Flanker Brand กลยุทธ์ออกแบรนด์ใหม่ กินส่วนแบ่ง กันคู่แข่งในตลาด
สังเกตุหรือไม่ว่า ตอนนี้มีหลายธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ มักจะสร้างแบรนด์ใหม่ที่มีสินค้าในตลาดเดียวกันกับแบรนด์หลัก แต่มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ ราคาที่อาจแตกต่างจากแบรนด์หลัก เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน โดยที่แบรนด์ใหม่ยังอยู่ในตลาดเดียวกัน กลุ่มลูกค้าอาจเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนละกลุ่ม
การทำธุรกิจในลักษณะแบบนี้ เขาเรียกว่า Flanker Brand กลยุทธ์ออกแบรนด์ใหม่ ไว้แย่งส่วนแบ่งคู่แข่งในตลาด โดยที่แบรนด์เดิมหรือแบรนด์หลักไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย ยอดขายอาจจะลดลงบ้าง แต่ยังครองแบ่งในตลาดไว้ได้

เหมือนกรณีช่วงปลายปี 2567 เครือบริษัทไมเนอร์ฯ เปิดตัวร้านสเต๊กน้องใหม่ในตลาด ชื่อ The Steak & More สร้างกระแสให้กับตลาดอย่างมาก คุ้มค่า คุ้มราคา เริ่มต้นที่จานละ 129 บาท เรียกได้ว่าตั้งใจมาจับกลุ่มลูกค้่าตลาด Mass เป็นการเฉพาะ
แม้ว่าจะมีหลายๆ แบรนด์กำลังกินส่วนแบ่งตลาดอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อีท แอม อาร์, ซานตาเฟ่ สเต๊ก รวมไปถึงแบรนด์สเต๊กที่เป็นแฟรนไชส์เปิดตามริมทางอย่าง สเต๊กลุงหนวด สเต๊กลุงหยิก สเต๊กลุงใหญ่ สเต๊กเด็กแนว ฮิปสเตอร์สเต๊ก โซกุนสเต๊ก นาเนียสเต๊ก และอื่นๆ อีกหลายแบรนด์
แต่เครือไมเนอร์ฯ ที่มีแบรนด์ Sizzler อยู่กว่า 58 สาขาตามห้างสรรพสินค้า ก็ยังต้องออกแบรนด์ใหม่ The Steak & More เปิดตามห้างสรรพสินค้าเช่นกัน แต่จับลูกค้าระดับล่างลงมาจาก Sizzler
ในแง่ของการตลาด หลายคนอาจมองว่า “แบรนด์ใหม่” มีสิทธิ์แย่งส่วนแบ่งตลาดจาก “แบรนด์เก่า” เพราะลูกค้ากลุุ่มที่เคยใช้บริการ Sizzler เป็นประจำ อาจหันมาลองใช้บริการ The Steak & More ก็ได้ เพราะราคาถูกกว่า คุ้มค่า คุ้มราคา โดยที่เครือไมเนอร์ฯ ยังคงรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ได้ ไม่ได้เสียส่วนแบ่งให้กับแบรนด์คู่แข่ง
อีกหนึ่งตัวอย่างธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Flanker Brand คือ บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด ออกแบรนด์ร้านสะดวกซื้อถึง 3 แบรนด์ คือ CJ Supermarket, CJ More และ CJ X ทั้ง 3 แบรนด์อยู่ในเครือเดียวกัน ปัจจุบันมีกว่า 1,300 สาขาทั่วประเทศ
กลยุทธ์ของ CJ เรียกว่า Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง คล้ายๆ กับ Flanker Brand คือ การแตกแบรนด์ใหม่ เพื่อมาแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก 7-Eleven จะเห็นได้ว่าการเปิดสาขา CJ ในปัจจุบันจะอยู่ใกล้ๆ หรือติดกับ 7-Eleven ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ CJ More มีสินค้าเหมือน 7-Eleven หรือ CJ X ขายสินค้าปลีก-ส่ง และหลายๆ ทำเลพบว่า ลูกค้าใช้บริการร้าน CJ มากกว่า 7-Eleven ด้วยซ้ำ ซึ่งผู้บริหาร CJ เคยบอกว่าถ้าทำได้ดีกว่าคู่แข่ง ลูกค้าจะมาใช้บริการเอง
อีกหนึ่งตัวอย่าง Procter & Gamble หรือ P&G แตกหลายแบรนด์ เพื่อครองตลาด P&G ออกแบรนด์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เช่น ผมนุ่มสลวยต้อง Rejoice, หมดปัญหารังแคต้อง Head & Shoulders, ผมเงางามต้อง Pantene ที่สำคัญทั้ง 3 แบรนด์ตั้งราคาต่างกัน เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าคนละกลุ่ม
กรณีเครือซีพีก็เหมือนกัน มีการแตกแบรนด์ไก่ย่าง 2 แบรนด์ ชิงส่วนแบ่งตลาดฟาสต์ฟุ้ดในไทย ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท คือ ธุรกิจห้าดาว และ เชสเตอร์ เห็นได้ว่าทั้ง 2 แบรนด์แม้จะมีสินค้าคล้ายๆ กัน แต่จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไม่เหมือนกัน เชสเตอร์จะเน้นไปทางเมนูข้าวเป็นส่วนใหญ่ ไก่ห้าดาวจะเน้นไก่ย่าง ไก่ทอด ไก่จ๊อ ฯลฯ
แฟรนไชส์ ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิด แตกแบรนด์ “ซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด” และ “อู้ฟู่ ลูกชิ้นปลาเยาวราช“
หรือในธุรกิจสายการบิน Singapore Airlines สายบิน Full-Service ออกแบรนด์ลูก คือ Scoot สายการบินราคาประหยัด สู้กับ AirAsia และ Jetstar Asia ที่ได้รับความนิยมในสิงคโปร์
มาดูประโยชน์ของกลยุทธ์ Flanker Brand
- สามารถขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าระดับล่างหรือระดับบนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการของแบรนด์หลัก
- ช่วยให้บริษัทสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง โดยที่แบรนด์หลักยังอยู่และไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
- เพิ่มความหลากหลายให้กับสินค้าในเครือฯ ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า
ถ้าเปรียบเทียบกลยุทธ์ Flanker Brand ก็ไม่ต่างไปจากกลยุทธ์ Cannibalization คือ ออกสินค้าใหม่มากินส่วนแบ่งตลาดกันเอง เหมือน 7-Eleven เปิดร้านใกล้ๆ สาขาเดิม เพื่อครองตลาดในทำเลนั้นๆ เรียกได้ว่า ยอมแย่งลูกค้าหรือกินส่วนแบ่งกันเอง ดีกว่าปล่อยให้แบรนด์คู่แข่งมาแย่งส่วนแบ่งตลาดไป
อ้างอิง https://bit.ly/4k6fRu7
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)