Fear of Missing Out (FOMO) VS Joy of Missing out (JOMO)
ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้กระแสโซเชี่ยลมีอิทธิพลกับเราอย่างมาก และทำให้โทรศัพท์มือถือแทบไม่ต่างจากปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต ด้วยรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงนี้ทำให้คนทำธุรกิจเองก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสโลกยุคใหม่
อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ ในด้านหนึ่งโซเชี่ยลกลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตที่คนต้องติดตามข่าวแบบขาดไม่ได้เรียกว่า Fear of Missing Out (FOMO) ในอีกมุมหนึ่งมีคนที่เริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากสนใจโซเชี่ยลเรียกว่า Joy of Missing out (JOMO) และคนทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีอิทธิพลต่อโลกโซเชี่ยลอย่างไร และในด้านการทำธุรกิจจะสามารถปรับจูนตัวเองอย่างไรให้ดึงลูกค้าทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Fear of Missing Out (FOMO)
เป็นพฤติกรรมของคนที่กลัวจะตกกระแส กลัวพลาดข่าวสารที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในสื่อโซเชียล โดยปกติคนที่มีลักษณะแบบ FOMO มักจะติดโทรศัพท์มือถือเพราะต้องคอยเช็คข่าวสารตลอดเวลา และชอบอัพเดตชีวิตตัวเองผ่านโซเชียลมีเดียอยู่เสมอ
การมีพฤติกรรมแบบ FOMO ก็มีข้อดีที่ทำให้เราสามารถสร้างแรงจูงใจจากสิ่งที่พบเห็นในโซเชี่ยลได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตามเหล่าคนดังในแพลตฟอร์มต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้พฤติกรรมแบบ FOMO ยังทำให้เราก้าวทันโลกตามยุคสมัย ไม่มีคำว่าตกเทรนด์ สามารถอัพเดทความรู้และมองเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นำมาซึ่งการวางแผนแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย ในแง่ของธุรกิจก็อาจทำให้มีวิสัยทัศน์ในการจับกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Joy of Missing out (JOMO)
เป็นขั้วตรงข้ามกับ FOMO อย่างสิ้นเชิง คนกลุ่มนี้จะมีความสุขโดยไม่ต้องใช้ชีวิตเกาะติดกระแสสังคม จึงมักจะไม่ค่อยเล่นโซเชียลมีเดีย แต่ใช้เวลาไปกับกิจกรรมรอบตัว เช่น การออกไปเที่ยว อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ข้อดีของคนที่มีพฤติกรรมแบบ JOMO ที่ถอยห่างจากโซเชี่ยลทำให้มีเวลาเพื่อตัวเองและครอบครัวมากขึ้น ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวได้มากขึ้นเช่น ท่องเที่ยว ทำอาหาร สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ดีกว่าการสนใจแต่โทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้คนที่มีพฤติกรรมแบบ JOMO ยังมีสมาธิที่ดีมากขึ้นเพราะไม่ต้องกังวลกับข่าวสารที่ตัวเองไม่อยากสนใจ
วิธีการสร้างลูกค้าให้ธุรกิจสำหรับกลุ่ม FOMO และ JOMO
ในแง่ของความแตกต่างทั้ง FOMO และ JOMO นั้นชัดเจนมาก แม้ FOMO จะเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่มีอิทธิพลในด้านกำลังซื้อแต่ในช่วงที่ผ่านมา JOMO ก็เป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางมาก มีการอ้างอิงถึง JOMO ใน Instagram จำนวน 80,000 กว่าครั้ง และเว็บไซต์ต่างๆ ก็เริ่มนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ นี่อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียเริ่มชะลอการใช้งานโซเชียลมีเดียลง แม้จะไม่ได้กำจัดออกไปจากชีวิตอย่างถาวร แต่ก็ทำให้มองเห็นภาพว่ามีคนบางส่วนเริ่มตระหนักได้ถึงด้านมืดของการเสพติดโซเชียลมีเดียแล้ว
ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ยินคำว่า Fomo Marketing ที่เน้นเจาะกลุ่มคนเสพติดโซเชี่ยลโดยจะเน้นการทำคอนเทนต์ดึงดูดคนกลุ่มนี้เพื่อให้รู้สึกว่าตัวเองไม่ตกยุค ทันสมัย หรือได้สิ่งที่แปลกใหม่ก่อนใครอื่น กลยุทธ์นี้ถูกนำมาใช้กับกลุ่มลูกค้าใน ธุรกิจโรงแรม เสื้อผ้า สินค้า Rare item ผ่านข้อความการแจ้งเตือนที่แสดงให้แก่ผู้คนที่สนใจว่าขณะนี้มีคนกำลังจองห้องนี้อยู่ สินค้ามีจำนวนจำกัด หรือผลไม้มีเพียงฤดูกาลนี้เท่านั้น ถ้าอยากกินต้องรอไปอีกหนึ่งปี เป็นต้น
และแน่นอนว่า JOMO Marketing ก็สามารถนำมาใช้ในแง่ของการตลาดได้เช่นกันหากจะแตกต่างในแง่ของการนำเสนอเนื้อหาดึงดูดลูกค้าค้าที่ไม่เน้นความหวือหวา แต่เน้นความเป็นส่วนตัว สบายใจ เป็นไลฟ์สไตล์ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนจำนวนมาก มักใช้กับธุรกิจที่พักและโรงแรมที่เน้นบรรยากาศที่พักแบบส่วนตัว หรือเป็นที่พักเน้นความเป็นธรรมชาติ หรือแม้แต่ในเรื่องของสินค้าก็ต้องเน้นเนื้อหาตอบโจทย์ความเป็นส่วนตัว จึงเหมาะกับคอร์สท่องเที่ยว หรือคอร์สเพื่อสุขภาพแบบ Private เป็นต้น
โดยภาพรวมกระแสของโซเชี่ยลอาจเป็นตัวแปรในด้านธุรกิจมาก แต่ในอีกมุมหนึ่งก็มีกลุ่มลูกค้าที่อาจมองขั้วตรงข้าม การนำกลยุทธ์ใดๆ มาปรับใช้จึงต้องให้เหมาะสมอย่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป พิจารณาตามจังหวะและกระแสของสังคมเป็นหลักจะช่วยทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3Qrz3nH , https://bit.ly/3vPvJcs , https://bit.ly/3GPQH1h
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Y8LF5W
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)