าลงทุนเท่านั้น ที่สำคัญเราสามารถเลือกลงทุนในแบบแฟรนไชส์ที่ให้เริ่มธุรกิจได้ทันที

G Power แฟรนไชส์ EV Charger น่าลงทุนสุดในยุคนี้!

EV Charger

บริษัท การ์เด้น เอ็นเนอร์จี จำกัด เป็นผู้ให้บริการระบบประจุไฟสำหรับชาร์จรถยนต์ EV ภายใต้แบรนด์ “G POWER” โดยยึดหลักโมเดลธุรกิจแบบ “ลดการถือครองสินทรัพย์” หรือ “Asset-Light” สร้าง ECO SYSTEM แชร์การใช้งานทรัพยากร ทุกคนสามารถร่วมเป็นสถานีชาร์จได้ ลดข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่จุดให้บริการเนื่องจากปกติแล้ว

การชาร์จแบตเตอรี่รถ EV1 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 30-50 นาที ดังนั้นการเข้าชาร์จแบตเตอรี่ในสถานีบริการน้ำมันแล้วต้องเสียเวลารอและปริมาณหัวชาร์จยังไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน เจ้าของรถส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะชาร์จแบตเตอรี่ โดยการจอดรถทิ้งไว้ แล้วทำกิจกรรมอย่างอื่นควบคู่กันไปด้วย อย่างเช่น เข้าศูนย์การค้าที่ทำงาน หรือร้านอาหาร เป็นต้น

EV Charger

การลงทุนกับ G Power สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบเปิดเป็นธุรกิจใหม่ หรือทำคู่กับธุรกิจเดิมที่มีอยู่แล้ว จะเพิ่มรายได้ที่ดีมาก อย่างไรก็ดีจุดเด่นที่น่าสนใจอีกอย่างคือ G Power มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบที่สามารถบอกตำแหน่ง จุดชาร์จให้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมถึงมีข้อดีอีกหลายอย่างได้แก่

  • ได้เงินตรงเข้ากระเป๋าของผู้ประกอบการ
  • ไม่หักค่าส่วนแบ่งรายได้ (BenefitSharing)
  • แอพพลิเคชั่นใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  • ได้ตู้ชาร์จ + ซอร์ฟแวร์ ผู้ลงทุนสามารถดูข้อมูลผ่านโทรศัพท์ได้ว่ามีคนมาใช้บริการเท่าไหร่ มีรายได้เท่าไหร่ในแต่ละวัน
  • เพิ่มมูลค่าพื้นที่ สามารถเปลี่ยนที่ดินเพื่อสร้างรายได้แบบไร้ขีดจำกัด
  • การลงทุนไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องจ้างพนักงานดูแล
  • ทีมงานมีประสบการณ์ยาวนานพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลผู้ลงทุนเป็นอย่างดี
  • ไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงเหมือนสถานีชาร์จทั่วไป แต่ให้บริการได้มีประสิทธิภาพมาก

ลงทุน G Power รายได้ดีแค่ไหน?

EV Charger

เรื่องของตัวเลขรายได้น่าจะเป็นสิ่งที่หลายคนอยากรู้มากที่สุด ยุคนี้ใครๆ ก็ไม่อยากเสี่ยงลงทุนกับธุรกิจที่ไม่คุ้มค่า ซึ่งสวนทางกับ G Power ที่สร้างรายได้ดีมาก โดยในที่นี้เราจะมาแยกย่อย 2 รูปแบบการลงทุนให้เห็นภาพชัดเจนคือ

  1. ตู้ชาร์จ DC 40 KW
  2. ตู้ชาร์จ DC 120 KW

เริ่มกันที่แบบแรกคือ ตู้ชาร์จ DC 40 KW ลงทุน 290,000 บาท

EV Charger

เป็นการลงทุนที่ใช้งบประมาณน้อย เหมาะกับคนที่อยากเริ่มต้น ซึ่งหากนำไปคำนวณเรื่องรายได้ซึ่งทางแฟรนไชส์ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนดังนี้

  • ค่าไฟฟ้า ช่วงเวลา ON – PEAK = 4.183
  • ค่าไฟฟ้าช่วงเวลา OFF – PEAK = 2.637

ค่าพลังงาน Charge on demand 22 KV 132.93 x พลังงานที่สูงที่สุดที่ตู้ชาร์จจ่ายไฟไป 40 KW

= 40 KW x 132.93 = 5,317.20 บาท

หากเรามีคนมาชาร์จ 25% ของ 1วัน (24 ชั่วโมง) = 6 ชั่วโมง

  • ค่าไฟฟ้าช่วงเวลา ON – PEAK = 4.183 x 40 KW x 3 ชั่วโมง = 501.96 ต่อวัน
  • ค่าไฟฟ้าช่วงเวลา OFF – PEAK = 2.637 x 40 KW x 3 ชั่วโมง = 316.44 ต่อวัน

คำนวณเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือน

  • ON – PEAK 501.96 ต่อวัน x 30 วัน = 15,058.80 / เดือน
  • OFF – PEAK 316.44 ต่อวัน x 30 วัน = 9,493.2 / เดือน

ค่าพลังงานรวม 15,058.80 + 9,493.2 + 5,317.20 = 29,869.62

หากนำตัวเลขเหล่านี้มาคำนวณรายได้จะพบว่า

  • ขายไฟฟ้าช่วงเวลา ON – PEAK = 8.5 x 40 KW x 3 ชั่วโมง = 1,020 ต่อวัน
  • ขายไฟฟ้าช่วงเวลา OFF – PEAK = 7.5 x 40 KW x 3 ชั่วโมง = 900 ต่อวัน
  • ON – PEAK 1,020 ต่อวัน x 30 วัน = 30,600 ต่อเดือน
  • OFF – PEAK 900 ต่อวัน x 30 วัน = 27,000 ต่อเดือน

ยอดรวม 30,600 + 27,000 = 57,600 บาท

  • กำไรเบื้องต้น 57,600 – 29,869.62 = 27,730 บาทต่อเดือน
  • หากคิดเป็นกำไรต่อปี 27,730 x 12 = 332,760 บาท

การลงทุนแบบ ตู้ชาร์จ DC 120 KW งบลงทุน 1.5 ล้านบาท

ภาพจาก จี เพาเวอร์

ทั้งนี้เพื่อจะไม่ให้ดูว่าตัวเลขซ้ำซ้อนหรือยุ่งยากเกินไป เราจะไม่อธิบายโดยละเอียดเหมือนในแบบแรก ซึ่งใช้วิธีการคิดคำนวณลักษณะเดียวกัน แตกต่างกันเพียงตัวเลขเท่านั้น พอเอามาสรุปในเรื่องของค่าพลังงานไฟฟ้ารวมในการลงทุนแบบ ตู้ชาร์จ DC 120 KW

ค่าพลังงานรวมต่อเดือน = 98,818 บาท

ยอดขายรวมยอดรวมทั้งในช่วง ON – PEAK และ OFF – PEAK คือ 91,800 + 81,000 = 172,800 บาท

กำไรเบื้องต้น 172,800 – 98,818 = 73,982 บาทต่อเดือน

จะเห็นว่ายิ่งลงทุนในตู้ชาร์จที่ให้กำลังไฟมากกว่า ชาร์จได้เร็วกว่า แม้การลงทุนจะมากขึ้น แต่โอกาสในการสร้างรายได้ก็มากขึ้นเช่นกัน

** ทั้งนี้เป็นการคำนวณในส่วนของตู้ชาร์จ ยังไม่ได้หักลบต้นทุนค่าโครงสร้าง ที่ขึ้นอยู่กับงบของผู้ลงทุน แต่โดยเฉลี่ยโอกาสคืนทุนของธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 1 ปี **

อย่างไรก็ดีการลงทุนในธุรกิจ EV Charger ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ สิ่งสำคัญคือเลือกลงทุนกับแบรนด์ที่มีคุณภาพ มีบริการหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง G Power เข้าใจในทุกความต้องการของลูกค้าและผู้ลงทุนเป็นอย่างดี

ปัจจุบันมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้ผู้ลงทุนมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในการขยายธุรกิจให้เติบโตครอบคลุมทุกความต้องการทั่วประเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์คุณภาพที่เหมาะสมกับการลงทุนในยุคนี้มาก

จี เพาเวอร์
สนใจลงทุน คลิก
https://bit.ly/3uLqI7s
โทร. 081-2688890 , 089-8918180

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด